บทความในวันนี้ จะกล่าวต่อถึงส่วนต่างๆในบ้าน ในส่วนหลับนอน (The Sleeping Zone) และส่วนห้องน้ำห้องท่า (The Bathroom Zone) ส่วนหลับนอน The Sleeping Zone บ้านที่ไม่มีส่วนที่ใช้ในการหลับนอนก็ดูจะเหมือนไม่เป็นบ้าน และส่วนนอนของบ้านนี่เอง ที่ดูเหมือนจะเป็นส่วนที่คนเราใช้เวลามากที่สุดภายในบ้าน ในส่วนของเวลาพักผ่อน นอนหลับนั้นเราไม่ต้องการพึ่งพาของแสงมากนัก การปกปิดบังแสงด้วยผ้าม่านมู่ลี่หรือ window treatment ต่างๆที่จะช่วยลดการนำแสงเข้ามาในบริเวณนี้ได้ โดยเฉพาะเวลากลางคืนที่มีแสงไฟฟ้าข้างนอก อีกทั้งเป็นการสร้าง ให้เกิดความปลอดภุยในการหลับนอน ส่วนในเวลากลางวันนั้น ควรเปิดให้มีอากาศ ได้ถ่ายเทและหมุนเวียนและช่วยให้เกิดความปลอดโปร่งเช่นกัน การช่วยให้เกิดภาวะสบายในส่วนหลับนอนนั้น นอกไปจากการใช้เครื่องปรับอากาศ ที่ถ้าเราสามารถหลีกเลี่ยงได้แล้ว อาจจะมีการติดตั้งพัดลมติดฝ้าเพดาน ซึ่งนอกจากจะที่ไม่สิ้นเปลืองพลังงานเท่ากับการใช้เครื่องปรับอากาศ อีทกั้งยังช่วยให้เกิดอากาศหมุนเวียนที่ดีได้ แต่การเลือกติดตั้งพัดลมติดฝ้าเพดานนั้น จะต้องคำนึงถึงระยะจากเพดานสู่พื้นว่าเพียงพอหรือไม่เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ ดูเหมือนจะเป็นเรื่องขบขัน ถ้่ามีการกล่าวว่า“ส่วนที่เราใช้นอน ก็ควรจะเอาไว้นอน”… Read more ›
บทความวันนี้ ขอแนะนำต่อเรื่องการเข้าใจในการแบ่งส่วนภายในบ้าน ในส่วนของส่วนอาหาร (The Food Zone) และส่วนนั่งเล่นพักอาศัย (The Living Zone) ส่วนอาหารการกิน The Food Zone นับเป็นสิ่งที่โชคดีอย่างหนึ่ง ที่บ้านเมืองเราในประเทศไทยมีก็คือ ความอุดมสมบูรณ์ของอาหารการกินนานาชนิด ที่เราสามารถหาได้อย่างง่ายๆ แม้ว่าคำกล่าวในอดีตที่ว่า ในน้ำมีปลาในนามีข้าว จะดูเหมือนจืดจางลงไปบ้าง แต่บ้านเมืองเราก็ยังเต็มเพียบพร้อมด้วยอาหารการกินดัวกล่าว เพียงแค่เราก้าวเดินออกจากบ้าน เราก็สามารถหาอาหารเพื่อประทังชีวิตได้ แต่สิ่งที่จะต้องระมัดระวังในการใช้ชีวิตแบบบ้านเมืองสีเขียวก็คือ การต้องเดินทาง ออกไปซึ้ออาหารบ่อยๆ การกินข้าวปลานอกบ้านทุกๆมื้อ การทำอาหารรับประทานเองในส่วนทำอาหารของบ้าน โดยซื้อข้าวของจากแถวๆบ้าน แถวๆตลาด ที่ไม่ต้องออกไปไกลๆให้เสียค่าน้ำมัน ค่ารถค่าราบ่อยๆ นับเป็นการประหยัดพลังงาน หรือถ้าจำเป็นจริงๆก็ควรซื้อมาตักตุนไว้ทีละมากๆหน่อย ใช้พื้นที่ส่วนครัวให้คุ้มค่า ลดการสูญเสียพลังงานเรียนรู้ว่าบ้านเรา ก็มีส่วนครัวส่วนทำอาหาร ที่ีสามารถใช้การได้เหมือนกัน… Read more ›
เรื่องราวและเกร็ดความรู้ต่างๆที่เคยแนะนำมา ในบ้านเมืองสีเขียวนี้ เป็นส่วนเล็กส่วนน้อย ที่ประกอบกันเพื่อการอยู่อย่างสีเขียว วันนี้ได้มีโอกาสจะมาอธิบายถึงส่วนต่างๆนั้น สามารถรวมกันเป็นอาคารบ้านเรือน และบังเอิญ มีบทความในนิตยสาร dwellฉบับ Beyond Green ประจำเดือนพฤษภาคม เรื่อง “At Home in the Zone” ที่ยกตัวอย่างถึงการเป็นอยู่อย่างยั่งยืน (sustainability) ที่ไม่ต้องถึงกับทำให้ชีวิตลำบากและมืดมน แต่หากแนะนำการรู้และเข้าใจว่า บ้านที่เราพักอาศัยนี่ ว่าสามารถแบ่งเป็นส่วนๆได้ ก็อาจจะช่วยทำให้ความ เป็นอยู่อย่างสีเขียว (going green) นี่มีความสนุกสนานและมีประสิทธิภาพมากขึ้น การแบ่งส่วนต่างๆภายในบ้านนั้น เราสามารถทำความเข้าใจได้คร่าวๆดังนี้ บ้านทั้งหลัง (The Whole House Zone) ส่วนอาหาร (The Food Zone)… Read more ›
น้ำฝน ถือว่าเป็นหนึ่งในทรัพยากรที่ได้มาจากธรรมชาติอย่างไม่ต้องเสียสตางค์ และก็เป็นที่รู้กันดีว่า ประเทศไทยเราตั้งอยู่ในเขตที่มีฝนตกชุกและมีฝนตกหนัก อยู่หลายๆเดือนในแต่ละปี สำหรับคนเมืองผู้คนจะเกิดอาการปะปน ที่ทั้งเป็นมิตร และไม่เป็นมิตรกับการตกของฝน บางครั้งก็เราจะรู้สึกชื่นชอบเพราะทำให้เกิด ความชุ่มชื่นในช่วงที่มีอากาศร้อนจัดติดกันนานๆ ส่วนบางครั้งก็อาจจะเกิด การเบื่อหน่ายเพราะการกักขัง เกิดน้ำท่วม รถติด หรือเหตุผลคนเมืองอื่นๆ แต่ในทางกลับกันในพื้นที่ ที่มีความต้องการใช้น้ำฝนจากธรรมชาติอย่างมาก ที่บ่อยครั้งกลับไม่มีฝนตกลงมาให้ได้ใช้่อย่างต้องการ การกักเก็บน้ำฝนเพื่อไว้ใช้ ไม่ใช่เป็นเรื่องที่น่าแปลกใหม่อะไรสำหรับคนไทยเรา เรารู้จักการกักเก็บไว้ในเพื่อไว้ใช้มาตั้งแต่อดีต ที่ผ่านหลังคามาสู่ทางรองน้ำ หรือรางน้ำมาสู่ ตุ่ม แทงค์น้ำ หรือไม่ว่าจะเป็นการกักเก็บในระบบที่ใหญ่ขึ้นไป การกักเก็บเพื่อใช้ในการชลประทาน การสร้างเขื่อน ฝาย อ่างเก็บน้ำ และแม้แต่การกักเก็บน้ำฝนในสระเก็บน้ำเพื่อการเกษตร ตามทฤษฏีใหม่ หรือการกักเก็บน้ำฝนไว้เพื่อประโยชน์อื่นๆ สำหรับในส่วนของบ้านพักอาศัย อาคารชุดพักอาศัย หรือ ตึกสูงต่างๆ การให้ความคำนึงเรื่องการเก็บน้ำฝนดูจะลดน้อยลงไป โดยเฉพาะในช่วงที่ผ่านมา อาจจะจะเป็นเพราะว่าเราไม่รู้สึก… Read more ›
การใช้พลังงานเพื่อผลิตระบบไฟฟ้าให้แสงสว่างเพื่อกิจกรรมการใช้งานต่างๆ และเพื่อความปลอดภัยในอาคารบ้านพักอาศัยเสมือนเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และนับเป็นแหล่งการใช้พลังงานที่ต้องสูญเสียเป็นอย่างมาก การที่บ้านพักอาศัยได้รับให้มีการออกแบบโดยให้ใช้แหล่งกิจกรรม ส่วนใช้สอยเพื่อภาระกิจต่างๆ (โดยเฉพาะสำหรับตอนกลางวัน) อยู่ติดกับหรืออยู่ ใกล้กับช่องแสงที่สามารถใช้แสงจากธรรมชาติผ่านมาให้รับใช้โดยตรง โดยไม่ต้องมีการเปิดไฟช่วย นับเป็นการวางแผนที่มีผลประโยชน์โดยตรง และเป็นมิตรต่อธรรมชาติ และเพื่อเป็นการให้เกิดประโยชน์ต่อการวางแผน ในการออกแบบนั้น การเลือกวางเฟอร์นิเจอร์ ก็ไม่ควรบดบังหรือกีดขวาง การใช้ประโยชน์ของแสงนั้นๆ แต่อย่างไรก็ตาม ดังที่กล่าวตอนต้นการใช้ระบบไฟฟ้าเพื่อแสงสว่างแม้จะเป็นสิ่ง ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เราสามารถลดภาระการใช้พลังงานเพื่อผลิตแสงสว่าง ได้หลายทาง จากการศึกษาวิจัยในคู่มือแบบประเมินอาคารประหยัดพลังงานและ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีคำแนะนำการเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างที่มี ประสิทธิภาพสูงสำหรับบ้านพักอาศัย และหนึ่งในตัวอย่างก็คือ การแนะนำให้มีการใช้บัลลาสต์ประสิทธิภาพสูง (บัลลาสต์ประหยัดไฟ) ที่มีค่าความสูญเสียกำลังไฟฟ้า ในบัลลาสต์ดังกล่าวไม่เกิน 6 วัตต์ สำหรับดวงโคมที่ใช้หลอดไฟฟ้า ฟลูออเรสเซนต์ทั้งหมด (เมื่อเปรียบเทียบกับบัลลาสต์ธรรมดา ที่กินไฟประมาณ 10-12 วัตต์) อีกทั้งบัลลาสต์ประหยัดไฟนี้นั้น… Read more ›
หนึ่งในปัญหาการของการสูญเสียพลังงาน โดยเฉพาะพลังงานกระแสไฟฟ้า ที่สูญปล่าว จากการนำไปผลิตในระบบปรับอากาศในอาคารสถานที่ ห้องต่างๆ ที่มีสาเหตุ ของการรั่วซึมและรั่วไหลของอากาศจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง ไม่ว่าการรั่วซึมนั้น จะมากหรือน้อย ก็คือการสูญเสีย นอกจากอากาศและพลังงานที่ผลิตผ่าน เครื่องปรับอากาศจะต้องสูญเสียออกไปแล้ว การใช้ไฟฟ้าที่เสียไป ก็คือคุณค่าเงินทองที่เสียไปโดยปล่าวประโยชน์เช่นกัน เราคงเคยจะได้ยินคนที่อยู่อาศัยภายในบ้านเดียวกับเรา ที่คอยเตือนหรือแม้แต่ตะโกนไล่หลังให้เราปิดประตูหน้าต่างให้แน่นหนา ในเวลาใช้เครื่องปรับอากาศ เพื่อให้การทำงานของเครื่องปรับอากาศมีประสิทธิภาพ และเกิดความเย็นภายในห้องเร็วขึ้น โดยไม่สูญเสียอากาศไหลออกไปสู่ภายนอก แต่อีกสาเหตุที่อากาศไหลรั่วซึมจากบริเวณหนึ่งไปสู่อีกบริเวณหนึ่ง ซึ่งเราสามารถตรวจสอบได้อย่างง่ายๆที่บริเวณประตูและหน้าต่าง โดยเฉพาะบริเวณ ที่กรอบบานและรอยต่อต่างๆ ถ้าผู้ออกแบบได้มีการออกแบบการใช้ประตูหน้าต่าง ที่มีวัสดุวงกบและบานกรอบที่มีรอยต่หน่าแน่นและมีรอยต่อไม่มาก จะทำให้อัตราการ เสี่ยงต่อการรั่วซึมมีต่ำ ซึ่งเป็นการลดการพาความร้อนและความชื้น จากบริเวณภายนอกเข้าสู่พื้นที่ปรับอากาศ และจะช่วยส่งผลในการลดภาระ การทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศลง ถ้าเราพบว่าในรอยต่อของบานกรอบประตูหรือหน้าต่าง สามารถปล่อยให้ อากาศรั่วซึมไหลออกมาได้ ควรจะได้รับการซ่อมแซมโดยเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการอุดรอยรั่วซึมตามรอยต่อรอยร้าวหรือราวแตกต่างๆ แต่ถ้าประตู และหน้าต่าง ที่มีอายุการใช้งานมานานอย่างมากอาจจะมีอาการชำรุดสึกหรอ… Read more ›
ในปัจจุบัน ประชากรบนโลกอาศัยอยู่ในเขตพักอาศัยที่เรียกว่าเมืองมีมากขึ้นเรื่อยๆ การอาศัยในถิ่นเมือง ที่มีผู้คนหนาแน่นกว่าหมู่บ้านจัดสรรในเขตชานเมือง หรือนอกเมืองที่ล้ำเขตออกสู่ชานเมือง และที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นสวนป่าหรือไร่นา มีการศึกษาเปรียบเทียบให้เห็นว่า การเลือกอยู่ในเมือง นับเป็นการอยู่อาศัย แบบสีเขียวที่ดีอย่างหนึ่ง (green living) แต่ถ้าฟังดูเผินๆ จะเกิดความเคืองสงสัย ที่ว่าจะเป็นได้อย่างไร ที่การอยู่ในเมือที่หนาแน่นและตึกสูง จะเป็นการอยู่ อย่างสีเขียว กว่าการอยู่ชานเมืองที่มีบ้าน มีเน้ือที่ มีสนามหญ้า มีต้นไม้มีนก น้ำและลำธาร (ที่ขุดขึ้นในหมู่บ้านจัดสรร) ในการศึกษาพบว่าการมีชีวิตอยู่สีเขียวอย่างในเมือง โดยเฉพาะในตึกรามบ้านช่องที่เก่าแก่ที่มีความกระชับกระทัดรัดของชุมชน (compact neigborhood) จะมีการใช้พลังงานน้อยกว่า และปลดปล่อยของเสียน้อยกว่า การที่อยู่ในหมู่บ้านจัดสรรโครงการใหม่ๆที่สร้างขึ้น ที่ถึงแม้ว่าจะเป็นบ้านที่สร้างเพื่อประหยัดพลังงานที่มีการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ไฟน้อย ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? ทำไมการอยู่ในเขตเมือง เป็นการการอยู่ที่เป็นมิตรต่อโลก กว่าการอยู่ในบ้านประหยัดพลังงาน ในเขตชานเมืองที่เคยเป็นสวนไร่นา คำตอบก็คือ ความหนาแน่นซึ่งเป็นหนึ่งในการช่วยการอยู่อาศัยให้มีประสิทธิภาพ density… Read more ›
แก้วหรือกระจกเป็นวัสดุที่เราคุ้นเคยในชีวิตประจำวันและยังเป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติพิเศษ ที่มีลักษณะอยู่ตัวเป็นเนื้อเดียว มีพื้นผิวที่มีความลื่น มีความแกร่ง แต่แตกเปราะง่าย และมีรอยแตกละเอียดที่เฉียบคม มีอายุยืนนาน สามารถเป็นตัวนำแสงให้แสงผ่าน และที่สำคัญที่สุด แก้วเป็นวัสดุที่สามารถนำมาใช้งานใหม่(recycle)ได้อย่างไม่สิ้นสุด เรามีความคุ้นเคยกับ แก้วและกระจกในชีวิตประจำวันอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น องค์ประกอบในงานสถาปัตยกรรม หรือเป็นวัสดุที่มีให้เห็น ในการใช้สอยอยู่ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นส่วนประกอบของประตูหน้าต่าง กระจกส่องหน้า หลอดไฟฟ้า หรือไม่ว่าจะเป็น ขวด แก้วน้ำ จานและชามในห้องครัว ในห้องอาหาร เพราะความที่เป็นวัสดุที่มีความแพร่หลายและหลากหลายในการใช้งาน แก้วจึงถือเป็นหนึ่งในส่วนใหญ่ของสิ่งของวัสดุที่เสียหรือเหลือใช้จากบ้านเรือนและระบบอุตสาหกรรมที่มีปนะโยชน์อย่างมาก เพราะแก้วมีคุณสมบัติที่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ ทั้งในรูปแบบเดิมหรือแม้แต่ถูกหลอมไปเป็นสิ่งของใช้ในรูปแบบอื่นๆ ขวดแก้วต่างๆที่เหลือจากการใช้งานที่ถือเป็นแหล่งทรัพยากรของเหลือแห่งใหญ่ นับรองจากกระดาษ จึงเป็นที่ียอมรับในตลาดผู้บริโภค และจึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจ ที่ทำไมเราจึงได้รับการปลูกฝังแกมบังคับให้แยกขยะ ขวดแก้ว พลาสติก และกระดาษออกจากกัน เพื่อเกิดการนำกลับมาใช้ใหม่ได้ง่ายขึ้น และถือเป็นการสนับสนุนระบบอุตสาหกรรมการผลิต recycled-glass ถือเป็นการช่วยรักษายืดอายุให้กับสิ่งแวดล้อม… Read more ›
การเริ่มต้นศักราชใหม่ปีนี้ เรามาเริ่มเรียนรู้การเลือกใช้วัสดุภายในบ้าน เริ่มต้นจากพื้น ที่ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อธรรมชาติกันดีกว่า พวกเราคงจะคุ้นเคยดีกับวัสดุที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่กำเนิดจากไม้ เนื่องจากประเทศเรา (เคย) มีป่าอุดมสมบูรณ์ การใช้ไม้เพื่อเป็นวัสดุก่อสร้างก็มีกันมานมนาน แต่พอวันนี้วันที่ป่าไม้เริ่มหายไป การนำไม้มาใช้ ต้องเกิดประโยชน์อย่างสูงสุด และถ้าเป็นไปได้ การเลี่ยงใช้ให้น้อยที่สุด ก็ดูสมกับการเป็นพลเมืองโลกที่ดี แต่อย่างว่า เพราะไม้เป็นวัสดุอย่างหนึ่ง ที่ทำให้สามารถทำให้เรารู้สึกอบอุ่นได้ (แต่ผู้เขียนไม่ได้หมายความว่าให้เอาไม้มาเผาไฟ ให้ความอบอุ่น) เพราะไม้เป็นธาตุสั่งตรงธรรมชาติ มนุษย์จึงมีความผูกพันลับๆ อย่างที่ยากจะอธิบาย หนึ่งในวัสดุที่เราใช้ไม้โดยเฉพาะไม้เนื้อแข็งที่นิยมในการการก่อสร้างก็คือ พื้น พื้นที่เป็นส่วนรองรับการเหยียบย่ำ เดิน นั่ง หรือแม้แต่นอน ทำให้เรามีความผูกพัน และรู้สึกอบอุ่นกับวัสดุพื้นไม้ที่นี้มาแต่โบราณ การใช้ไม้แข็งมาปูพื้นในปัจจุบัน ดูจะต้องมีการไตร่ตรองดูให้ดี ว่าไม้ที่ได้มาเป็นไม้ที่ปลูกเพื่อใช้การจำเพาะ หรือเป็นไม้ที่มาจากป่าจากธรรมชาติ ไม้ไผ่ ดูไม่ใช่ไม้เนื้อแข็งที่เรารู้จักกันในอดีต แต่เพราะวิวัฒนาการผลิตและ การการแปรรูปที่ทันสมัยในปัจจุบัน และการนำไม้ไผ่มาแปรรูปและนำมาผสมผสาน… Read more ›
วาระสิ้นสุดแห่งปีคืบคลานกระชั้นชิดใกล้เข้ามา ในทุกๆปีเรามักจะมีการแลกของขวัญ หรือการให้ของขวัญเป็นกิจกรรมแบ่งปันความสุขประจำปี และในปีนี้ถ้าการแลกหรือการให้ของขวัญที่เราให้ผู้รับได้เกิดประโยชน์สองต่อ ที่นอกเหนือไปจากสิ่งของที่ได้รับแล้วยังเกิดประโยชน์ในการประหยัดเงินในภาวะ เศรษฐกิจฝืดเคืองและการประหยัดพลังงานเป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม น่าจะเป็นความคิดที่ไม่เลวในการให้และการเริ่มต้นแห่งปีที่ดี กติกาการให้ในที่นี้ ผู้เขียนขอให้รวมไปถึงการให้ ที่เป็นการให้แก่ตัวเองด้วย แล้วทีนี้มีสิ่งของใดๆบ้าง ที่เราสามารถให้แล้วทำเกิดประโยชน์ต่อผู้รับถึงสองต่อ ลองเริ่มจากเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นอย่างแรก สามารถเลือกให้สินค้าที่มีการรับรอง และมีการติดฉลากประหยัดพลังงาน กินไฟน้อย ประหยัดเงินแก่ผู้ใช้ อย่างเช่นการเลือกซื้อทีวีเครื่องใหม่ให้ลูกหลานเพื่อนฝูง ที่บ้านหรือการใช้ส่วนตัว ลองเลือกเฟ้นที่เป็น LCD (liquid crytal display) นอกเหนือไปจากคุณภาพภาพที่ดีแล้ว LCD ทีวีกินไฟน้อยกว่า Plasmaทีวีเต็มๆถึง 3 เท่า ถ้าการให้LCD ทีวีดูจะเกินงบประมาณ ลองแนวคิดต่อมา ในการเลือกให้เครื่องควบคุมการใช้ไฟฟ้าที่เรียกว่า electricity monitor หรือ electricity control ก็จะช่วยควบคุมพฤติกรรมการใช้ไฟของผู้ใช้ได้ดี… Read more ›
ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนชื้น มีฝนตกชุก มีน้ำไหลนองให้เห็นให้เดินย่ำ ทั้งอย่างตั้งใจหรือไม่ตั้งใจอยู่ทั่วไป ในแต่ละปีประเทศไทยของเรามีฝนตกเฉลี่ยอยู่ที่ ประมาณ 1400-2500 มิลลิเมตรต่อปี ในพื้นที่ที่เป็นธรรมชาตินั้น ปริมาณน้ำฝนกว่า 50% จะสามารถซึมผ่านลงสู่ชั้นใต้ดินได้ มีแค่เพียง 10% ที่กลายป็นน้ำไหลนอง แต่ในทางกลับกันเมื่อพื้นที่ธรรมชาติถูกเปลี่ยนแปลงเป็นพื้นที่เมือง และเป็นพื้นดาดแข็ง (Hardscape) ดังตัวอย่างเช่น ถนน ลานจอดรถ ลานอเนกประสงค์ ทางเดิน คอร์ทกีฬา ฯลฯ ปริมาณน้ำที่เคยซึมผ่านลงดินเพื่อสะสมเป็นน้ำใต้ดินก็จะกลาย เป็นน้ำไหลนอง การที่มีปริมาณน้ำไหลนองสูง จะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำท่วมขัง และเกิดมลภาวะแก่แหล่งน้ำธรรมชาติ รวมทั้งเกิดตะกอนทับถมในแม่น้ำลำคลอง อันจะส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม และระบบนิเวศน์ ในการศึกษาของ Center for Watershed Protection ของสหรัฐอเมริกาพบว่า ถ้าหากมีการใช้วัสดุปูพื้นผิวที่น้ำซึมผ่านไม่ได้… Read more ›
หลังคาเป็นองค์ประกอบส่วนที่อยู่เหนือสุดของสิ่งก่อสร้างและอาคารบ้านเรือน หลังคาถูกออกแบบหรือคิดค้นมาเพื่อปกป้องอาคารและสิ่งที่อยู่ภายในจากผลกระทบของสภาวะอากาศภายนอก ในประเทศไทยเรา หลังคามีหน้าที่หลักทั้งป้องกันน้ำจากฝน และป้องกันความร้อนจากแสงอาทิตย์ ลักษณะและรูปร่างของหลังคา มีด้วยกันหลากหลายแตกต่างกันตามแนวความคิดของผู้ออกแบบผู้อยู่อาศัย วัสดุ การก่อสร้าง และความทนทานต่อการใช้งาน ในการออกแบบที่ต้องการให้มีแสง สาดส่องผ่านช่องแสงเข้ามาทางหลังคา หรือบางทีที่เราเรียกว่า skylight นั้น ไม่ได้เป็นการนำแสงผ่านเข้าอาคาร มาแต่อย่างเดียว แต่ยังนำเอาความร้อนผ่านตามเข้ามาด้วย ดังนั้นการกำหนดขนาด ของช่องแสงที่หลังคานั้น ต้องมีความระมัดระวังไม่ให้มีขนาดใหญ่เกินไปหรือไม่ได้ มีการป้องกันรังสีอาทิตย์ตรงอย่างเหมาะสม ซึ่งจะทำให้เกิดความร้อนสะสม และส่งผลกระทบต่อภาวะน่าสบาย ทั้งยังเป็นการเพิ่มภาระในการทำความเย็น ในกรณีที่มีการใช้เครื่องปรับอากาศ และไม่เป็นการประหยัดพลังงาน ในการพิจารณาของขนาดช่องแสงหลังคาที่เหมาะสม ได้มีหลักการคร่าวๆดังนี้ การพิจารณาจากขนาดช่องแสงระนาบเดียวกับหลังคาควรมีพื้นที่ไม่เกิน 1% หรือ ขนาดของช่องแสงหลังคาในระนาบดิ่งมีพื้นที่ไม่เกิน 2% ของพื้นที่ใช้สอยใต้หลังคานอกเหนือไปจากขนาดของช่องแสง ที่มีส่วนทำในการกำหนดการนำความร้อน เข้าสู่ภายในอาคารแล้ว ฉนวนฝ้าเพดานใต้หลังคาก็มีส่วนในการป้องกันความร้อน จากหลังคาเข้าสู่อาคารเช่นกัน เพื่อการส่งเสริมการประหยัดพลังงาน… Read more ›
เราใช้เครื่องปรับอากาศให้ความเย็นภายในอาคารบ้านเรือน และตั้งอยู่ในร่ม ไม่ถูกแสงแดดแผดเผา แต่รู้หรือไม่ว่าระบบเครื่องปรับอากาศ ไม่ได้เป็นเพียง แค่อุปกรณ์ที่ติดตั้งให้ความเย็นอย่างโดดๆที่เห็นภายในอาคารไม่ว่าจะที่ติดอยู่บนผนัง หรือวางอยู่เป็นพื้นข้างผนัง แต่ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่ภายนอกอาคาร ที่เรียกว่าดอนเดนซิ่งยูนิต (condensing unit) ซึ่งก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนใดๆ ในการมีส่วนช่วยในการให้ความเย็นและช่วยในการประหยัดพลังงานและการใช้ไฟฟ้า จากการศึกษาและวิจัยค้นพบว่า การตั้งวางให้คอนเดนซิ่งยูนิต (condensing unit) ของเครื่องปรับอากาศที่โดนแสงแดดจะทำให้เครื่องทำงานหนัก และใช้พลังงานมากเกินกว่าที่จำเป็นในการทำความเย็น และในการศึกษาและ วิจัยดังกล่าวนั้น พบว่าเราสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าสำหรับเครื่องปรับอากาศได้ถึง 10% และสามารถยืดอายุการใช้งานให้กับการทำงานของเครื่องคอนเดนซิ่งยูนิต ถ้าเราให้ร่มเงาหรือรู้จักวางตำแหน่งของเครื่องคอนเดนซิ่งยูนิตในที่ๆ มีร่มเงาเพียงพอ การเลือกพิจารณาการให้ร่มเงาแก่เครื่องคอนเดนซิ่งยูนิตนอกอาคาร สามารถทำด้วย การใช้ร่มเงาจากพืชพรรณ หรือสิ่งก่อสร้าง การใช้พืชพรรณนั้นสามารถเลือกใช้ ได้ทั้งไม้ยืนต้นและซุ้มไม้เลื้อย โดยร่มเงาที่เกิดขึ้นจากไม้ยืนต้น หรือซุ้มไม้เลื้อยนั้น ต้องสามารถทอดเงาลงมาที่คอนเดนซิ่งยูนิตได้โดยเฉพาะ ที่ตั้งอยู่ทางด้าน ทิศตะวันออก ทิศใต้ หรือทิศตะวันตก ส่วนการใช้สิ่งก่อสร้างต่างๆ… Read more ›
แสงสว่างเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินชีวิตที่แทบจะขาดไม่ได้ เราได้แสงสว่างที่มาจากธรรมชาติในวันหนึ่งๆถึงกว่าครึ่งวันและเป็นสิ่งที่มนุษย์เรา ได้มาฟรีๆโดยไม่เสียสตางค์ ฉะนั้นเราควรจะใช้ประโยชน์จากมันให้มากที่สุด และการที่นำแสงธรรมชาติมาช่วยอำนวยความสะดวกในการส่องสว่าง ในเวลากลางวันนั้นนับเป็นการประหยัดการใช้พลังงานไฟฟ้าทางตรง อย่างไม่ต้องคิดมาก แต่เนื่องจากเราไม่สามารถนำแสงจากธรรมชาติ มาใช้ได้ตลอดเวลาโดยเฉพาะในช่วงเวลาเช้ามืดหรือเวลากลางคืน เราจึงต้องพึ่งแสงสว่างเทียมจากหลอดไฟ การวางแผนการดำเนินชีวิตให้เข้ากับเวลา และความต้องการ การใช้แสงสว่างจึงนับเป็นส่วนสำคัญในการช่วยประหยัดพลังงาน เพราะการเผาผลาญพลังงานของทั้งในอาคารพักอาศัยหรืออาคารชุดคอนโดมิเนียม ก็คือการใช้พลังงานผลิตเพื่อมาใช้ในระบบไฟฟ้าแสงสว่างเพื่อการดำรงชีพนั่นเอง วิธีการประหยัดไฟและการใช้สว่างมีได้หลากหลายวิธี โดยเฉพาะตัวอย่างง่ายๆ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเช่น ตัวอย่างที่หนึ่ง การไม่เปิดไฟในบริเวณ ใกล้หน้าต่าง ในตอนกลางวัน หรือในบริเวณที่มีแสงสว่างส่องถึงและเพียงพอ ต่อการใช้งาน วิธีนี้ถือเป็นการให้แสงธรรมชาติทำงานด้วยตัวมันเองให้มากที่สุด ตัวอย่างที่สอง การปิดไฟทุกครั้งหลังจากการใช้งานหรือเมื่อออกจากห้อง หรือสถานที่ ที่ไม่จำเป็นต้องมีแสงสว่างคงค้างไว้และไม่มีการใช้งาน ตัวอย่างที่สาม แทนที่เราจะเปิดใช้ไฟให้สว่างไปทั่วทั้งบริเวณห้องเพื่อการทำงานบางอย่าง เราอาจจะเลี่ยงเปิดไฟส่องสว่างเฉพาะที่เท่าที่จำเป็นสำหรับการใช้งานจริงๆ อย่างเช่นการเปิดไฟที่หัวเตียงเพื่ออ่านหนังสือ แทนการเปิดไฟทั่วทั้งห้อง หรือการทำงานเฉพาะที่ ก็เปิดไฟเฉพาะที่เท่าที่จำเป็นเท่านั้น และตัวอย่างที่สี่ การทำความสะอาดหลอดไฟและดวงโคมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการเพิ่ม ประสิทธิภาพในการทำงานของหลอดไฟอย่างสูงสุด… Read more ›
เมื่อคราวที่แล้วเราเรียนรู้การเลือกใช้อุปกรณ์ประหยัดน้ำเกี่ยวกับ ก๊อกน้ำ และฝักบัวไปแล้ว แต่ก็ยังมีสุขภัณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องกับน้ำและชีวิตความเป็นอยู่ ประจำวันของพวกเราอีกที่เรียกว่า ส้วม ที่จะขออนุญาติกล่าวถึงในครั้งนี้ เพราะว่าเราก็สามารถเลือกใช้ส้วม ในแบบที่ช่วยประหยัดน้ำได้เช่นกัน อย่างที่เราทราบกันดีว่า ส้วม เป็นอีกสิ่งจำเป็นสำหรับเราทุกคนในชีวิต การใช้ส้วมก็เพื่อประโยชน์ในการแบ่งเบาภาระและการชำระล้างทำความสะอาด และโดยทั่วไปโถส้วมหรือโถสุขภัณฑ์ที่เราใช้นั้น จะต้องใช้น้ำประมาณ 13 ลิตร ต่อการชักโครก 1 ครั้งเพื่อรักษาความสะอาด แต่ในปัจจุบันมีการทดลอง และค้นพบว่าการทำความสะอาดนี้ โดยปรกติสามารถใช้น้ำเพียงแค่ 6 ลิตร ก็เพียงพอ ซึ่งจะเป็นการประหยัดการใช้น้ำไปกว่าครึ่ง และเป็นการลด การใช้น้ำประปา การประหยัดพลังงานไฟฟ้าที่รัฐใช้ในการสูบน้ำ รวมถึงลดค่าใช้จ่ายในการเก็บรวบรวมและบำบัดน้ำโสโครกอีกด้วย จากข้อมูลอ้างอิงโดยสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยพบว่า ทุกวันนี้คนในกรุงเทพมหานครเรา ใช้น้ำเฉลี่ยประมาณ 320-240 ลิตรต่อคนต่อวัน ถ้าการใช้โถส้วมนั้น ใช้น้ำ 13 ลิตรต่อการกดชักโครกหนึ่งครั้ง… Read more ›
น้ำ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเราทุกคนในชีวิตประจำวันไม่ว่าเราจะใช้เพื่อประโยชน์ ในการบริโภค หรือเพื่อประโยชน์ในการชำระล้างและทำความสะอาด แต่ทราบหรือไม่ว่า มีประชากรโลกถึง 1 ใน 5 ที่ไม่มีน้ำสะอาดสำหรับดื่มกิน และจำนวน 2 ใน 5 ไม่มีน้ำไว้ใช้เพื่อการสุขอนามัยและการใช้ทำความสะอาดต่างๆ น้ำนั้นไม่ว่าจะได้จากทั้งแหล่งธรรมชาติ สายธาร น้ำฝน หรือน้ำที่ผลิตจากหน่วยงาน ของรัฐเพื่อสาธารณะประโยชน์เช่นน้ำประปา และน้ำประปาที่ถูกผลิตออกมานี้ นับเป็นน้ำที่สะอาดมีคุณภาพและสามารถใช้เป็นน้ำดื่มได้ แต่นับครั้งที่ น้ำประปา มักจะถูกนำไปใช้อย่างไม่คุมค่ากับการผลิต และการได้มาอาจจะเป็นเพราะเรา ไม่คำนึงถึงคุณค่า ขั้นตอนการผลิตน้ำ ที่ต้องใช้พลังงานการไฟฟ้าสูบน้ำ และการลงทุนที่สูงเมื่อเทียบกับการที่รัฐเรียกเก็บจากเราที่ต่ำกว่าการลงทุน ดังนั้นการรู้จักใช้น้ำอย่างประหยัดและการเลือกใช้อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการใช้น้ำ ในชีวิตประจำวันให้เกิดประโยชน์สูงสุดจึงเป็นส่วนสำคัญในการประหยัด ทั้งงบประมาณของรัฐและการช่วยมีส่วนร่วม ในการรักษาสภาพแวดล้อม บ้านเมืองสีเขียวของเรา เพื่อเป็นการให้น้ำอย่างประหยัดและคุ้มค่า ที่นอกเหนือไปจากอุปนิสัยการใช้แล้ว การเลือกใช้ชนิดของอุปกรณ์ประหยัดน้ำนี้ ก็เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่ง ทางสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย… Read more ›
ร่มเงา นับเป็นสิ่งมีค่าที่ผู้คนต้องการโดยเฉพาะสำหรับพวกเราผู้อยู่อาศัย ภายในเขตอากาศร้อนชึ้น อย่างประเทศไทย การที่อาคารบ้านเรือน ได้รับวางผังให้่มีพื้นที่ เหลือเป็นเขตเป็นบริเวณ นับว่ามีข้อได้เปรียบอย่างสูง ในการนำร่มเงามาใช้ เพราะเราสามารถเอาต้นไม้มาปลูก ในบริเนณดังกล่าว เพื่อบดบังแสงอาทิตย์อันแรงกล้าและร้อนผ่าว อีกทั้งการมีต้นไม้ยังทำให้เกิดร่มเงา ทอดสู่ตัวอาคารได้ การที่เรามีเกร็ดความรู้เล็กๆ ที่เกี่ยวกับ การเลือกชนิดต้นไม้ และการวางตำแหน่งระยะต่างๆในการปลูกต้นไม้ จะยิ่งช่วยส่งเสริม ให้เกิดประสิทธิภาพในการเกิดร่มเงามากขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เราจะต้องมีีการ วางแผนล่วงหน้าเช่นกัน เพราะไม่ใช่ว่าเรามีพื้นที่และต้นไม้แล้ว ก็สักแต่ว่า จะถมๆปลูกไปให้เยอะๆก็เท่านั้น เพราะบางครั้งการเลือกปลูกที่จำนวนไม่มาก ในบริเวณจำกัด แต่สามารถส่งผลดั่งที่เราต้องการได้ดีกว่าก็มีถมไป ตัวอย่างเช่นที่ว่า ถ้าเราพอจะมีที่ทางในเขตบริเวณบ้าน ดังเกริ่นไว้แต่แรก เราควรจะเลือกต้นไม้ที่ใหญ่สักหน่อย และไม้ที่มีพุ่มมีใบก็จะเป็นการดี โดยปรกติ ต้นไม้ใหญ่เหล่านี้มักจะใช้เวลาถึง 4-5 ปีในการเจริญเติบโตตามที่เราต้องการ เพื่อให้ตัวมันเกิดมีพุ่มมีทรงและความสูง ที่สามารถให้ร่มเงา… Read more ›
สี ของอาคารบ้านเรือน เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยทำให้เกิดความสวยงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อยต่อสภาพแวดล้อม สี สามารถบ่งบอก ถึงรสนิยมของเจ้าของบ้าน สี ทำให้บ้านเรามีความกลมกลืนความเป็นหนึ่ง หรือโดดเด่นแตกต่างไปจากบ้านใกล้เรือนเคียง และไม่ว่าเจ้าของบ้าน จะต้องการสร้างเอกลักษณ์ ผ่านจากการเลือก สี เหล่านี้อย่างไร การเลือกสีทาภายนอกในวันนี้ สีไม่ได้เป็นเพียงแค่ปัจจัยเฉพาะดังที่กล่าวมา แต่ สี ยังทำหน้าที่สำคัญที่ช่วยลดภาระในการกักเก็บดูดกลืนความร้อน จากรังสีแสงอาทิตย์ให้กับผนังภายนอกอาคาร ไปอีกทางที่น่าสนใจอีกด้วย คงจะคล้ายๆกับการที่เรารู้ว่า เราควรจะเลือกใส่เสื้อผ้าสีเข้มหรือสีอ่อน ในสถานการณ์ต่างๆ ตัวอย่างเช่น เมื่อเราจำเป็นต้องออกไปตากแดด หรืออยู่กลางแจ้งนานๆ ความร้อนที่ผ่านสีของเสื้อผ้ามาสู่ผิวหนัง ก็จะคล้ายๆกับ ความร้อนจากสีทาผนังภายนอกอาคาร ที่สามารถดูดซึมผ่านเข้ามาสู่ ภายในตัวบ้านก็เช่นนั้น ดังนั้นการเดาอย่างง่ายๆ ในการเลือกสี ก็คือ การเลือกสีโทนอ่อนๆเอาไว้ก่อน เพราะสีอ่อนเป็นสีที่มีความสามารถดูดกลืนรังสี แสงอาทิตย์ต่ำกว่าสีเข้มเป็นอย่างมาก เท่ากับว่าการเลือกทาสีเข้มให้กับอาคาร… Read more ›