Archives

Categories

Lighting System for Energy Sufficiency | ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ช่วยประหยัดพลังงาน 

การใช้พลังงานเพื่อผลิตระบบไฟฟ้าให้แสงสว่างเพื่อกิจกรรมการใช้งานต่างๆ และเพื่อความปลอดภัยในอาคารบ้านพักอาศัยเสมือนเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และนับเป็นแหล่งการใช้พลังงานที่ต้องสูญเสียเป็นอย่างมาก การที่บ้านพักอาศัยได้รับให้มีการออกแบบโดยให้ใช้แหล่งกิจกรรม ส่วนใช้สอยเพื่อภาระกิจต่างๆ (โดยเฉพาะสำหรับตอนกลางวัน) อยู่ติดกับหรืออยู่ ใกล้กับช่องแสงที่สามารถใช้แสงจากธรรมชาติผ่านมาให้รับใช้โดยตรง โดยไม่ต้องมีการเปิดไฟช่วย นับเป็นการวางแผนที่มีผลประโยชน์โดยตรง และเป็นมิตรต่อธรรมชาติ และเพื่อเป็นการให้เกิดประโยชน์ต่อการวางแผน ในการออกแบบนั้น การเลือกวางเฟอร์นิเจอร์ ก็ไม่ควรบดบังหรือกีดขวาง การใช้ประโยชน์ของแสงนั้นๆ แต่อย่างไรก็ตาม ดังที่กล่าวตอนต้นการใช้ระบบไฟฟ้าเพื่อแสงสว่างแม้จะเป็นสิ่ง ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เราสามารถลดภาระการใช้พลังงานเพื่อผลิตแสงสว่าง ได้หลายทาง จากการศึกษาวิจัยในคู่มือแบบประเมินอาคารประหยัดพลังงานและ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีคำแนะนำการเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างที่มี ประสิทธิภาพสูงสำหรับบ้านพักอาศัย และหนึ่งในตัวอย่างก็คือ   การแนะนำให้มีการใช้บัลลาสต์ประสิทธิภาพสูง (บัลลาสต์ประหยัดไฟ)  ที่มีค่าความสูญเสียกำลังไฟฟ้า ในบัลลาสต์ดังกล่าวไม่เกิน 6 วัตต์ สำหรับดวงโคมที่ใช้หลอดไฟฟ้า ฟลูออเรสเซนต์ทั้งหมด (เมื่อเปรียบเทียบกับบัลลาสต์ธรรมดา ที่กินไฟประมาณ 10-12 วัตต์) อีกทั้งบัลลาสต์ประหยัดไฟนี้นั้น Read more ›

Air Leaking | การป้องกันการรั่วซึมของอากาศ ตามแนวประตูและหน้าต่าง 

หนึ่งในปัญหาการของการสูญเสียพลังงาน โดยเฉพาะพลังงานกระแสไฟฟ้า ที่สูญปล่าว จากการนำไปผลิตในระบบปรับอากาศในอาคารสถานที่ ห้องต่างๆ ที่มีสาเหตุ ของการรั่วซึมและรั่วไหลของอากาศจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง ไม่ว่าการรั่วซึมนั้น จะมากหรือน้อย ก็คือการสูญเสีย นอกจากอากาศและพลังงานที่ผลิตผ่าน เครื่องปรับอากาศจะต้องสูญเสียออกไปแล้ว การใช้ไฟฟ้าที่เสียไป ก็คือคุณค่าเงินทองที่เสียไปโดยปล่าวประโยชน์เช่นกัน เราคงเคยจะได้ยินคนที่อยู่อาศัยภายในบ้านเดียวกับเรา ที่คอยเตือนหรือแม้แต่ตะโกนไล่หลังให้เราปิดประตูหน้าต่างให้แน่นหนา ในเวลาใช้เครื่องปรับอากาศ เพื่อให้การทำงานของเครื่องปรับอากาศมีประสิทธิภาพ และเกิดความเย็นภายในห้องเร็วขึ้น โดยไม่สูญเสียอากาศไหลออกไปสู่ภายนอก แต่อีกสาเหตุที่อากาศไหลรั่วซึมจากบริเวณหนึ่งไปสู่อีกบริเวณหนึ่ง ซึ่งเราสามารถตรวจสอบได้อย่างง่ายๆที่บริเวณประตูและหน้าต่าง โดยเฉพาะบริเวณ ที่กรอบบานและรอยต่อต่างๆ ถ้าผู้ออกแบบได้มีการออกแบบการใช้ประตูหน้าต่าง ที่มีวัสดุวงกบและบานกรอบที่มีรอยต่หน่าแน่นและมีรอยต่อไม่มาก จะทำให้อัตราการ เสี่ยงต่อการรั่วซึมมีต่ำ ซึ่งเป็นการลดการพาความร้อนและความชื้น จากบริเวณภายนอกเข้าสู่พื้นที่ปรับอากาศ และจะช่วยส่งผลในการลดภาระ การทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศลง ถ้าเราพบว่าในรอยต่อของบานกรอบประตูหรือหน้าต่าง สามารถปล่อยให้ อากาศรั่วซึมไหลออกมาได้ ควรจะได้รับการซ่อมแซมโดยเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการอุดรอยรั่วซึมตามรอยต่อรอยร้าวหรือราวแตกต่างๆ แต่ถ้าประตู และหน้าต่าง ที่มีอายุการใช้งานมานานอย่างมากอาจจะมีอาการชำรุดสึกหรอ Read more ›