Archives

Categories

(Co) Working Community & Data-Driven Design 1 | สถานที่ทำงานสมัยใหม่ ตอนที่ 1

หัวใจของการออกแบบคือการทำให้ผู้ใช้ได้ประสบการณ์ที่ดีที่สุด ทั้งจากการใช้งานหรือจากทัศนียภาพรูปลักษณ์ การออกแบบที่พักอาศัย การออกแบบสถานที่ทำงานก็เช่นกัน โดยเฉพาะทุกวันนี้การออกแบบสถานที่ทำงานก็ต้องดัดแปลงรองรับพฤติกรรมผู้ใช้ที่เปลี่ยนไป บทความวันนี้ผมนำแก่นที่สำคัญของการออกแบบ Co-Working Spaces ที่มุ่งผลประโยชน์ต่อพฤติกรรมการทำงานแบบใหม่ที่มีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนโลกการทำงานของเราดัวยครับ โดยแก่นที่หนึ่งเป็นการสร้างชุมชนนักทำงาน (Community-Driven Collaboration) ที่ส่งเสริมการทำงานร่วมกัน ส่วนแก่นที่สองเป็นการนำเอาเทคโนโลยี Artificial Intelligence มาจัดการสร้างฐานข้อมูลเพื่อช่วยในการออกแบบ (Data-Driven Design) Co-Working Spaces หนึ่งในธุรกิจปัจจุบันที่เข้ามาสนับสนุนการพฤติกรรมผู้คนในการทำงานสมัยใหม่ เป็นการจัดการใช้สอยพื้นที่ของมนุษย์ที่ต้องการความคล่องตัวและเป็นอิสระสูง รองรับ Freelancers, นักลงทุนรุ่นใหม่และรวมไปถึงคนทำงานในสตาร์ทอัฟทุกวันนี้ Co-Working Spaces จึงเหมาะกับทั้งคนทำงานเดี่ยวและกลุ่ม แต่มีโอกาสมาพบปะร่วมกับผู้อื่น ที่มีวิสัยทัศน์ทั้งใกล้เคียงและแตกต่างกัน ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนซึ่งกันและกัน แก่นแรกของการออกแบบคือการสร้างพื้นที่ใช้สอยที่เอื้อต่อการทำงานร่วมกันได้ (Community-Driven Collaboration) ถือเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่ก่อให้เกิดพัฒนาไปด้วยกัน แม้ว่าหลักการในการทำงานของตัวเองในสถานที่ร่วมกับผู้อื่นแบบนี้ ไม่ใช่หลักการอะไรใหม่ที่เพิ่งจะเกิดขึ้น หากเราย้อนกลับดูสมัย Read more ›

Cognitive Learning Science | ทักษะรู้จักวิธีการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญ

พื้นฐานการศึกษาแลการมีทักษะรู้จักวิธีการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญที่จำเป็นที่สุด การออกแบบ เทคโนโลยี นวตกรรม วิธีคิด มันเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมากๆครับ ในอีก ปีสองปี หรือ สามปี โปแกรมการศึกษา กระบวนการเรียนรู้ที่คิดไว้สร้างไว้ อนุมัติไว้ มันจะตามไม่ทันยุคสมัย ถัาพื้นฐานและทักษะการเรียนรู้ดี ไม่ว่าจะมีความรู้ด้านไหนๆมา การนำไปประยุกต์ ไปสานต่อความรู้แบบ ในโปรแกรมสั้นๆ bootcamp workshop ในอนาคตเอาได้ง่ายๆ ไม่ต้องกลัวใคร แต่ถ้าแผนการศึกษาที่ลงทุนคนรุ่นใหม่ลากยาว แบบวางแผนไปสี่ห้าปีโน้น ก็เหนื่อยกันหน่อยครับ เราต้องรู้จักใช้ความฉลาดของนวตกรรมมาเป็นตัวช่วย

Left-Brained/Right-Brained | ความแตกต่างของสมองแต่ละซีก ซ้าย/ขวา อย่างกลวงๆ

การเรียนรู้ที่หยั่งลึกไปในเรื่องของสมอง ทำให้รู้ว่าในทางวิทยาศาตร์ความสำคัญหรือความแตกต่างของสมองแต่ละซีก ซ้าย หรือ ขวา ไม่เกี่ยวกับ logical หรือ creative skills ที่แบ่งแยกกันที่เราชอบพูดว่าใช้สมองซีกนี้มากกว่าซีกนั้น เก่งนี่เพระนั่นเพราะสมองซ้ายหรือขวา bla bla bla แต่ก็นั่นแหละ ครับ เหมือนเรื่องราวทั่วๆไปใน “ความเชื่อ” (ความอยากที่จะเชื่อ) ของมนุษย์เรามันเปลี่ยนยาก (หรือไม่อยากเปลี่ยน) เพราะมันพึ่งพาทางใจได้ดี ในแง่ที่มันปลอบใจในปมด้อยของตัวเราเองได้อย่างอบอุ่น บทความบทสัมภาษณ์นี้ดีครับ อธิบายชัดเจนว่าไม่เกี่ยวครับ: The Truth About The Left Brain / Right Brain Relationship ส่วนนักวิชาการทางด้านสมองตัวยงอย่าง Kosslyn บอกไว้ว่าถ้าจะให้ใกล้เคียงความเป็นจริง ควรจะเป็นความแตกต่างของสมองส่วนบน และส่วนล่างมากกว่า Read more ›