Categories

Archive

Thailand Green Building Measure | ระดับความเป็นสีเขียวของอาคารภาคสอง ที่วัดกันในประเทศไทย

หลังจากที่ได้รู้จักกับการประเมินและการวัดความเป็นสีเขียวของอาคาร ในต่างประเทศไปกันแล้วเมื่อครั้งก่อน วันนี้เราจะมาทำความรู้จักเกี่ยวกับ เกณฑ์การวัดหรือการประเมินความเป็นสีเขียวของอาคารแบบไทยๆ ของเรากันบ้าง มีการกล่าวว่าการเลือกใช้การแบบการประเมิณที่ดี ควรจะเป็นการใช้ที่ เป็นของในส่วนท้องที่นั้นๆ ถึงจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด โดยเฉพาะเกณฑ์ที่พัฒนาตามหลักการ ของพื้นที่ภูมิอากาศท้องถิ่นนั้นๆ เพราะอาคารและบ้านเรือนของเรา นี้อยู่ในภูมิภาคร้อนชื้น การจะไปเอาแบบประเมิณการวัดของประเทศหนาวมาใช้ โดยตรง ก็คงจะไม่ถูกต้องหรือได้รับความเที่ยงตรงนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แบบการประเมินที่ไม่ได้รับการปรับปรุงให้เหมาะสมกับท้องที่ของประเทศไทยเสียก่อน (เปรียบเสมือนกับการเอาคนต่างชาติมาวัดมาตรฐานความอร่อยของอาหารไทย) แต่เนื่องจากมาตรฐานเพื่อเป็นการวัดระดับความเป็นสีเขียวทีีมีนั้น ได้เกิดขึ้นและพัฒนามาในต่างประเทศก่อน โดยประเทศไทยเรา ในการเริ่มต้นก็ได้นำเอามาปรับปรุง และโดยมีหน่วยงานของภาครัฐ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงานในขั้นต้น ได้มอบหมายให้คณะผู้วิจัยจากคณะสถาปึตกรรมศาสตร์และสถาบันวิจัยพลังงานต่างๆ โดยศึกษาและวิจัยจากระบบที่คล้ายๆกันกับระบบของ LEED – Leadership in Enery and Environmental Design ของสหรัฐอเมริกาโดย USGBC (US Read more ›

Painting Tread | Trend ของสีทาบ้านหรืออาคาร ที่สกัดจากธรรมชาติ

การทาสีบ้านดูเหมือนจะไม่ใช่สิ่งที่เรานิยมทำกันบ่อยๆนักใจประเทศเราเมื่อเทียบกับชาติอื่นๆ และบ่อยครั้งที่เราจะเห็นอาคารบ้านเรือนของเรา ที่ถูกปล่อยให้สีจืดจางมีคราบของความเก่าแก่และแลดูสกปรก ไม่เหมาะกับวิสัยทัศน์ต่อบ้านเมือง นับเป็นมลภาวะอย่างหนึ่ง แต่สิ่งที่น่าสนใจนอกไปจากการทาสีทำให้สภาพแวดล้อมดูสดใสและ ไม่หม่นหมองนั้น การทาสีในปัจจุบันเราควรเลือกสีที่ไม่เป็นพิษเป็นภัย ต่อธรรมชาติหรือเลือกสีที่มีค่าLOW-VOCต่ำ (volatile organic compounds – ปริมาณสารประกอบอินทรีย์ที่ระเหยได้) และเป็นสีที่ไม่เป็นมลพิษต่ออากาศภายในบ้าน (หรือนอกบ้าน) ตัวอย่างที่จะยกมาในครั้งนี้เป็นtrendของสีที่เป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อม ตัวอย่างแรก Natural paintsเป็นสีที่ไม่ได้เกิดจากการสังเคราะห์ (สีสังเคราะห์) เป็นสีที่เกิดจากพรรณไม้ ตระกูลมะนาวส้ม หรือมะกรูด ผนวกกับส่วนผสมนองพืชพรรณอื่นๆ โปรตีนจากนมหรือดินเหนียว ชึ่งนับเป็นสารธรรมชาติที่ปราศจากการใช้สารกันบูดหรือวัตถุกันเสียต่างๆเจือปน ตัวอย่างถัดไป Milk paints สีน้ำนม หรือสีที่ไม่มีกลิ่นอย่างแท้ สกัดจากน้ำนมโปรตีน (protien casein) และสารจากมะนาว ที่ไม่มีตัวทำละลาย สารกันบูด วัตถุมีพิษสารจำกัดแมลงต่างๆ แต่บางทีอาจจะพบสารสังเคราะห์จำพวก Read more ›

10 Things About Air Condition | บัญญัติ 10 ประการเรื่องเครื่องปรับอากาศ

หน้าหนาวปีนี้หนาวกันไปได้กี่วันแล้วครับ โดยเฉพาะท่านผู้อ่านที่อยู่ในเมืองหลวง และเขตข้างเคียง แต่ผมได้ยินเสียงบ่นๆว่าเป็นหน้าหนาวที่ร้อนอีกแล้ว ถึงขนาดมีเพื่อนบางท่านตื่นมาตอนเช้า ต้องมาลุ้นให้มีอากาศเย็นๆ แต่จำต้องผิดหวังไป เพราะเป็นหน้าหนาวที่พวกเรายังต้องเปิดแอร์กันต่อไป (สำหรับท่านที่มีเครื่องปรับอากาศใช้นะครับ) ซึ่งมันก็ไม่ใช่สิ่งที่ผิดเสียทีเดียว แต่ต้องรู้จักรู้จักใช้มห้ถูกต้อวงเพื่อไม่เป็นการเปลืองพลังงานไฟฟ้าไปปล่าวๆ มีข้อบัญญัติอย่างไม่เป็นทางการ 10 ประการนี้ ที่จะขอแนะนำไว้เพื่อเราจะได้ รู้จักการใช้เคริ่องปรับอากาศได้อย่างถูกต้องและไม่เป็นการกินพลังงานที่สิ้นเปลือง โดยมีการสรุปไว้ดังต่อไปนี้ 1) ก่อนอื่นเลยลดการใช้ลงจากเดิมที่เคยใช้กันอยู่ จะถือเป็นการลดพลังงานไฟฟ้า 2) การเลือกใช้ขนาดที่เหมาะสมกับพื้นที่่ๆจะใช้ การเลือกมียี่ห้อเป็นที่รู้จัก ผ่านการรับรองการใช้พลังงานเบอร์ 5  3) ในการปรับปรุงและเตรียมตัวอาคารบ้านเรือนก่อนจะติดตั้งระบบปรับอากาศ การติดตั้วงฉนวนเหนือเพดานหรือหลังคาเพื่อลดการสงผานรังสีความร้อน การอุดรูรั่งต่างๆเพื่อไม่ให้อากาศภายนอกซึมเข้าสุู่อาคารบ้านเรือน 4) รู้และเข้าใจวิธิการติดตั้ง ตำแหน่งที่ตั้งของตัวเครื่องปรับอากาศ การติดตั้งเครื่องปรับอากาศที่ผิดที่ผิดวิธีจะเป็นการทำให้เกิดการสิ่นเปลืองพลังงาน 5) ไม่มีสิ่งของกีดขวางทางลมเข้าออกของแฟนคอยล์ยูนิต 6) ควรเปิดไฟ และเครื่องใช้ไฟฟ้าเท่าที่จะเป็นเท่านั้น 7) สถานที่จริงที่วางคอนเดนซิ่งยูนิิต Read more ›

Green Knowledge | ความรู้เรื่องสีเขียว รู้อย่างยั่งยืน

คอลัมน์บ้านเมืองสีเขียวเล็กๆแห่งนี้ ได้นำเสนอเรื่องราวและเกร็ดความรู้ที่เก่ียวกับการอยู่อาศัยอย่างเป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อมได้สักระยะหนึ่งแล้ว วันนี้ผู้เขียนขออนุญาตแนะนำผู้อ่าน ถึงกลวิธีในการสร้างเพิ่มพูนความรู้และ การปฏิบัติตัวให้มากๆขึ้นได้อยู่สม่ำเสมอ เกี่ยวกับความเป็นอยู่อย่างสีเขียวนี้ เพราะลำพังแต่ข้อมูลที่ผู้เขียนแนะนำมานี้ เป็นแค่เพียงส่วนเล็กน้อยอย่างมากๆ เมื่อเทียบกับโลกภายนอกและสิ่งที่เรา เผชิญชีวิตกันอยู่ทุกๆวัน จุดมุ่งหมายถัดมาก็คือ อยากให้ผู้อ่านมี “ภูมิดีิ” “ภูมิคุ้มกัน” ไม่โดนโฆษณา สิ่งชวนเชื่อหลอกเอาง่ายๆ หรือหลงตามสิ่งที่อ้างตัวว่าเป็นผลิตภัณฑ์ กรีน กรีนนั้น กรีนนี้ แต่แท้จริงก็เพื่อผลประโยชน์ทางการค้าอย่างของเขาข้างเดียว ที่ไม่ได้มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเท่าไหร่ เอาแต่ขายของมากๆไว้ก่อน แต่ถ้าสิ่งที่เราซื้อหรือได้บริการมาเป็นประโยชนและเป็นของดีอย่างแท้์จริง เราก็ตอบแทนให้คุ้มเช่นกัน ถือเป็นการเพิ่มพลังใจแก่กันและกันในสังคม และโลกมันเปลี่ยนไปแล้วและเราอาศัยอยู่ในศตวรรษที่ 21 นี้ การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการพึ่งพาตัวเองให้มีความรู้อยู่สม่ำเสมอ นับเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากที่สุด ไม่แพ้กับการได้เรียนในสถาบันหรือโรงเรียนต่างๆ ความรู้ก็คือความรู้มีอยู่ให้ค้นหา เราไม่จำต้องรอการคาดหวังจากรัฐบาล หรือหน่วยงานใดๆมาคอยให้ความรู้เรา เพราะเวลาของเราก็มีค่าเช่นกัน ชีวิตและเวลาของเรา มีค่ามากกว่าการรอคอย Read more ›

Renewal Energy (Last) | พลังงานหมุนเวียน ภาคสุดท้าย

วันนี้เราจะมาดูพลังงานหมุนเวียนที่เหลือ คือพลังงานจากชีวมวล พลังงานจากน้ำ และพลังงานจากขยะและของเสียต่างๆ พลังงานจากชีวมวล พลังงานชีวมวลถือเป็นสารอินทรีย์ที่ได้มาจากพลังงานธรรมชาติหมุนเวียน และถือเป็นแหล่งเก็บกักพลังงานที่ดีแหล่งหนึ่งที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต ปรกติแล้ว เป็นสารอินทรีย์ที่ได้มาจากเศษหลงเหลือทางการเกษตร ไม่ว่าจะจากสวนนาไร่ หรืแเศษไม้ที่ล่วงหล่นในป่า เช่นชานอ้อย เศษไม้ แกลบ กากมันสำปะหลัง ซังข้าวโพด การปาล์ม กากมะพร้าวและกะลา เป็นต้น   พลังงานชีวมวลถูกนำมาพัฒนาขึ้นมาเพื่ิอการผลิตพลังงานไฟฟ้าหรือการใช้ทำความร้อน นอกไปจากแหล่งที่ได้มาจากเศษต้นไม้ในป่าจากต้นไม้ที่ตายแล้วโดยสารชีวมวลยังรวมไปถึงที่ได้มาจากสารอินทรีย์ที่มาสัตว์อีกด้วย และโดยรวมแล้วสารชีวมวลทั้งหลาย จะต้องสามารถสลายไปกับธรรมชาติได้ และจะต้องไม่รวมไปถึงสารจากธรรมชาติ ที่ผลิตจากถ่านหินหรือการขุดเจาะน้ำมัน เผาผลาญต่างๆ พลังงานจากน้ำ นำ้เป็นสิ่งที่คนไทยรู้จักกันดี และเป็นหนึ่งในรากเหง้าของการพัฒนาอารยะธรรมของ สยามประเทศไทยเรา อีกทั้งน้ำเป็นสิ่งที่ปรกคลุมพื้นผิวโลกเรามากถึง 70% นอกไปจากการน้ำมาใช้ในการดำรงชีวิต เพื่อปากท้องการเกษตรการชลประทานแล้ว น้ำยังสามารถถูกดัดแปลงมาผลิตเป็นผลังงานไฟฟ้า ดังตัวอย่างของเขื่อน (Hydroelectric Energy) หรือการใช้กังหันน้ำ Read more ›

Renewal Energy 2 | ทำความรู้จักกับพลังงานทดแทน พลังงานหมุนเวียน 2

เมื่อครั้งที่แล้วเราได้เรียนรู้ถึงพลังงานหมุนเวียนที่ได้จากแสงอาทิตย์และการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้แล้ว สำหรับวันนี้เรามาทำความรู้จักกับพลังงานที่ได้จากลม และพลังงานจากใต้พื้นดินผืนแผ่นพสุธาของเราสักนิดดีกว่าครับ พลังงานจากลม พลังงานลมเป็นพลังงานธรรมชาติที่เกิดจากสภาพความแตกต่างของอากาศหรืออุณหภูมิ ระหว่าง 2 ที่ และถือว่าเป็นพลังงานที่มีความสะอาดบริสุทธิ์และสามารถนำมาใช้ได้ อย่างไม่มีวันหมดสิ้น พลังงานที่ได้มาจากลมนี้นั้นได้รับความสนใจและถูกนำมาพัฒนา ให้เกิดประโยชน์อย่างแพร่หลายเช่นในการใช้กังหันลมโดยกังหันลมนี้นั้นเป็นเครื่องมือ อุปกรณ์ที่สามารถเปลี่ยนแปลงพลังงานลมให้สามารถมาเป็นประโยชน์ได้หลากหลาย อย่างเช่นที่เราเห็นกันอยู่ทั่วๆไปในการใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าหรือใช้ในการขับสูบน้ำ โดยในหลักทางวิทยาศาสตร์นั้น พลังงานลมเกิดจากพลังงานดวงอาทิตย์ตกกระทบ สู่พื้นผิวของโลกทำให้เกิดอากาศร้อนและลอยตัวสูงขึ้น อากาศจากบริเวณอื่น ที่มีความเย็นและความหนาแน่นมากกว่า จึงเข้ามาแทนที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว ของอากาศเหล่านี้และเป็นต้นกำเนิดของลม ซึ่งมีอิทธิพลต่อสภาพภูมิอากาศ ในหลายแห่งภายในประเทศไทยเราอยา่งมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางแนวฝั่งทะเล อันดามันและอ่าวไทย ที่มีพลังงานลมที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบ ของพลังงานเครื่องกล เช่นการใช้เป็นกังหันสูบน้ำเพื่อผลิตไฟไฟ้า โดยปรกติทั่วไปนั้นศักยภาพของพลังงานลมจะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ จะต้องมีกำลังและความเร็วอยู่ที่ 3 ถึง 5 เมตรต่อวินาที และมีความเข้มของพลังงานลมที่ได้มีการประเมินไว้อยู่ที่ 3-5 เมตรต่อวินาที และความเข้มค้นของพลังงานลมที่ประเมินไว้อยู่ระหว่าง 20-50 วัตต์ต่อตารางเมตร Read more ›

Renewal Energy | ทำความรู้จักกับพลังงานทดแทน พลังงานหมุนเวียน 

บทความเมื่อคราวที่แล้วได้มีการกล่าวอ้างถึงพลังงานทดแทนที่เรียกว่า “Renewable Energy” บางท่านอาจสงสัยว่ามันคืออะไรและต่างไปจากพลังงาน ที่เราๆเคยรู้จักอย่างไร เพราะโดยทั่วไปเราจะรู้จักพลังงานที่ผลิตมาจาก น้ำมันเชื้อเพลิงหรือถ่านหิน ซึ่งถือได้ว่าอาจเรียกว่าเป็นพลังงานสิ้นเปลือง ที่มีวันสูญเสียหมดไปได้ ในขณะที่พลังงานทดแทนและพลังงานหมึนเวียนที่เกริ่นมานั้น เป็นพลังงานสามารถผลิตได้จากแหล่งที่มีอยู่ทั่วไปตามธรรมชาติหรือสามารถกลับคืน ไปสู่ธรรมชาติได้ และที่สำคัญการกลับมาหมุนเวียนสามารถทำได้อย่างไม่มีวันหมดสิ้น แหล่งที่มาของพลังงานทดแทนนี้ได้แก่ แสงอาทิตย์ ลม พื้นดิน น้ำ พืช หรือแม้แต่ขยะของเสียจากอาคารบ้านเรือน ทำไมการรู้จักพลังงานทดแทนนั้นเป็นสิ่งสำคัญ? เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่า พลังงานในทุกวันนี้เป็นปัญหาใหญ่ของโลกและส่งผลโดยตรงกับพวกเรามากขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าพฤติกรรมของการเป็นอยู่ของพวกเราทีมีการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลืองที่ยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ในเร็ววันนี้ (เป็นสิ่งที่ต้องร่วมมือกันแก้ไข ให้ได้อย่างรวดเร็ว) ดังนั้นหน่วยงานทั้งภาครัฐ วิสาหกิจ เอกชน และนักวิชาการ ทั้งในประเทศเราและทั่วโลก ต่างก็ได้มีการศึกษาวิจัย ทดลอง และสำรวจ อย่างหนักเพื่อการนำเทคโนโลยที่สามารถผลิตมาใช้เป็นพลังงานทดแทน ที่จะนำมาตอบสนองความต้องการและกิจกรรมของเราโดยที่จะไม่ส่งผลกระทบต่อ ธรรมชาติและภาวะโลกร้อน จากแหล่งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดังที่ได้กล่าวข้างต้น พลังงานทดแทนนี้ จักจำแนกออกได้ในแต่และประเภทคือ Read more ›

Green Indoor Environment | คุณภาพของสภาวะแวดล้อมภายในอาคารบ้านเรือน

หนึ่งในการอยู่อย่างบ้านเมืองสีเขียวก็คือการรู้จักและดูแลสภาวะแวดล้อม ภายในอาคารบ้านเรือน ทั้งนี้เพราะอาคารและสิ่งก่อสร้างส่งผลต่อคุณภาพของ สภาวะแวดล้อมภายในอาคารที่เราใช้สอยและมีผลโดยตรงต่อสุขภาพของเรา มีการศึกษาและวิจัยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ได้มีการสรุปวิเคราะห์ว่า อากาศภายในอาคารและบ้านเรือนมีโอกาสที่มีความเป็นมลพิษมากกว่า อากาศภายนอก อีกทั้งเราผู้ใช้สอยโดยทั่วไปใช้เวลาอยู่ในอาคารมากถึง 90% เนื่องจากการใช้เวลาอย่างมากภายในอาคารนี้จึงมีส่วนสำคัญ ที่เราสามารถรับผลกระทบโดยตรงจากอากาศเป็นพิษภายที่อยู่ในอาคารโดยที่เราไม่รู้ตัว สิ่งที่เราควรจะรู้จักก็คือ ความส่องสว่างและการควบคุมความส่องสว่างภายในอาคาร ปริมาณการระบายอากาศภายในอาคาร สภาวะน่าสบาย ที่อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์มีความเหมาะสม การลดผลกระทบของมลภาวะจากความร้อนหรือมลพิษที่สามารถเข้าสู่อาคาร การลดผลกระทบของมลภาวะจากแก็ซพิษ สารเคมี สารทำความสะอาดที่มีอยู่ภายในบ้าน ประสิทธิภาพของการกรองอากาศ การเลือกใช้วัสดุภายในอาคารที่ไม่ก่อมลพิษหรือปลดปล่อยสารพิษ จากข้อมูลข้างต้นจะสังเกตได้ว่าสิ่งที่เราควรคำนึงอย่างมากก็คืออิทธิพลของคุณภาพของอากาศและการมีแสงสว่างที่เหมาะสม แต่พอเราพูดถึงสภาวะอากาศดู หมือนจะเป็นสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้ แตะต้องไม่ได้ แต่อันที่จริง เราสามารถป้องกันและเรียนรู้ในการควบคุมมลพิษได้อย่างดี และอย่างน้อยๆ เราควรจะสามารถป้องกันไม่ให้เข้ามาในส่วนที่เราพักอาศัย ส่วนใช้สอยต่างๆ หรือเข้ามาในที่ๆเราใช้เวลาส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน ซึ่งมลภาวะเหล่านี้นั้น สามารถมักจะมาได้ในรูปแบบต่างๆ เราต้องเริ่มต้นป้องกันตั่งแต่ การเลือกสถานที่ตั้ง การวางผังของอาคารบ้านเรือน การหันทิศทางไปในทางที่มีอากาศระบายที่ดี การเลือกใช้วัสดุก่อสร้าง Read more ›

Green Cleaning | การดูแลรักษาและทำความสะอาดอาคารบ้านเรือน 

เรื่องการดูแลรักษาและการทำความสะอาดอาคารบ้านเรือนที่จะกล่าวถึงในวันนี้มีผล กระทบโดยตรงต่อการอยู่อย่างมิตรกับสภาพแวดล้อม อย่างเป็นที่รู้กันไปคร่าวๆ ในบทความก่อนๆว่า เราควรจะรู้จัก เลือกสิ่งต่างๆที่ประกอบกันเป็นวัสดุ อาคารบ้านเรือนของเรา โดยไม่ว่าจะการเลือกวัสดุต่างๆให้เหมาะสม ไม่เป็นการทำลายสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ ว่าแต่แล้วหลังจากนั้นล่ะ เราควรจะดูแลบ้านเรือนกันได้อย่างไรบ้าง สิ่งที่เราคุ้นเคยทำกันอยู่เป็นประจำก็คือ การรักษาและทำความสะอาด และการทำความสะอาดนี่เอง ที่มีส่วนสำคัญที่อาจจะก่อให้เกิด ความไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะเรามักจะคุ้นเคยกับการเลือกใช้น้ำยา สารเคมีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อการทำความสะอาดพื้น ผนัง กระจก ห้องน้ำ ครัว เคาน์เตอร์ และอุปกรณ์ต่่างๆภายในบ้านเพื่อการกำจัดความสกปรกและเชื้อโรคต่างๆ  ไม่ให้หลงเหลืออยู่ แต่ด้วยผลิตภัณฑ์ที่เราคุ้นเคยและเลือกใช้กันนั้น มีสิ่งที่เราไม่เคยทราบคือ มันมักเกิดทำให้มีสิ่งตกตะกอนทั้งในอากาศ และตามแหล่งอับต่างๆ ที่หลงเหลืออยู่ก็คือสารเคมีที่เป็นพิษจากผลิตภัณฑ์เหล่านั้น เหมือนกับเป็นการนำเอาสารที่เป๋็นพิษมาให้กับตัวเรา กับผู้คนภายในบ้าน และสิ่งแวดล้อม (poor indoor air quality) ดังนั้นการเลือกใช้ควรเลือกผลิตภัณฑ์ ก็ควรเลือกที่ไม่มีพิษ Read more ›

Measuring Green Buildging | ระดับความเป็นสีเขียวของอาคารวัดกันได้อย่างไร

จากที่เราได้เรียนรู้ส่วนต่างๆของบ้านเพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถ บรรเทาความสงสัยสิ่งต่างๆภายใยบ้านไปได้บ้าง วันนี้เราจะมาทำความรู้จักเกี่ยวกับ เกณฑ์การวัดหรือการประเมิณความเป็นสีเขียว หรือที่นำไปสู่ความเป็นสีเขียว ของอาคารและบ้านเรือนของเรา ว่าทำได้อย่างไรบ้าง และมีบ้านเมืองไหน บ้างที่มีเกณฑ์ การวัดเหล่านี้บ้าง เพราะเป็นที่รู้กันดีอย่างกว้างขวาง ว่าการนำไปสู่ความเป็นบ้านเมืองสีเขียว มีกันให้เห็นกันทั่วๆไป แทบจะทั้งโลกเราในทุกวันนี้ มาตรฐานเพื่อเป็นการวัดระดับความเป็นสีเขียวนั้น เกิดขึ้นในต่างประเทศหลายๆทศวรรษก่อน เพราะความสงสัยและความกังวลใน ภาวะโลกร้อนและทรัพยากรธรรมชาติที่เริ่มสูญหายไป และมีผลต่อสภาพแวดล้อม ที่มีผลกับสิ่งมีชีวิตบนโลกมนุษย์นี้ (ที่ไม่ใช่เฉพาะมนุษย์เรา) อาจจะเรียกได้ว่าความกังวลเริ่มนั้น ส่งผลให้ชนชาวตะวันตกเริ่มเกิดความตื่นตัว และเริ่มสร้างกระแสให้เห็นถึงผลกระทบต่างๆ (โดยเฉพาะระบบปฏิวัติอุตสาหกรรม ที่ส่งผลกระทบต่สภาพแวดล้อมอย่างมาก) จึงเกิดองค์กรต่างๆมากมายที่ตั้งขึ้นเพื่อ ช่วยกันคิดถึงสาเหตุ และการแก้ไข (ที่คาดว่าน่าจะช่วยได้) หรือการให้รางวัลสนับสนุน ประมาณปีพุทธศักราช 2533 (คศ 1990) องค์กรในสหราชอาณาจักรอังกฤษ (BRE-Building Research Establishment) ได้สร้างมาตรฐานการวัดความยั่งยืนของอาคาร(หรือที่เรียกว่าการประเมิณอาคาร)  Read more ›

Knowing your zoning at home | ความเข้าใจการแบ่งส่วนภายในบ้าน ภาคสุดท้าย

ส่วนต่างๆที่เหลือภายในบ้านที่เราควรจะรู้จักและทำความเข้าใจ ที่จะเป็นภาคสุดท้ายในวันนี้ก็คือ ส่วนutiliy zone (The Utility Zone) ส่วนต้นไม้และลานหญ้า (The Yard Zone) และส่วนกิจกรรมของมนุษย์ (The human Zone) ส่วนประโยชน์ใช้สอยอื่นๆ The Utility Zone ส่วน utility ของบ้านนี้ได้แก่ โรงรถ ห้องเก็บของ ห้องเครื่องต่างๆ (หรือห้องใช้สอยใต้ดิน laundry room ห้องเครื่องซักรีดเสื้อผ้าในต่างประเทศ)  ในส่วนใช้สอยนี้ของบ้าน มักจะเป็นส่วนที่เราไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก จนบางครั้งมีการปล่อยให้เกิดความสูญเสียจากการใช้พลังงานไปในส่วนนี้มาก ข้อแนะนำในส่วนนี้ก็คือไม่มีการเก็บกักหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็นเช่น ตู้เย็น ทีวี เครื่องที่สอง ที่เราคิดว่าทำให้เกิดความสะดวกสบาย การทำความสะอาด จัดให้เป็นที่เป็นทางและขจัดสิ่งที่ไม่จำเป็นทำให้เกิดพื้นที่ในประโยชน์อื่นของบ้าน และที่สำคัญคือไม่ควรติดตั้งเครื่องปรับอากาศในบริเวณนี้ของบ้าน ส่วนต้นไม้และลานหญ้า Read more ›

Knowing your zoning at home 3 | ความเข้าใจการแบ่งส่วนภายในบ้าน ภาคสาม

บทความในวันนี้ จะกล่าวต่อถึงส่วนต่างๆในบ้าน ในส่วนหลับนอน (The Sleeping Zone) และส่วนห้องน้ำห้องท่า (The Bathroom Zone) ส่วนหลับนอน The Sleeping Zone บ้านที่ไม่มีส่วนที่ใช้ในการหลับนอนก็ดูจะเหมือนไม่เป็นบ้าน และส่วนนอนของบ้านนี่เอง ที่ดูเหมือนจะเป็นส่วนที่คนเราใช้เวลามากที่สุดภายในบ้าน ในส่วนของเวลาพักผ่อน นอนหลับนั้นเราไม่ต้องการพึ่งพาของแสงมากนัก การปกปิดบังแสงด้วยผ้าม่านมู่ลี่หรือ window treatment ต่างๆที่จะช่วยลดการนำแสงเข้ามาในบริเวณนี้ได้ โดยเฉพาะเวลากลางคืนที่มีแสงไฟฟ้าข้างนอก อีกทั้งเป็นการสร้าง ให้เกิดความปลอดภุยในการหลับนอน  ส่วนในเวลากลางวันนั้น ควรเปิดให้มีอากาศ ได้ถ่ายเทและหมุนเวียนและช่วยให้เกิดความปลอดโปร่งเช่นกัน การช่วยให้เกิดภาวะสบายในส่วนหลับนอนนั้น นอกไปจากการใช้เครื่องปรับอากาศ ที่ถ้าเราสามารถหลีกเลี่ยงได้แล้ว อาจจะมีการติดตั้งพัดลมติดฝ้าเพดาน ซึ่งนอกจากจะที่ไม่สิ้นเปลืองพลังงานเท่ากับการใช้เครื่องปรับอากาศ อีทกั้งยังช่วยให้เกิดอากาศหมุนเวียนที่ดีได้ แต่การเลือกติดตั้งพัดลมติดฝ้าเพดานนั้น จะต้องคำนึงถึงระยะจากเพดานสู่พื้นว่าเพียงพอหรือไม่เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ ดูเหมือนจะเป็นเรื่องขบขัน ถ้่ามีการกล่าวว่า“ส่วนที่เราใช้นอน ก็ควรจะเอาไว้นอน” Read more ›

Knowing your zoning at home 2 | ความเข้าใจการแบ่งส่วนภายในบ้าน ภาคสอง

  บทความวันนี้ ขอแนะนำต่อเรื่องการเข้าใจในการแบ่งส่วนภายในบ้าน ในส่วนของส่วนอาหาร (The Food Zone) และส่วนนั่งเล่นพักอาศัย (The Living Zone) ส่วนอาหารการกิน The Food Zone นับเป็นสิ่งที่โชคดีอย่างหนึ่ง ที่บ้านเมืองเราในประเทศไทยมีก็คือ ความอุดมสมบูรณ์ของอาหารการกินนานาชนิด ที่เราสามารถหาได้อย่างง่ายๆ แม้ว่าคำกล่าวในอดีตที่ว่า ในน้ำมีปลาในนามีข้าว จะดูเหมือนจืดจางลงไปบ้าง แต่บ้านเมืองเราก็ยังเต็มเพียบพร้อมด้วยอาหารการกินดัวกล่าว เพียงแค่เราก้าวเดินออกจากบ้าน เราก็สามารถหาอาหารเพื่อประทังชีวิตได้ แต่สิ่งที่จะต้องระมัดระวังในการใช้ชีวิตแบบบ้านเมืองสีเขียวก็คือ การต้องเดินทาง ออกไปซึ้ออาหารบ่อยๆ การกินข้าวปลานอกบ้านทุกๆมื้อ การทำอาหารรับประทานเองในส่วนทำอาหารของบ้าน โดยซื้อข้าวของจากแถวๆบ้าน แถวๆตลาด ที่ไม่ต้องออกไปไกลๆให้เสียค่าน้ำมัน ค่ารถค่าราบ่อยๆ นับเป็นการประหยัดพลังงาน หรือถ้าจำเป็นจริงๆก็ควรซื้อมาตักตุนไว้ทีละมากๆหน่อย ใช้พื้นที่ส่วนครัวให้คุ้มค่า ลดการสูญเสียพลังงานเรียนรู้ว่าบ้านเรา ก็มีส่วนครัวส่วนทำอาหาร ที่ีสามารถใช้การได้เหมือนกัน Read more ›

Knowing your zoning at home | ความเข้าใจการแบ่งส่วนภายในบ้าน

เรื่องราวและเกร็ดความรู้ต่างๆที่เคยแนะนำมา ในบ้านเมืองสีเขียวนี้ เป็นส่วนเล็กส่วนน้อย ที่ประกอบกันเพื่อการอยู่อย่างสีเขียว วันนี้ได้มีโอกาสจะมาอธิบายถึงส่วนต่างๆนั้น สามารถรวมกันเป็นอาคารบ้านเรือน และบังเอิญ มีบทความในนิตยสาร dwellฉบับ Beyond Green ประจำเดือนพฤษภาคม เรื่อง “At Home in the Zone” ที่ยกตัวอย่างถึงการเป็นอยู่อย่างยั่งยืน (sustainability) ที่ไม่ต้องถึงกับทำให้ชีวิตลำบากและมืดมน แต่หากแนะนำการรู้และเข้าใจว่า บ้านที่เราพักอาศัยนี่ ว่าสามารถแบ่งเป็นส่วนๆได้ ก็อาจจะช่วยทำให้ความ เป็นอยู่อย่างสีเขียว (going green) นี่มีความสนุกสนานและมีประสิทธิภาพมากขึ้น การแบ่งส่วนต่างๆภายในบ้านนั้น เราสามารถทำความเข้าใจได้คร่าวๆดังนี้ บ้านทั้งหลัง (The Whole House Zone) ส่วนอาหาร (The Food Zone) Read more ›

Rainwater Harvesting/Utilizing | การกักเก็บและการใช้น้ำฝน

น้ำฝน ถือว่าเป็นหนึ่งในทรัพยากรที่ได้มาจากธรรมชาติอย่างไม่ต้องเสียสตางค์ และก็เป็นที่รู้กันดีว่า ประเทศไทยเราตั้งอยู่ในเขตที่มีฝนตกชุกและมีฝนตกหนัก อยู่หลายๆเดือนในแต่ละปี สำหรับคนเมืองผู้คนจะเกิดอาการปะปน ที่ทั้งเป็นมิตร และไม่เป็นมิตรกับการตกของฝน บางครั้งก็เราจะรู้สึกชื่นชอบเพราะทำให้เกิด ความชุ่มชื่นในช่วงที่มีอากาศร้อนจัดติดกันนานๆ ส่วนบางครั้งก็อาจจะเกิด การเบื่อหน่ายเพราะการกักขัง เกิดน้ำท่วม รถติด หรือเหตุผลคนเมืองอื่นๆ  แต่ในทางกลับกันในพื้นที่ ที่มีความต้องการใช้น้ำฝนจากธรรมชาติอย่างมาก  ที่บ่อยครั้งกลับไม่มีฝนตกลงมาให้ได้ใช้่อย่างต้องการ การกักเก็บน้ำฝนเพื่อไว้ใช้ ไม่ใช่เป็นเรื่องที่น่าแปลกใหม่อะไรสำหรับคนไทยเรา เรารู้จักการกักเก็บไว้ในเพื่อไว้ใช้มาตั้งแต่อดีต ที่ผ่านหลังคามาสู่ทางรองน้ำ หรือรางน้ำมาสู่ ตุ่ม แทงค์น้ำ หรือไม่ว่าจะเป็นการกักเก็บในระบบที่ใหญ่ขึ้นไป การกักเก็บเพื่อใช้ในการชลประทาน การสร้างเขื่อน ฝาย อ่างเก็บน้ำ และแม้แต่การกักเก็บน้ำฝนในสระเก็บน้ำเพื่อการเกษตร ตามทฤษฏีใหม่ หรือการกักเก็บน้ำฝนไว้เพื่อประโยชน์อื่นๆ สำหรับในส่วนของบ้านพักอาศัย อาคารชุดพักอาศัย หรือ ตึกสูงต่างๆ การให้ความคำนึงเรื่องการเก็บน้ำฝนดูจะลดน้อยลงไป โดยเฉพาะในช่วงที่ผ่านมา  อาจจะจะเป็นเพราะว่าเราไม่รู้สึก Read more ›

Lighting System for Energy Sufficiency | ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ช่วยประหยัดพลังงาน 

การใช้พลังงานเพื่อผลิตระบบไฟฟ้าให้แสงสว่างเพื่อกิจกรรมการใช้งานต่างๆ และเพื่อความปลอดภัยในอาคารบ้านพักอาศัยเสมือนเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และนับเป็นแหล่งการใช้พลังงานที่ต้องสูญเสียเป็นอย่างมาก การที่บ้านพักอาศัยได้รับให้มีการออกแบบโดยให้ใช้แหล่งกิจกรรม ส่วนใช้สอยเพื่อภาระกิจต่างๆ (โดยเฉพาะสำหรับตอนกลางวัน) อยู่ติดกับหรืออยู่ ใกล้กับช่องแสงที่สามารถใช้แสงจากธรรมชาติผ่านมาให้รับใช้โดยตรง โดยไม่ต้องมีการเปิดไฟช่วย นับเป็นการวางแผนที่มีผลประโยชน์โดยตรง และเป็นมิตรต่อธรรมชาติ และเพื่อเป็นการให้เกิดประโยชน์ต่อการวางแผน ในการออกแบบนั้น การเลือกวางเฟอร์นิเจอร์ ก็ไม่ควรบดบังหรือกีดขวาง การใช้ประโยชน์ของแสงนั้นๆ แต่อย่างไรก็ตาม ดังที่กล่าวตอนต้นการใช้ระบบไฟฟ้าเพื่อแสงสว่างแม้จะเป็นสิ่ง ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เราสามารถลดภาระการใช้พลังงานเพื่อผลิตแสงสว่าง ได้หลายทาง จากการศึกษาวิจัยในคู่มือแบบประเมินอาคารประหยัดพลังงานและ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีคำแนะนำการเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างที่มี ประสิทธิภาพสูงสำหรับบ้านพักอาศัย และหนึ่งในตัวอย่างก็คือ   การแนะนำให้มีการใช้บัลลาสต์ประสิทธิภาพสูง (บัลลาสต์ประหยัดไฟ)  ที่มีค่าความสูญเสียกำลังไฟฟ้า ในบัลลาสต์ดังกล่าวไม่เกิน 6 วัตต์ สำหรับดวงโคมที่ใช้หลอดไฟฟ้า ฟลูออเรสเซนต์ทั้งหมด (เมื่อเปรียบเทียบกับบัลลาสต์ธรรมดา ที่กินไฟประมาณ 10-12 วัตต์) อีกทั้งบัลลาสต์ประหยัดไฟนี้นั้น Read more ›

Air Leaking | การป้องกันการรั่วซึมของอากาศ ตามแนวประตูและหน้าต่าง 

หนึ่งในปัญหาการของการสูญเสียพลังงาน โดยเฉพาะพลังงานกระแสไฟฟ้า ที่สูญปล่าว จากการนำไปผลิตในระบบปรับอากาศในอาคารสถานที่ ห้องต่างๆ ที่มีสาเหตุ ของการรั่วซึมและรั่วไหลของอากาศจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง ไม่ว่าการรั่วซึมนั้น จะมากหรือน้อย ก็คือการสูญเสีย นอกจากอากาศและพลังงานที่ผลิตผ่าน เครื่องปรับอากาศจะต้องสูญเสียออกไปแล้ว การใช้ไฟฟ้าที่เสียไป ก็คือคุณค่าเงินทองที่เสียไปโดยปล่าวประโยชน์เช่นกัน เราคงเคยจะได้ยินคนที่อยู่อาศัยภายในบ้านเดียวกับเรา ที่คอยเตือนหรือแม้แต่ตะโกนไล่หลังให้เราปิดประตูหน้าต่างให้แน่นหนา ในเวลาใช้เครื่องปรับอากาศ เพื่อให้การทำงานของเครื่องปรับอากาศมีประสิทธิภาพ และเกิดความเย็นภายในห้องเร็วขึ้น โดยไม่สูญเสียอากาศไหลออกไปสู่ภายนอก แต่อีกสาเหตุที่อากาศไหลรั่วซึมจากบริเวณหนึ่งไปสู่อีกบริเวณหนึ่ง ซึ่งเราสามารถตรวจสอบได้อย่างง่ายๆที่บริเวณประตูและหน้าต่าง โดยเฉพาะบริเวณ ที่กรอบบานและรอยต่อต่างๆ ถ้าผู้ออกแบบได้มีการออกแบบการใช้ประตูหน้าต่าง ที่มีวัสดุวงกบและบานกรอบที่มีรอยต่หน่าแน่นและมีรอยต่อไม่มาก จะทำให้อัตราการ เสี่ยงต่อการรั่วซึมมีต่ำ ซึ่งเป็นการลดการพาความร้อนและความชื้น จากบริเวณภายนอกเข้าสู่พื้นที่ปรับอากาศ และจะช่วยส่งผลในการลดภาระ การทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศลง ถ้าเราพบว่าในรอยต่อของบานกรอบประตูหรือหน้าต่าง สามารถปล่อยให้ อากาศรั่วซึมไหลออกมาได้ ควรจะได้รับการซ่อมแซมโดยเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการอุดรอยรั่วซึมตามรอยต่อรอยร้าวหรือราวแตกต่างๆ แต่ถ้าประตู และหน้าต่าง ที่มีอายุการใช้งานมานานอย่างมากอาจจะมีอาการชำรุดสึกหรอ Read more ›

Green Friendly City Living | อยู่แบบคนเมือง อีกมุมมองหนึ่งที่เป็นมิตรกับธรรมชาติได้

ในปัจจุบัน ประชากรบนโลกอาศัยอยู่ในเขตพักอาศัยที่เรียกว่าเมืองมีมากขึ้นเรื่อยๆ การอาศัยในถิ่นเมือง ที่มีผู้คนหนาแน่นกว่าหมู่บ้านจัดสรรในเขตชานเมือง หรือนอกเมืองที่ล้ำเขตออกสู่ชานเมือง และที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นสวนป่าหรือไร่นา มีการศึกษาเปรียบเทียบให้เห็นว่า การเลือกอยู่ในเมือง นับเป็นการอยู่อาศัย แบบสีเขียวที่ดีอย่างหนึ่ง (green living) แต่ถ้าฟังดูเผินๆ จะเกิดความเคืองสงสัย ที่ว่าจะเป็นได้อย่างไร ที่การอยู่ในเมือที่หนาแน่นและตึกสูง จะเป็นการอยู่ อย่างสีเขียว กว่าการอยู่ชานเมืองที่มีบ้าน มีเน้ือที่ มีสนามหญ้า มีต้นไม้มีนก น้ำและลำธาร (ที่ขุดขึ้นในหมู่บ้านจัดสรร) ในการศึกษาพบว่าการมีชีวิตอยู่สีเขียวอย่างในเมือง โดยเฉพาะในตึกรามบ้านช่องที่เก่าแก่ที่มีความกระชับกระทัดรัดของชุมชน (compact neigborhood) จะมีการใช้พลังงานน้อยกว่า และปลดปล่อยของเสียน้อยกว่า การที่อยู่ในหมู่บ้านจัดสรรโครงการใหม่ๆที่สร้างขึ้น ที่ถึงแม้ว่าจะเป็นบ้านที่สร้างเพื่อประหยัดพลังงานที่มีการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ไฟน้อย ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? ทำไมการอยู่ในเขตเมือง เป็นการการอยู่ที่เป็นมิตรต่อโลก กว่าการอยู่ในบ้านประหยัดพลังงาน ในเขตชานเมืองที่เคยเป็นสวนไร่นา คำตอบก็คือ ความหนาแน่นซึ่งเป็นหนึ่งในการช่วยการอยู่อาศัยให้มีประสิทธิภาพ density Read more ›