Thailand Green Building Measure | ระดับความเป็นสีเขียวของอาคารภาคสอง ที่วัดกันในประเทศไทย

หลังจากที่ได้รู้จักกับการประเมินและการวัดความเป็นสีเขียวของอาคาร ในต่างประเทศไปกันแล้วเมื่อครั้งก่อน วันนี้เราจะมาทำความรู้จักเกี่ยวกับ เกณฑ์การวัดหรือการประเมินความเป็นสีเขียวของอาคารแบบไทยๆ ของเรากันบ้าง มีการกล่าวว่าการเลือกใช้การแบบการประเมิณที่ดี ควรจะเป็นการใช้ที่ เป็นของในส่วนท้องที่นั้นๆ ถึงจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด โดยเฉพาะเกณฑ์ที่พัฒนาตามหลักการ ของพื้นที่ภูมิอากาศท้องถิ่นนั้นๆ เพราะอาคารและบ้านเรือนของเรา นี้อยู่ในภูมิภาคร้อนชื้น การจะไปเอาแบบประเมิณการวัดของประเทศหนาวมาใช้ โดยตรง ก็คงจะไม่ถูกต้องหรือได้รับความเที่ยงตรงนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แบบการประเมินที่ไม่ได้รับการปรับปรุงให้เหมาะสมกับท้องที่ของประเทศไทยเสียก่อน (เปรียบเสมือนกับการเอาคนต่างชาติมาวัดมาตรฐานความอร่อยของอาหารไทย)

แต่เนื่องจากมาตรฐานเพื่อเป็นการวัดระดับความเป็นสีเขียวทีีมีนั้น ได้เกิดขึ้นและพัฒนามาในต่างประเทศก่อน โดยประเทศไทยเรา ในการเริ่มต้นก็ได้นำเอามาปรับปรุง และโดยมีหน่วยงานของภาครัฐ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงานในขั้นต้น ได้มอบหมายให้คณะผู้วิจัยจากคณะสถาปึตกรรมศาสตร์และสถาบันวิจัยพลังงานต่างๆ โดยศึกษาและวิจัยจากระบบที่คล้ายๆกันกับระบบของ LEED – Leadership in Enery and Environmental Design ของสหรัฐอเมริกาโดย USGBC (US Green Building Council) มาใช้เป็นเกณฑ์ประเมินอาคารในขั้นแรก ซึ่งเรียกว่า TEEAM (Thailand Energy and Environemtnal Assessment Method) โดยแบ่งประเภทเป็น อาคารพักอาศัยและอาคารพาณิชย์ โดยมุ่งเน้นการออกแบบตัวอาคารและ สภาพแวดล้อมอาคาร ที่จะส่งเสริม ให้เกิดการประหยัดพลังงาน และไม่สร้างผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม ในช่วงแรกนั้น เป็นการประเมินโดยการให้คะแนน เป็นหมวดๆ ตั้งแต่การเลือกที่ตั้งโครงการ  การเข้าถึงการขนส่งมวลชน การออกแบบและวางผัง การใช้ทรัพยากรน้ำ การบำรุงรีักษาต้นไม้ การติดตั้งฉนวนกันความร้อน การใช้ระบบไฟฟ้สแสงสว่าง การปรับอากาศ ระบบสาธารณูปโภค โดยคะแนนเต็มทั้งสิ้น 100 คะแนน ถ้าการประเมินได้ 70-75  จะได้ผลการประเมินระดับดีเด่น (เดิมนั้นการแบ่งระดับเป็น ผ่าน ดี หรือดีเด่น)

แต่ในปัจจุบันมีการปรับปรุงเป็นโครงการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในอาคาร โดยติดฉลากในระดับ ดี ดีมาก หรือดีเด่น (สามระดับ) แบ่งเป็นแบบประเมินอาคารประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสี่แบบ จากบ้านเดี่ยว บ้านแถว สู่โรงแรม โรงพยาบาล สู่อาคารสำนักงาน สู่อาคารสรรพสินค้า อาคารพาณิชย์

นอกไปจากการประเมินโดยรุปแบบของโดยกระทรวงพลังงานดังกล่าวแล้ว ในปัจจุบัน วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ร่วมกับ สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดแต่งคณะอนุกรรมการจัดทำหลักเกณฑ์การประเมิน อาคารเขียว ขึ้นมาอีกระบบหนึ่ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันอาคารเขียวไทย (TGBI – Thai Green Building Institue) ที่จัดตั้งขึ้นเมื่อต้นปี โดยมีการคาดหวังให้เกิดการกระตุ้นพัฒนาและการจัดกิจกรรมต่างๆที่มุ่งหวังเพื่อสภาพแวดล้อม โดยหลักเกณฑ์การประเมิณอาคารเขียวนั้น ในขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอน การร่างและมีการแบ่งเป็นส่วนต่างๆ รวมไปถึงการพยายามครอบครุมให้เหมาะสม กับประเทศไทยของเรามากขึ้น

ซึ่งเราทั้งหลายในฐานะประชาชน คงจะคาดหวังได้ว่าในอนาคต อาคารบ้านเมืองของเรา จะได้้รับการออกแบบ และการดูแลโดยพวกเรา ให้เป็นมิตรและเหมาะสมต่อสภาพแวดล้อม

Comments are closed.