Categories

Archive

Design (in) Action for Health | จากห้องเรียนออกแบบ สู่โลกจริงช่วยชีวิตผู้ป่วย

เมื่อนักเรียนนักออกแบบจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นำความรู้ในห้องเรียนออกมาสร้างใช้งานจริงให้กับผู้ป่วยไต ที่ไม่สามารถไปโรงพยายบาลได้ ด้วยการออกแบบ เป็นโครงการ บ้านล้างไตเคลื่อนที่ ‘บ้านตาน้อย 1.0’ “…เป็นพื้นที่พยาบาลสำหรับผู้มีรายได้น้อยที่อาศัยห่างไกลโรงพยาบาลชุมชน ไม่สะดวกเดินทาง เพื่อให้สามารถล้างไตด้วยตน เองที่บ้านได้ในสภาพแวดล้อมที่สะอาดปลอดภัย ผลงานการออกแบบของกลุ่มนิสิตในรายวิชา Action Design คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ถูกพัฒนาและสร้างขึ้นจริงในงบประมาณ 5 หมื่นบาท” อ้างอิงมาจากอาจารย์ปุ้ย สายทิวา รามสูต หัวหน้าภาคสถาปัตยกรรมคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไปโหลดรายละเอียดได้ที่นี่ครับ http://builtenviforhealth.info/upload/download/th_161102094556.pdf ที่มาภาพจาก Design for Health …. When classroom’s studio design in Thailand to practically solve a real world Read more ›

Design Thinking at Work | ประโยชน์ของ DT ช่วยครูคิดวิธีการช่วยเด็กๆ

เป็นความรู้ case study ที่มาจาก Workshop จริงทำจริงได้ไปใช้ประโยชน์จริง โดยกลุ่มทีมงาน Learning, Design, and Technology www.artipania.com นำโดยน้องแพรว Prowpannarai Mallikamarl เป็นวิทยากรร่วมกับพญ.ศิริรัตน์ อุฬารตินนท์ ในโครงการพัฒนาต้นแบบในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดสำหรับเยาวชนอย่างครบวงจร จัดโดยสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี https://medium.com/@artipania/how-design-thinking-helps-teachers-help-teenagers-86276dffcee2 ใช้ขบวนการ Designing Cognitive Behavior Thinking ผสมผสานระหว่างกระบวนการออกแบบ Human-Centered Design (หรือ Design Thinking) และเพื่อการบำบัดเทคนิคและทฤษฏีทางด้านการปรับความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavior Therapy) Deep listening: ฟังด้วยใจ Finding the right problem: โจทย์ในการออกแบบ Read more ›

Design Principles by UK Gov | หลักการออกแบบ 10 ประการ จากรัฐบาล UK

แหล่งข้อมูลการออกแบบครับ Design Principles by UK Government Digital Services https://www.gov.uk/design-principles Start with user needs  เริ่มต้นด้วยความจำเป็นของผู้ใช้สอย เข้าใจผู้ใช้ให้ลึกซึ้ง ถาม สังเกต ค้นคว้า วิจัย 2. Do less ทำเท่าที่ควรทำ ใช้ resources ที่มี เน้น reusable and shareableไม่จำเป็นต้องสร้างใหม่เสมอๆ 3 Design with data ใช้ข้อมูลช่วยในการตัดสินใจ ไม่เดา ไม่มั่ว 4 Do the hard Read more ›

Usability UI UX Resources | แหล่งข้อมูลความรู้ User Research/Usability

หนึ่งในแหล่งข้อมูลความรู้สำหรับ UI/UX วิจัย แบะออกแบบโดย US Government https://www.usability.gov ตั้งแต่ขั้นตอนระเบียบวิธีวิจัยต่างๆ ฟอร์มทีมีให้ใช้ และแนวทาง ความรู้ User Experience เบื้องต้น การหา Participants การสร้างเนื้อหา การดูแลบริหารงาน องค์ประกอบในการออกแบบ

Cognitive Learning Science | ทักษะรู้จักวิธีการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญ

พื้นฐานการศึกษาแลการมีทักษะรู้จักวิธีการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญที่จำเป็นที่สุด การออกแบบ เทคโนโลยี นวตกรรม วิธีคิด มันเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมากๆครับ ในอีก ปีสองปี หรือ สามปี โปแกรมการศึกษา กระบวนการเรียนรู้ที่คิดไว้สร้างไว้ อนุมัติไว้ มันจะตามไม่ทันยุคสมัย ถัาพื้นฐานและทักษะการเรียนรู้ดี ไม่ว่าจะมีความรู้ด้านไหนๆมา การนำไปประยุกต์ ไปสานต่อความรู้แบบ ในโปรแกรมสั้นๆ bootcamp workshop ในอนาคตเอาได้ง่ายๆ ไม่ต้องกลัวใคร แต่ถ้าแผนการศึกษาที่ลงทุนคนรุ่นใหม่ลากยาว แบบวางแผนไปสี่ห้าปีโน้น ก็เหนื่อยกันหน่อยครับ เราต้องรู้จักใช้ความฉลาดของนวตกรรมมาเป็นตัวช่วย

Left-Brained/Right-Brained | ความแตกต่างของสมองแต่ละซีก ซ้าย/ขวา อย่างกลวงๆ

การเรียนรู้ที่หยั่งลึกไปในเรื่องของสมอง ทำให้รู้ว่าในทางวิทยาศาตร์ความสำคัญหรือความแตกต่างของสมองแต่ละซีก ซ้าย หรือ ขวา ไม่เกี่ยวกับ logical หรือ creative skills ที่แบ่งแยกกันที่เราชอบพูดว่าใช้สมองซีกนี้มากกว่าซีกนั้น เก่งนี่เพระนั่นเพราะสมองซ้ายหรือขวา bla bla bla แต่ก็นั่นแหละ ครับ เหมือนเรื่องราวทั่วๆไปใน “ความเชื่อ” (ความอยากที่จะเชื่อ) ของมนุษย์เรามันเปลี่ยนยาก (หรือไม่อยากเปลี่ยน) เพราะมันพึ่งพาทางใจได้ดี ในแง่ที่มันปลอบใจในปมด้อยของตัวเราเองได้อย่างอบอุ่น บทความบทสัมภาษณ์นี้ดีครับ อธิบายชัดเจนว่าไม่เกี่ยวครับ: The Truth About The Left Brain / Right Brain Relationship ส่วนนักวิชาการทางด้านสมองตัวยงอย่าง Kosslyn บอกไว้ว่าถ้าจะให้ใกล้เคียงความเป็นจริง ควรจะเป็นความแตกต่างของสมองส่วนบน และส่วนล่างมากกว่า Read more ›

Super Mario Augmented Reality in Central Park | คุณ Abhishek Singh ทำเกมเองเล่นเอง

เมื่อวานนี้ที่งาน Augmented Reality New York Meetup  คุณ Abhishek Singh มาเล่าให้ฟังถึงความเป็นมา ที่เอา HoloLens มาผนวกกับ Super Mario เล่นในสวนสาธารณะในนิวยอร์ค เพิ่งหัดเขียนโคดเองไม่กี่ปี (Unity 3D) บอกว่าเอาพอเป็น คุณ Abhishek มี background ด้านบริหารธุรกิจ งานนี้ งานอดิเรกล้วนๆ โปรเจคนี้ ทำไม่เกินเดือนนึง แปะลง Youtube เมื่อวันพุธก่อน ณ วันนี้อาทิตย์เต็มๆ 7 แสนกว่า วิวแล้วครับ น่าจะด้วยเหตุผลง่ายๆ คนรู้จัก Super Mario Read more ›

Green Life Cycle, Cost & Our Responsibility | วงจรชีวิตอย่างสีเขียว การลงทุนและความรับผิดชอบ

เมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้สอนหนังสือนักศึกษาสถาปัตยกรรม ปริญญาโทของมหาวิทยาลัย แห่งหนึ่งเกี่ยวกับนวตกรรมเทคโนโลยี เพื่อบ้านเมืองสีเขียว โดยยกตัวอย่างของแนวทางการประเมิน ความเป็นสีเขียวของอาคาร และเน้นว่าให้มองโดยองค์รวม โดยไม่จำเพาะ เจาะจงเทคโนโลยีอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น และให้กลับไปคิดต่อว่า เรายังสามารถคิดค้นด้วยความคิดสร้างสรรค์อื่นๆ อีกมากมาย และเรามีพลังงานที่ได้ฟรีๆจากธรรมชาติ ที่สามารถหมุนเวียนมาให้ใช้ ได้อยู่เรื่อยๆ (Renewable Energy) ในตอนท้ายของการชั้นเรียน มีคำถามที่น่าสนใจมาจากนักศึกษา ที่น่าจะนำมาเล่าสู่กันฟัง ณ ที่นี้ คำถามแรกที่ว่า การลงทุน หรือต้นทุน ในการก่อสร้่าง (หรือดัดแปลง) สิ่งก่อสร้าง ให้มีความเป็นมิตร ต่อสภาพแวดล้อมนั้นจะเป็นการลงทุนที่สูงเกินกว่าการก่อสร้างอาคาร โดยปรกติที่เราๆทำกันอยู่ทุกวันนี้หรือไม่ แล้วถ้ามีมูลค่าสูงกว่าเราจะทราบ ได้อย่างไรว่าคุ้มค่ากับการลงทุน ส่วนคำถามถัดมามีความน่าสนใจไม่แพ้กัน นักศึกษาถามขึ้นว่า ที่มีคนบอกว่าปัญหาสภาพแวดล้อมนี้มันแก้ไม่ได้แล้ว ต่อให้สร้างหรือช่วยอย่างไรก็คงไม่มีผลแล้ว ที่ว่านั้นเป็นจริงหรือไม่แล้ว เราควรจะให้คำปรึกษาแก่เจ้าของโครงการอย่างไร ในคำถามแรกนั้นโดยทั่วไปเราจะรู้สึกว่าของที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมัก Read more ›

Green Cleaning | การดูแลรักษาและทำความสะอาดอาคารบ้านเรือน 

เรื่องการดูแลรักษาและการทำความสะอาดอาคารบ้านเรือนที่จะกล่าวถึงในวันนี้มีผล กระทบโดยตรงต่อการอยู่อย่างมิตรกับสภาพแวดล้อม อย่างเป็นที่รู้กันไปคร่าวๆ ในบทความก่อนๆว่า เราควรจะรู้จัก เลือกสิ่งต่างๆที่ประกอบกันเป็นวัสดุ อาคารบ้านเรือนของเรา โดยไม่ว่าจะการเลือกวัสดุต่างๆให้เหมาะสม ไม่เป็นการทำลายสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ ว่าแต่แล้วหลังจากนั้นล่ะ เราควรจะดูแลบ้านเรือนกันได้อย่างไรบ้าง สิ่งที่เราคุ้นเคยทำกันอยู่เป็นประจำก็คือ การรักษาและทำความสะอาด และการทำความสะอาดนี่เอง ที่มีส่วนสำคัญที่อาจจะก่อให้เกิด ความไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะเรามักจะคุ้นเคยกับการเลือกใช้น้ำยา สารเคมีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อการทำความสะอาดพื้น ผนัง กระจก ห้องน้ำ ครัว เคาน์เตอร์ และอุปกรณ์ต่่างๆภายในบ้านเพื่อการกำจัดความสกปรกและเชื้อโรคต่างๆ  ไม่ให้หลงเหลืออยู่ แต่ด้วยผลิตภัณฑ์ที่เราคุ้นเคยและเลือกใช้กันนั้น มีสิ่งที่เราไม่เคยทราบคือ มันมักเกิดทำให้มีสิ่งตกตะกอนทั้งในอากาศ และตามแหล่งอับต่างๆ ที่หลงเหลืออยู่ก็คือสารเคมีที่เป็นพิษจากผลิตภัณฑ์เหล่านั้น เหมือนกับเป็นการนำเอาสารที่เป๋็นพิษมาให้กับตัวเรา กับผู้คนภายในบ้าน และสิ่งแวดล้อม (poor indoor air quality) ดังนั้นการเลือกใช้ควรเลือกผลิตภัณฑ์ ก็ควรเลือกที่ไม่มีพิษ Read more ›