Air Leaking | การป้องกันการรั่วซึมของอากาศ ตามแนวประตูและหน้าต่าง 

หนึ่งในปัญหาการของการสูญเสียพลังงาน โดยเฉพาะพลังงานกระแสไฟฟ้า ที่สูญปล่าว จากการนำไปผลิตในระบบปรับอากาศในอาคารสถานที่ ห้องต่างๆ ที่มีสาเหตุ ของการรั่วซึมและรั่วไหลของอากาศจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง ไม่ว่าการรั่วซึมนั้น จะมากหรือน้อย ก็คือการสูญเสีย นอกจากอากาศและพลังงานที่ผลิตผ่าน เครื่องปรับอากาศจะต้องสูญเสียออกไปแล้ว การใช้ไฟฟ้าที่เสียไป ก็คือคุณค่าเงินทองที่เสียไปโดยปล่าวประโยชน์เช่นกัน

เราคงเคยจะได้ยินคนที่อยู่อาศัยภายในบ้านเดียวกับเรา ที่คอยเตือนหรือแม้แต่ตะโกนไล่หลังให้เราปิดประตูหน้าต่างให้แน่นหนา ในเวลาใช้เครื่องปรับอากาศ เพื่อให้การทำงานของเครื่องปรับอากาศมีประสิทธิภาพ และเกิดความเย็นภายในห้องเร็วขึ้น โดยไม่สูญเสียอากาศไหลออกไปสู่ภายนอก

แต่อีกสาเหตุที่อากาศไหลรั่วซึมจากบริเวณหนึ่งไปสู่อีกบริเวณหนึ่ง ซึ่งเราสามารถตรวจสอบได้อย่างง่ายๆที่บริเวณประตูและหน้าต่าง โดยเฉพาะบริเวณ ที่กรอบบานและรอยต่อต่างๆ ถ้าผู้ออกแบบได้มีการออกแบบการใช้ประตูหน้าต่าง ที่มีวัสดุวงกบและบานกรอบที่มีรอยต่หน่าแน่นและมีรอยต่อไม่มาก จะทำให้อัตราการ เสี่ยงต่อการรั่วซึมมีต่ำ ซึ่งเป็นการลดการพาความร้อนและความชื้น จากบริเวณภายนอกเข้าสู่พื้นที่ปรับอากาศ และจะช่วยส่งผลในการลดภาระ การทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศลง

ถ้าเราพบว่าในรอยต่อของบานกรอบประตูหรือหน้าต่าง สามารถปล่อยให้ อากาศรั่วซึมไหลออกมาได้ ควรจะได้รับการซ่อมแซมโดยเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการอุดรอยรั่วซึมตามรอยต่อรอยร้าวหรือราวแตกต่างๆ แต่ถ้าประตู และหน้าต่าง ที่มีอายุการใช้งานมานานอย่างมากอาจจะมีอาการชำรุดสึกหรอ ที่เกิดจากการจากการใช้งานมานาน ดังนั้นการเปลี่ยนบานกรอบด้วยของใหม่ ก็จะเป็นทางเลือกหนึ่งที่ดี

นอกไปจากรอยรั่วซึม ที่เราต้องป้องกันระวังและซ่อมแซมเมื่อพบเห็นแล้ว ตามบริเวณขอบบานวงกรอบประตูและใต้ท้องของบานประตู ที่มักจะเป็นบริเวณที่สำคัญ ที่อากาศสามารถไหลรั่วผ่านจากบริเวณปรับอากาศไปสู่ภายนอก ที่เรามักจะพบเห็น แต่ไม่ได้ให้ความสำคัญ ซึ่งควรจะมีการติดตั้งแนวแถบป้องกันอากาศรั่วซึม (weather strip) โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเราจะพบว่าในบริเวณใต้ท้องประตูระหว่างพื้นแข็ง ของบานประตู ที่ไม่ได้รับการติดตั้งหรืออกแบบที่เหมาะสม เราจะสามารถเห็นช่องว่างเป็นแนวใต้ประตูและธรณีประตูได้อย่างชัดเจน หรือที่มีแสงผ่านออกมาอย่างชัดเจนในเวลากลางคืนที่เราเปิดไฟ

การแก้ไขหรือการระมัดระวังควรจะเริ่มที่การออกแบบและในการติดตั้ง ให้มีระยะช่องว่างให้น้อยที่สุด แต่่ไม่เกิดการขูดขีดพื้น หรือถ้าเป็นไปได้ ควรสามารถติดแถบป้องกันอากาศรั่วซึมที่ใต้บานประตู ไม่ว่าจะเป็นแถบกันความรั่วอย่างมีราคาไม่แพง หรือการติดตั้งระบบ weather stripping drop ที่จะเป็นการป้องกันการรั่วไหล และการสูญเสียพลังงานกำลังไฟฟ้าและเงินทองได้เป็นอย่างดี

รูปภาพ : การติดตั้งตามแถบกันซึมของอากาศ ตามประตู หน้าต่าง

รูปภาพ : การติดตั้งตามแถบกันซึมของอากาศ ใต้บานประตู

Comments are closed.