Green Knowledge | ความรู้เรื่องสีเขียว รู้อย่างยั่งยืน

คอลัมน์บ้านเมืองสีเขียวเล็กๆแห่งนี้ ได้นำเสนอเรื่องราวและเกร็ดความรู้ที่เก่ียวกับการอยู่อาศัยอย่างเป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อมได้สักระยะหนึ่งแล้ว วันนี้ผู้เขียนขออนุญาตแนะนำผู้อ่าน ถึงกลวิธีในการสร้างเพิ่มพูนความรู้และ การปฏิบัติตัวให้มากๆขึ้นได้อยู่สม่ำเสมอ เกี่ยวกับความเป็นอยู่อย่างสีเขียวนี้ เพราะลำพังแต่ข้อมูลที่ผู้เขียนแนะนำมานี้ เป็นแค่เพียงส่วนเล็กน้อยอย่างมากๆ เมื่อเทียบกับโลกภายนอกและสิ่งที่เรา เผชิญชีวิตกันอยู่ทุกๆวัน

จุดมุ่งหมายถัดมาก็คือ อยากให้ผู้อ่านมี “ภูมิดีิ” “ภูมิคุ้มกัน” ไม่โดนโฆษณา สิ่งชวนเชื่อหลอกเอาง่ายๆ หรือหลงตามสิ่งที่อ้างตัวว่าเป็นผลิตภัณฑ์ กรีน กรีนนั้น กรีนนี้ แต่แท้จริงก็เพื่อผลประโยชน์ทางการค้าอย่างของเขาข้างเดียว ที่ไม่ได้มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเท่าไหร่ เอาแต่ขายของมากๆไว้ก่อน แต่ถ้าสิ่งที่เราซื้อหรือได้บริการมาเป็นประโยชนและเป็นของดีอย่างแท้์จริง เราก็ตอบแทนให้คุ้มเช่นกัน ถือเป็นการเพิ่มพลังใจแก่กันและกันในสังคม

และโลกมันเปลี่ยนไปแล้วและเราอาศัยอยู่ในศตวรรษที่ 21 นี้ การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการพึ่งพาตัวเองให้มีความรู้อยู่สม่ำเสมอ นับเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากที่สุด ไม่แพ้กับการได้เรียนในสถาบันหรือโรงเรียนต่างๆ ความรู้ก็คือความรู้มีอยู่ให้ค้นหา เราไม่จำต้องรอการคาดหวังจากรัฐบาล หรือหน่วยงานใดๆมาคอยให้ความรู้เรา เพราะเวลาของเราก็มีค่าเช่นกัน ชีวิตและเวลาของเรา มีค่ามากกว่าการรอคอย จากคำมั่นสัญญาของผู้ที่เราคิดว่าจะทำหน้าที่แทนเราแล้วทำไม่ได้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการบ้านการเมืองอย่างของประเทศไทยเรา ที่ไม่ค่อยเข้าที่เข้าทางและไม่ อยู่กับล่องกับลอยอย่างที่ทุกๆคนในประเทศ อยากให้มันเป็น แต่โชคดีที่ทุกวันนี้ คนไทยเรามีเทคโนโลยีที่ให้ข้อมูลข่าวสารและมีการสื่อสารที่เข้าถึงได้ง่าย เกิดขึ้นอย่างมากมาย แม้บางอย่างเราจะใช้ไม่เป็น แต่ด้วยความมีน้ำใจ ของคนไทยเรา ถ้าเราถามไปดีๆแล้วรอสกหน่อยหนึ่ง เดี๋ยวเค้าก็คงตอบมาเอง

แหล่งข้อมูลที่ราสามารถหาความรู้เรื่องบ้านเมืองสีเขียวมีคร่าวๆดังต่อไปนี้ครับ

1) สมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง แหล่งการศึกษา หรือห้องสมุดสาธารณะ สถาบันวิจัยต่างๆไม่ว่าจากรัฐหรือเอกชน : เริ่มที่สมาคมสถาปนิกสยามฯ หรือสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ก่อนเลยก็ได้

2) สื่อสิ่งพิมพ์ หนังสือพิมพ์ หนังสือตามร้านขายหนังสือ : ลองอ่านดูก่อนเอง

3) วิทยุ โทรทัศน์ หรืออินเตอร์เนต : ฟังขาวสั้น หรือดูสารคดีต่างๆ หรือเล่นอินเตอร์เนต แต่ถ้าเล่นยังไม่เป็นก็ให้เด็กๆแถวบ้าน สอนอีกที

4) นิทรรศการ การอบรม งานสัมมนา : ถ้ามีโอกาสก็แวะเยี่ยมเยียนดู       ดูนิดๆหน่อยๆ ก็ยังดีกว่าไม่ทำเลย

5) สถานที่จริง อาคารตัวอย่าง อาคารได้รับรางวัล : ถ้ามีที่ไหนเค้าเปิด ให้ดูก็ตามไปดูด้วย ดูว่าเค้าทำอะไรกับอาคารของเค้าและอย่างไรบ้าง แตใน่ประเทศไทย เรายังมีน้อย ก็ดูกรณีศึกษาต่างประเทศ

นอกจากการที่เรารู้แหล่งการหาข้อมูลข้างต้นคร่าวๆและสิ่งที่สำคัญที่ไม่แพ้กันที่เราควรมีไว้ประจำตัวก็คือ การมีสูตรและคำถามง่ายๆ สามข้อนี้

หนึ่ง ข้อมูลนั้นมีและเห็นนั้น มีแหล่งอ้างอิงอะไรจากไหน ใครเป็นผู้ให้ ผู้เขียนรู้จริง รู้มากเชื่อได้อย่างไร มีประสบการณ์หรือความสนใจ ในเรื่องนั้นนี้มากน้อยแค่ไหน และมีความหวังดีแค่ไหน เราควรจะดูที่ภาพรวมๆ อย่าไปเชื่อเพียงเพราะ คุณสมบัติภายนอกภายในคร่าวๆ ปริญญาอาจจะไม่ใช่ของดีเสมอไป เพราะบางทีคนไม่มีวุฒิใดๆ แต่เป็นผู้รู้จริง เราสามารถนำความรู้ไปใช้้ได้เลย เรื่องสีเขียวเหล่านี้คือความรู้จากท้องถิ่นอย่างมากๆด้วย

สอง ข้อมูลที่นั้นได้รับ มีการนำไปทำให้เกิดผลดีจริงๆรึยังหรืออย่างไร  มีการพิสูจน์ไว้เมื่อไหร่ และการทดลองนั้นมีความเที่ยงแท้อย่างไร ก่อนที่เราจะปักใจเชื่อ ก็ค่อยๆดูไปพิสูนจ์ ข้อมูลหรือของใหม่ๆไม่ใช่ว่าจะดีเสมอไป

สาม แหล่งข้อมูลนั้นมีวัตถุประสงค์อะไรแอบแฝงหรือไม่ เป็นการศึกษา การวิจัยเพื่อนำมาใช้ หรือเพื่อการขายของให้ได้มากๆ เป็นแฟชั่นทันสมัยและชื่อฟังดูดี หรือมันเป็นการขายชื่ออ้างอย่างเดียวหรือปล่าว และเค้าใช้กรรมวิธีพิสูจน์อะไร อันนี้ดูได้ง่ายๆ ถ้าเค้าชักจูงให้เราเสียตังค์มากๆ เร่งเร้าให้ซื้อเลยตัดสินใจเลย หรือสัญญาที่ให้ความหวังมากๆ ซึ่งก็อาจจะดูผิดสังเกต เราต้องตัดสินใจ และไตร่ตรองดีๆก่อนเอง ไม่จำเป็นต้องตามผู้อื่นหรืออซื้อขอที่มีราคาแพง

และก็นั่นแหละครับ ท้ายสุดเมื่อเราติดตามมีความรู้พอสมควรแล้ว ลองหันกลับมาถามตัวเองว่า วันนี้เราปฎิบัติความเป็นอยู่ที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม ของเรารึยังไม่ต้องรอใคร เริ่มทำเองไปทีละนิดก่อนเลยครับหรือชวนกันทำได้เลย แล้วก็บอกต่อผู้อื่น ข้อดีข้อเสีย นี่แหละถึงจะเป็นการเรียนรู้เพื่อความเป็นอยู่อย่าง สีเขียวและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่เป็นฉบับของแท้และอย่างยั่งยืน

รูปภาพ : การเรียนรู้ด้วยตนเอง

Comments are closed.