Hardscape | พื้นดาดแข็งในเขตบริเวณบ้าน เป็นพื้นที่น้ำซึมผ่านได้

ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนชื้น มีฝนตกชุก มีน้ำไหลนองให้เห็นให้เดินย่ำ ทั้งอย่างตั้งใจหรือไม่ตั้งใจอยู่ทั่วไป ในแต่ละปีประเทศไทยของเรามีฝนตกเฉลี่ยอยู่ที่ ประมาณ 1400-2500 มิลลิเมตรต่อปี ในพื้นที่ที่เป็นธรรมชาตินั้น ปริมาณน้ำฝนกว่า 50% จะสามารถซึมผ่านลงสู่ชั้นใต้ดินได้ มีแค่เพียง 10% ที่กลายป็นน้ำไหลนอง  แต่ในทางกลับกันเมื่อพื้นที่ธรรมชาติถูกเปลี่ยนแปลงเป็นพื้นที่เมือง และเป็นพื้นดาดแข็ง (Hardscape) ดังตัวอย่างเช่น ถนน ลานจอดรถ ลานอเนกประสงค์ ทางเดิน คอร์ทกีฬา ฯลฯ ปริมาณน้ำที่เคยซึมผ่านลงดินเพื่อสะสมเป็นน้ำใต้ดินก็จะกลาย เป็นน้ำไหลนอง การที่มีปริมาณน้ำไหลนองสูง จะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำท่วมขัง และเกิดมลภาวะแก่แหล่งน้ำธรรมชาติ รวมทั้งเกิดตะกอนทับถมในแม่น้ำลำคลอง อันจะส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม และระบบนิเวศน์

ในการศึกษาของ Center for Watershed Protection ของสหรัฐอเมริกาพบว่า ถ้าหากมีการใช้วัสดุปูพื้นผิวที่น้ำซึมผ่านไม่ได้ (Imprevious Surface) มากกว่า 25% ของพื้นที่ดาดแข็งในงานภูมิสถาปัตยกรรม จะทำให้เกิดความเสียหายต่อคุณภาพน้ำ ในแหล่งน้ำธรรมชาติ  ในสภาวะที่มีผนตกชุกอย่างประเทศไทย เราควรให้ความสำคัญกับการเลือกใช้วัสดุพื้นผิว ในงานภูมิสถาปัตยกรรมป็นอย่างยิ่ง  การเพิ่มความสามารถในการซึมซับน้ำฝน ลงสู่ชั้นดิน ด้วยการใช้วัสดุปูพื้นที่น้ำซึมผ่านได้นั้น นอกจากจะเป็นผลดีต่อสภาพแวดล้อมแล้ว ยังจะทำให้ระดับน้ำใต้ดินเพิ่มสูงขึ้น เกิดการเพื่มความชุ่มชื้นในดิน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการประหยัดน้ำสำหรับรดน้ำต้นไม้ในงานภูมิสถาปัตยกรรมได้

ตัวอย่างของวัสดุพื้นผิวที่น้ำซึมผ่านได้ หรือที่เรียกว่า premeable paving material ที่ใช้สำหรับปูพื้นในงานภูมิสถาปัตยกรรมนั้น  ไม่ว่าจะใช้ในการปูพื้นถนน ทางเดิน หรือพื้นดาดแข็งต่างๆ ควรจะมีช่องหรือร ูสำหรับให้น้ำฝนซึมผ่านลงสู่ชั้นดินได้ อย่างน้อย 10% ขึ้นไป ตัวอย่างเช่น การวางใช้บล็อคหญ้า (turf block/grid pavers) ที่วางอยู่บนทรายบดอัด หรือ การใช้แผ่นปูพื้นแบบหน่วยย่อย (unit pavers) เช่น แผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปที่มีการเว้นร่องกว้างประมาณ 2.5 – 3.125 เซนติเมตร เพื่อให้น้ำซึมผ่านได้ง่าย   นอกไปจากตัววัสดุที่ได้รับการเลือกใช้แล้วนั้น เราควรจะมีการพิจารณาลักษณะการออกแบบของพื้นดาดแข็งและการระบายน้ำประกอบกันไปด้วย เพื่อควบคุมปัญหาการเกิดน้ำไหลนอง ตัวอย่างเช่น พื้นถนน ก็ควรจะมีขนาด พอเหมาะไม่กว้างใหญ่จนเกินความจำเป็น หรือแม้แต่การการสร้างร่องน้ำธรรมชาติ (vegetated swales) ตามขอบถนนและลานดาดแข็งต่างๆให้เกิดการซึมซับน้ำ ได้อย่างเต็มที่

สิ่งที่จะต้องควรระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งในการใช้วัสดุ premeable pavers นั้นก็คือการดูแลรักษา ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องใหญ่ เช่นมีเศษวัสดุกรวดหินหรืออื่นๆ ที่อาจจะมาอุดตันและสะกัดกั้นช่องว่างทางซึมของน้ำ โดยทั่วไป เราสามารกใช้เครื่องดูดฝุ่นที่ใช้ในระบบอุตสาหกรรม (industrial vacuum) ให้ดูดสิ่งอุดตันดังกล่าวออกไปและควรดูแลอย่างเป็นประจำ เพื่อไม่ให้เกิดการสะสม และอาจจะเกิดเป็นสภาวะอุดตัน ทำให้เกิดการนองเอ่อและท่วมของน้ำ

แม้ว่าการดูแลรักษาเป็นหนึ่งในภาระ แต่เพื่อการรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดีคงไม่เกินกำลัง

รูปภาพ: ตัวอย่างระบบการซึมผ่านของน้ำ (Permeable Paving System)

Comments are closed.