Roof Skylight & Heat Insulation | หลังคา ช่องแสง และฉนวนต้านทานความร้อน

หลังคาเป็นองค์ประกอบส่วนที่อยู่เหนือสุดของสิ่งก่อสร้างและอาคารบ้านเรือน หลังคาถูกออกแบบหรือคิดค้นมาเพื่อปกป้องอาคารและสิ่งที่อยู่ภายในจากผลกระทบของสภาวะอากาศภายนอก ในประเทศไทยเรา หลังคามีหน้าที่หลักทั้งป้องกันน้ำจากฝน และป้องกันความร้อนจากแสงอาทิตย์ ลักษณะและรูปร่างของหลังคา มีด้วยกันหลากหลายแตกต่างกันตามแนวความคิดของผู้ออกแบบผู้อยู่อาศัย วัสดุ การก่อสร้าง และความทนทานต่อการใช้งาน

ในการออกแบบที่ต้องการให้มีแสง สาดส่องผ่านช่องแสงเข้ามาทางหลังคา หรือบางทีที่เราเรียกว่า skylight นั้น ไม่ได้เป็นการนำแสงผ่านเข้าอาคาร มาแต่อย่างเดียว แต่ยังนำเอาความร้อนผ่านตามเข้ามาด้วย ดังนั้นการกำหนดขนาด ของช่องแสงที่หลังคานั้น ต้องมีความระมัดระวังไม่ให้มีขนาดใหญ่เกินไปหรือไม่ได้ มีการป้องกันรังสีอาทิตย์ตรงอย่างเหมาะสม ซึ่งจะทำให้เกิดความร้อนสะสม และส่งผลกระทบต่อภาวะน่าสบาย ทั้งยังเป็นการเพิ่มภาระในการทำความเย็น ในกรณีที่มีการใช้เครื่องปรับอากาศ และไม่เป็นการประหยัดพลังงาน

ในการพิจารณาของขนาดช่องแสงหลังคาที่เหมาะสม ได้มีหลักการคร่าวๆดังนี้ การพิจารณาจากขนาดช่องแสงระนาบเดียวกับหลังคาควรมีพื้นที่ไม่เกิน 1% หรือ ขนาดของช่องแสงหลังคาในระนาบดิ่งมีพื้นที่ไม่เกิน 2% ของพื้นที่ใช้สอยใต้หลังคานอกเหนือไปจากขนาดของช่องแสง ที่มีส่วนทำในการกำหนดการนำความร้อน เข้าสู่ภายในอาคารแล้ว ฉนวนฝ้าเพดานใต้หลังคาก็มีส่วนในการป้องกันความร้อน จากหลังคาเข้าสู่อาคารเช่นกัน เพื่อการส่งเสริมการประหยัดพลังงาน โดยการออกแบบและเลือกใช้วัสดุฝ้าเพดานที่มีประสิทธิภาพการป้องกันความร้อนสูง โดยมีฉนวนกันความร้อนที่ฝ้าเพดานอย่างเหมาะสม  ในพระราชบัญญัติการส่งเสริม การอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 ได้มีการกำหนดการคำนวณเพื่อหา ค่าความต้านทานของความร้อนฝ้าเพดาน (R-Value) ในที่นี้มีหน่วยเป็น m2๐ C/W

มีตัวอย่างจากการศึกษาวิจัยและการประเมินอาคารประหยัดพลังงานและเป็นมิตร

ต่อสิ่งแวดล้อมนั้น ที่ได้กำหนดเกณฑ์การให้คะแนน โดยให้ค่าความต้านทาน ความร้อนรวมฉนวนฝ้าเพดานตั้งแต่ อย่างน้อย 1.3 m2๐ C/W ถึง 1.9 m2๐ C/W ถึงมากกว่า 3.9 m2๐ C/W เป็นต้น โดยมีการให้คะแนนจากน้อยไปหามากตามลำดับ โดยที่ตัวเลขค่าความต้านทานเหล่านี้ ก็เป็นการแสดงผลของความต้านทานความร้อน ตามความหนาของฉนวน ยิ่งเพิ่มให้มีความหนาของฉนวนมาก ก็ยิ่งป้องกันความร้อน ได้มาก(เป็นการเพิ่มค่า R-value) แต่ในความเป็นจริงยังมีเกณฑ์อื่นๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในรายละเอียดของชนิดวัสดุที่ต่างๆกันออกไปอีก ทั้งการเลือกวัสดุที่เป็นมิตรและไม่เป็นมิตรค่อสภาพแวดล้อม แต่ผลสุดท้ายก็คือ ต้องการให้เกิดภาวะน่าสบายภายในอาคาร การประหยัดพลังงาน และการถนุถนอมสภาพแวดล้อมให้ดีที่เกิดขึ้นนั่นเอง

หมายเหตุ:

ค่า R-value มีหน่วยเป็น m2๐ C/W สามารถหาได้จาก สัดส่วนระหว่างความหนา ของวัสดุ (thinkness) มีหน่วยเป็นเมตรต่อค่สัมประสิทธิ์การนำความร้อน (k) มีหน่วยเป็นวัตต์/เมตร.องศาเซลเซียส

รูปภาพที่ 1 : การให้มีช่องแสงผ่านมาจากหลังคา

รูปภาพที่ 2 : การให้มีช่องแสงผ่านมาจากหลังคา

รูปภาพที่ 3 : การติดตั้งฉนวนต้านความร้อนใต้หลังคา

Comments are closed.