Mirror Mirror (or Glass) | แก้วกระจกวิเศษ จงบอกข้าเถิด . . . ?

แก้วหรือกระจกเป็นวัสดุที่เราคุ้นเคยในชีวิตประจำวันและยังเป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติพิเศษ ที่มีลักษณะอยู่ตัวเป็นเนื้อเดียว มีพื้นผิวที่มีความลื่น มีความแกร่ง แต่แตกเปราะง่าย และมีรอยแตกละเอียดที่เฉียบคม มีอายุยืนนาน สามารถเป็นตัวนำแสงให้แสงผ่าน และที่สำคัญที่สุด แก้วเป็นวัสดุที่สามารถนำมาใช้งานใหม่(recycle)ได้อย่างไม่สิ้นสุด

เรามีความคุ้นเคยกับ แก้วและกระจกในชีวิตประจำวันอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น องค์ประกอบในงานสถาปัตยกรรม หรือเป็นวัสดุที่มีให้เห็น ในการใช้สอยอยู่ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นส่วนประกอบของประตูหน้าต่าง กระจกส่องหน้า หลอดไฟฟ้า หรือไม่ว่าจะเป็น ขวด แก้วน้ำ จานและชามในห้องครัว ในห้องอาหาร  เพราะความที่เป็นวัสดุที่มีความแพร่หลายและหลากหลายในการใช้งาน แก้วจึงถือเป็นหนึ่งในส่วนใหญ่ของสิ่งของวัสดุที่เสียหรือเหลือใช้จากบ้านเรือนและระบบอุตสาหกรรมที่มีปนะโยชน์อย่างมาก เพราะแก้วมีคุณสมบัติที่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ ทั้งในรูปแบบเดิมหรือแม้แต่ถูกหลอมไปเป็นสิ่งของใช้ในรูปแบบอื่นๆ

ขวดแก้วต่างๆที่เหลือจากการใช้งานที่ถือเป็นแหล่งทรัพยากรของเหลือแห่งใหญ่ นับรองจากกระดาษ จึงเป็นที่ียอมรับในตลาดผู้บริโภค และจึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจ ที่ทำไมเราจึงได้รับการปลูกฝังแกมบังคับให้แยกขยะ ขวดแก้ว พลาสติก และกระดาษออกจากกัน เพื่อเกิดการนำกลับมาใช้ใหม่ได้ง่ายขึ้น และถือเป็นการสนับสนุนระบบอุตสาหกรรมการผลิต recycled-glass ถือเป็นการช่วยรักษายืดอายุให้กับสิ่งแวดล้อม

เมื่อราว 2539 ได้มีนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านแก้วในคาลิฟอร์เนีย ผู้ทำงานวิจัยด้านปริญญาเอก (glass engineering/science) และเป็นผู้รัก สนับสนุนการรักษาสิ่งแวดล้อม ได้เห็นความงาม คุณค่าและเกิดความคิด ในการเอาเศษแก้วเหลือใช้มาผลิตเป็นวัสดุก่อสร้าง (Recycled Glass Surfaces – RGS)  Vetrazzo จึงเกิดขึ้น ซึ่งเป็นการนำมาใช้งานสำหรับพื้นผิวและ countertop ที่นับเป็นทางเลือกแทนการใช้แกรนิตในบ้านเรือนได้  และที่น่าสนใจ 85% ของวัสดุ Vetrazzo เกิดจากการนำเศษแก้วที่นำมาใช้ในการผลิต ที่เป็นเศษแก้วเหลือ จากกระจกหน้าต่าง จานชาม กระจกรถ หรือขวดแก้วจากห้องทดลอง แก้วจากไฟจราจร หรือเศษแก้วที่เหลือใช้จากที่ต่างๆ

มีตัวอย่างที่ไม่ต้องข้ามน้ำข้ามทะเลไปไกลถึงเมืองนอกนั้น  ที่จังหวัดศรีสะเกษ ของประเทศไทยเรานี่เอง ที่วัดป่ามหาเจดีย์แก้วหรือที่มีชื่อเล่นว่า วัดล้านขวด (Temple of Million Bottles) ที่มีการนำเอาขวดแก้วเหลือใช้ที่ได้รับ การบริจาคจากชาวบ้าน ตั้งแต่ พ.ศ.2527 มาตกแต่งมาเป็นส่วนประกอบ ของสิ่งก่อสร้างภายในวัด ที่มีความหลากตา  ต่างสีสรร โดยเฉพาะศาลาใหญ่ ศาลาฐานสโมมหาเจดีย์แก้ว  นับเป็นที่น่าภาคภูมิใจของเราอย่างหนึ่ง และจากนี้ไปคงไม่ต้องถามว่า แก้วกระจกวิเศษ จงบอกข้าเถิด ทำไมต้องให้แยกขวดแก้วออกจากขยะอื่นๆด้วย

(คำตอบ: ก็เพื่อเป็นการดูแลสิ่งแวดล้อมที่ดีของพวกเราอีกทางหนึ่งนั่นเอง)

รูปภาพที่ 1 & 2 : วัดล้านขวด หรือวัดป่ามหาเจดีย์แก้ว จังหวัดศรีสะเกษ

รูปภาพที่ 3 : ตัวอย่างวัสดุ Recylced Glass Surfaces (RGS) และการใช้งาน

Comments are closed.