Categories

Archive

Painting Tread | Trend ของสีทาบ้านหรืออาคาร ที่สกัดจากธรรมชาติ

การทาสีบ้านดูเหมือนจะไม่ใช่สิ่งที่เรานิยมทำกันบ่อยๆนักใจประเทศเราเมื่อเทียบกับชาติอื่นๆ และบ่อยครั้งที่เราจะเห็นอาคารบ้านเรือนของเรา ที่ถูกปล่อยให้สีจืดจางมีคราบของความเก่าแก่และแลดูสกปรก ไม่เหมาะกับวิสัยทัศน์ต่อบ้านเมือง นับเป็นมลภาวะอย่างหนึ่ง แต่สิ่งที่น่าสนใจนอกไปจากการทาสีทำให้สภาพแวดล้อมดูสดใสและ ไม่หม่นหมองนั้น การทาสีในปัจจุบันเราควรเลือกสีที่ไม่เป็นพิษเป็นภัย ต่อธรรมชาติหรือเลือกสีที่มีค่าLOW-VOCต่ำ (volatile organic compounds – ปริมาณสารประกอบอินทรีย์ที่ระเหยได้) และเป็นสีที่ไม่เป็นมลพิษต่ออากาศภายในบ้าน (หรือนอกบ้าน) ตัวอย่างที่จะยกมาในครั้งนี้เป็นtrendของสีที่เป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อม ตัวอย่างแรก Natural paintsเป็นสีที่ไม่ได้เกิดจากการสังเคราะห์ (สีสังเคราะห์) เป็นสีที่เกิดจากพรรณไม้ ตระกูลมะนาวส้ม หรือมะกรูด ผนวกกับส่วนผสมนองพืชพรรณอื่นๆ โปรตีนจากนมหรือดินเหนียว ชึ่งนับเป็นสารธรรมชาติที่ปราศจากการใช้สารกันบูดหรือวัตถุกันเสียต่างๆเจือปน ตัวอย่างถัดไป Milk paints สีน้ำนม หรือสีที่ไม่มีกลิ่นอย่างแท้ สกัดจากน้ำนมโปรตีน (protien casein) และสารจากมะนาว ที่ไม่มีตัวทำละลาย สารกันบูด วัตถุมีพิษสารจำกัดแมลงต่างๆ แต่บางทีอาจจะพบสารสังเคราะห์จำพวก Read more ›

10 Things About Air Condition | บัญญัติ 10 ประการเรื่องเครื่องปรับอากาศ

หน้าหนาวปีนี้หนาวกันไปได้กี่วันแล้วครับ โดยเฉพาะท่านผู้อ่านที่อยู่ในเมืองหลวง และเขตข้างเคียง แต่ผมได้ยินเสียงบ่นๆว่าเป็นหน้าหนาวที่ร้อนอีกแล้ว ถึงขนาดมีเพื่อนบางท่านตื่นมาตอนเช้า ต้องมาลุ้นให้มีอากาศเย็นๆ แต่จำต้องผิดหวังไป เพราะเป็นหน้าหนาวที่พวกเรายังต้องเปิดแอร์กันต่อไป (สำหรับท่านที่มีเครื่องปรับอากาศใช้นะครับ) ซึ่งมันก็ไม่ใช่สิ่งที่ผิดเสียทีเดียว แต่ต้องรู้จักรู้จักใช้มห้ถูกต้อวงเพื่อไม่เป็นการเปลืองพลังงานไฟฟ้าไปปล่าวๆ มีข้อบัญญัติอย่างไม่เป็นทางการ 10 ประการนี้ ที่จะขอแนะนำไว้เพื่อเราจะได้ รู้จักการใช้เคริ่องปรับอากาศได้อย่างถูกต้องและไม่เป็นการกินพลังงานที่สิ้นเปลือง โดยมีการสรุปไว้ดังต่อไปนี้ 1) ก่อนอื่นเลยลดการใช้ลงจากเดิมที่เคยใช้กันอยู่ จะถือเป็นการลดพลังงานไฟฟ้า 2) การเลือกใช้ขนาดที่เหมาะสมกับพื้นที่่ๆจะใช้ การเลือกมียี่ห้อเป็นที่รู้จัก ผ่านการรับรองการใช้พลังงานเบอร์ 5  3) ในการปรับปรุงและเตรียมตัวอาคารบ้านเรือนก่อนจะติดตั้งระบบปรับอากาศ การติดตั้วงฉนวนเหนือเพดานหรือหลังคาเพื่อลดการสงผานรังสีความร้อน การอุดรูรั่งต่างๆเพื่อไม่ให้อากาศภายนอกซึมเข้าสุู่อาคารบ้านเรือน 4) รู้และเข้าใจวิธิการติดตั้ง ตำแหน่งที่ตั้งของตัวเครื่องปรับอากาศ การติดตั้งเครื่องปรับอากาศที่ผิดที่ผิดวิธีจะเป็นการทำให้เกิดการสิ่นเปลืองพลังงาน 5) ไม่มีสิ่งของกีดขวางทางลมเข้าออกของแฟนคอยล์ยูนิต 6) ควรเปิดไฟ และเครื่องใช้ไฟฟ้าเท่าที่จะเป็นเท่านั้น 7) สถานที่จริงที่วางคอนเดนซิ่งยูนิิต Read more ›

Green Knowledge | ความรู้เรื่องสีเขียว รู้อย่างยั่งยืน

คอลัมน์บ้านเมืองสีเขียวเล็กๆแห่งนี้ ได้นำเสนอเรื่องราวและเกร็ดความรู้ที่เก่ียวกับการอยู่อาศัยอย่างเป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อมได้สักระยะหนึ่งแล้ว วันนี้ผู้เขียนขออนุญาตแนะนำผู้อ่าน ถึงกลวิธีในการสร้างเพิ่มพูนความรู้และ การปฏิบัติตัวให้มากๆขึ้นได้อยู่สม่ำเสมอ เกี่ยวกับความเป็นอยู่อย่างสีเขียวนี้ เพราะลำพังแต่ข้อมูลที่ผู้เขียนแนะนำมานี้ เป็นแค่เพียงส่วนเล็กน้อยอย่างมากๆ เมื่อเทียบกับโลกภายนอกและสิ่งที่เรา เผชิญชีวิตกันอยู่ทุกๆวัน จุดมุ่งหมายถัดมาก็คือ อยากให้ผู้อ่านมี “ภูมิดีิ” “ภูมิคุ้มกัน” ไม่โดนโฆษณา สิ่งชวนเชื่อหลอกเอาง่ายๆ หรือหลงตามสิ่งที่อ้างตัวว่าเป็นผลิตภัณฑ์ กรีน กรีนนั้น กรีนนี้ แต่แท้จริงก็เพื่อผลประโยชน์ทางการค้าอย่างของเขาข้างเดียว ที่ไม่ได้มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเท่าไหร่ เอาแต่ขายของมากๆไว้ก่อน แต่ถ้าสิ่งที่เราซื้อหรือได้บริการมาเป็นประโยชนและเป็นของดีอย่างแท้์จริง เราก็ตอบแทนให้คุ้มเช่นกัน ถือเป็นการเพิ่มพลังใจแก่กันและกันในสังคม และโลกมันเปลี่ยนไปแล้วและเราอาศัยอยู่ในศตวรรษที่ 21 นี้ การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการพึ่งพาตัวเองให้มีความรู้อยู่สม่ำเสมอ นับเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากที่สุด ไม่แพ้กับการได้เรียนในสถาบันหรือโรงเรียนต่างๆ ความรู้ก็คือความรู้มีอยู่ให้ค้นหา เราไม่จำต้องรอการคาดหวังจากรัฐบาล หรือหน่วยงานใดๆมาคอยให้ความรู้เรา เพราะเวลาของเราก็มีค่าเช่นกัน ชีวิตและเวลาของเรา มีค่ามากกว่าการรอคอย Read more ›

3 Ways the Brain Creates Meaning by Tom Wujec : นักออกแบบก็มีสมองเช่นกัน

http://www.ted.com/talks/tom_wujec_on_3_ways_the_brain_creates_meaning.html   วีดีโอ 6:29 นาที ของคุณ Tom Wujec จาก AutoDesk มาเล่าให้ฟังเกี่ยวกับสามส่วนของมันสมองของมนุษย์ ที่ช่วยให้เราเข้าใจความหมายของ คำ ภาพ ความรู้สึก และการเชื่อมต่อเข้ากันและกันได้อย่างมีความหมาย โดยแต่ละส่วนทำหน้าที่ดังนี้: 1) making ideas clear by visualizing 2) making them interactive และ 3) making them persistent

zero energy approach | อาคารพลังงานเป็นศูนย์

เคยนึกดูมั้ยครับว่าชีวิตประจำวันของมนุษย์ในปัจจุบันนี้ ที่มีชีวิตทันสมัยอย่างมาก เป็นยุคที่ คุยมือถือไปขับรถไป (ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่สมควรกระทำอย่างยิ่ง)  หรือการมีที่ทางให้ผึ่งแอร์ในสถานที่ต่างๆ ตั้งแต่ห้องนอนไปถึงศูนย์การค้าเดินเล่น การที่มีน้ำอุ่นน้ำร้อนให้ใช้ มีคอมพิวเตอร์ไว้ใช้สื่อสารหรือใช้บันเทิง เทคโนโลยีทันสมัยใหม่เหล่านี้ ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นและปรนเปรอ พวกเรามากมาย จริงๆก็อาจจะช่วยทำให้เราขยันน้อยลงนั่นเอง โดยอ้างว่ามันเป็นคุณภาพชีวิตที่ดี อันนี้ก็ต้องรองชั่งน้ำหนักดูกันเองนะครับ เพราะสิ่งเหล่านี้เอง ทำให้เราถูกแวดล้อมด้วยความอำนวยสะดวกจากเทคโนโลยี ซึ่งมันล้วนแต่ต้องการพลังงานในการผลักดันให้เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การใช้พลังงานไฟฟ้า พลังงานความร้อน หรือพลังงานอื่นๆ แล้วจะให้เราจะละเลิกไม่ใช้พลังงานหรือสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้ได้อย่างไร ถึงแม้ว่าเรามีหนทาง ในการเอาพลังงานฟรีๆ จากธรรมชาติมาใช้หมุนเวียน ในบทความก่อนๆ แต่เราจะทำอย่างให้พลังงานที่ว่าเป็นศูนย์ (Zero Energy) มันมีวิธีครับ ด้วยหลักคณิตศาสตร์ง่ายๆ   1)  พลังงานที่ต้องใช้ – พลังงานที่(ไม่)ต้่องใช้ = 0 หลักการทำให้พลังงานเป็นศูนย์อย่างแรกก็คืออย่าไปใช้มัน Read more ›

Renewal Energy (Last) | พลังงานหมุนเวียน ภาคสุดท้าย

วันนี้เราจะมาดูพลังงานหมุนเวียนที่เหลือ คือพลังงานจากชีวมวล พลังงานจากน้ำ และพลังงานจากขยะและของเสียต่างๆ พลังงานจากชีวมวล พลังงานชีวมวลถือเป็นสารอินทรีย์ที่ได้มาจากพลังงานธรรมชาติหมุนเวียน และถือเป็นแหล่งเก็บกักพลังงานที่ดีแหล่งหนึ่งที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต ปรกติแล้ว เป็นสารอินทรีย์ที่ได้มาจากเศษหลงเหลือทางการเกษตร ไม่ว่าจะจากสวนนาไร่ หรืแเศษไม้ที่ล่วงหล่นในป่า เช่นชานอ้อย เศษไม้ แกลบ กากมันสำปะหลัง ซังข้าวโพด การปาล์ม กากมะพร้าวและกะลา เป็นต้น   พลังงานชีวมวลถูกนำมาพัฒนาขึ้นมาเพื่ิอการผลิตพลังงานไฟฟ้าหรือการใช้ทำความร้อน นอกไปจากแหล่งที่ได้มาจากเศษต้นไม้ในป่าจากต้นไม้ที่ตายแล้วโดยสารชีวมวลยังรวมไปถึงที่ได้มาจากสารอินทรีย์ที่มาสัตว์อีกด้วย และโดยรวมแล้วสารชีวมวลทั้งหลาย จะต้องสามารถสลายไปกับธรรมชาติได้ และจะต้องไม่รวมไปถึงสารจากธรรมชาติ ที่ผลิตจากถ่านหินหรือการขุดเจาะน้ำมัน เผาผลาญต่างๆ พลังงานจากน้ำ นำ้เป็นสิ่งที่คนไทยรู้จักกันดี และเป็นหนึ่งในรากเหง้าของการพัฒนาอารยะธรรมของ สยามประเทศไทยเรา อีกทั้งน้ำเป็นสิ่งที่ปรกคลุมพื้นผิวโลกเรามากถึง 70% นอกไปจากการน้ำมาใช้ในการดำรงชีวิต เพื่อปากท้องการเกษตรการชลประทานแล้ว น้ำยังสามารถถูกดัดแปลงมาผลิตเป็นผลังงานไฟฟ้า ดังตัวอย่างของเขื่อน (Hydroelectric Energy) หรือการใช้กังหันน้ำ Read more ›

Renewal Energy 2 | ทำความรู้จักกับพลังงานทดแทน พลังงานหมุนเวียน 2

เมื่อครั้งที่แล้วเราได้เรียนรู้ถึงพลังงานหมุนเวียนที่ได้จากแสงอาทิตย์และการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้แล้ว สำหรับวันนี้เรามาทำความรู้จักกับพลังงานที่ได้จากลม และพลังงานจากใต้พื้นดินผืนแผ่นพสุธาของเราสักนิดดีกว่าครับ พลังงานจากลม พลังงานลมเป็นพลังงานธรรมชาติที่เกิดจากสภาพความแตกต่างของอากาศหรืออุณหภูมิ ระหว่าง 2 ที่ และถือว่าเป็นพลังงานที่มีความสะอาดบริสุทธิ์และสามารถนำมาใช้ได้ อย่างไม่มีวันหมดสิ้น พลังงานที่ได้มาจากลมนี้นั้นได้รับความสนใจและถูกนำมาพัฒนา ให้เกิดประโยชน์อย่างแพร่หลายเช่นในการใช้กังหันลมโดยกังหันลมนี้นั้นเป็นเครื่องมือ อุปกรณ์ที่สามารถเปลี่ยนแปลงพลังงานลมให้สามารถมาเป็นประโยชน์ได้หลากหลาย อย่างเช่นที่เราเห็นกันอยู่ทั่วๆไปในการใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าหรือใช้ในการขับสูบน้ำ โดยในหลักทางวิทยาศาสตร์นั้น พลังงานลมเกิดจากพลังงานดวงอาทิตย์ตกกระทบ สู่พื้นผิวของโลกทำให้เกิดอากาศร้อนและลอยตัวสูงขึ้น อากาศจากบริเวณอื่น ที่มีความเย็นและความหนาแน่นมากกว่า จึงเข้ามาแทนที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว ของอากาศเหล่านี้และเป็นต้นกำเนิดของลม ซึ่งมีอิทธิพลต่อสภาพภูมิอากาศ ในหลายแห่งภายในประเทศไทยเราอยา่งมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางแนวฝั่งทะเล อันดามันและอ่าวไทย ที่มีพลังงานลมที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบ ของพลังงานเครื่องกล เช่นการใช้เป็นกังหันสูบน้ำเพื่อผลิตไฟไฟ้า โดยปรกติทั่วไปนั้นศักยภาพของพลังงานลมจะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ จะต้องมีกำลังและความเร็วอยู่ที่ 3 ถึง 5 เมตรต่อวินาที และมีความเข้มของพลังงานลมที่ได้มีการประเมินไว้อยู่ที่ 3-5 เมตรต่อวินาที และความเข้มค้นของพลังงานลมที่ประเมินไว้อยู่ระหว่าง 20-50 วัตต์ต่อตารางเมตร Read more ›

Renewal Energy | ทำความรู้จักกับพลังงานทดแทน พลังงานหมุนเวียน 

บทความเมื่อคราวที่แล้วได้มีการกล่าวอ้างถึงพลังงานทดแทนที่เรียกว่า “Renewable Energy” บางท่านอาจสงสัยว่ามันคืออะไรและต่างไปจากพลังงาน ที่เราๆเคยรู้จักอย่างไร เพราะโดยทั่วไปเราจะรู้จักพลังงานที่ผลิตมาจาก น้ำมันเชื้อเพลิงหรือถ่านหิน ซึ่งถือได้ว่าอาจเรียกว่าเป็นพลังงานสิ้นเปลือง ที่มีวันสูญเสียหมดไปได้ ในขณะที่พลังงานทดแทนและพลังงานหมึนเวียนที่เกริ่นมานั้น เป็นพลังงานสามารถผลิตได้จากแหล่งที่มีอยู่ทั่วไปตามธรรมชาติหรือสามารถกลับคืน ไปสู่ธรรมชาติได้ และที่สำคัญการกลับมาหมุนเวียนสามารถทำได้อย่างไม่มีวันหมดสิ้น แหล่งที่มาของพลังงานทดแทนนี้ได้แก่ แสงอาทิตย์ ลม พื้นดิน น้ำ พืช หรือแม้แต่ขยะของเสียจากอาคารบ้านเรือน ทำไมการรู้จักพลังงานทดแทนนั้นเป็นสิ่งสำคัญ? เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่า พลังงานในทุกวันนี้เป็นปัญหาใหญ่ของโลกและส่งผลโดยตรงกับพวกเรามากขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าพฤติกรรมของการเป็นอยู่ของพวกเราทีมีการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลืองที่ยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ในเร็ววันนี้ (เป็นสิ่งที่ต้องร่วมมือกันแก้ไข ให้ได้อย่างรวดเร็ว) ดังนั้นหน่วยงานทั้งภาครัฐ วิสาหกิจ เอกชน และนักวิชาการ ทั้งในประเทศเราและทั่วโลก ต่างก็ได้มีการศึกษาวิจัย ทดลอง และสำรวจ อย่างหนักเพื่อการนำเทคโนโลยที่สามารถผลิตมาใช้เป็นพลังงานทดแทน ที่จะนำมาตอบสนองความต้องการและกิจกรรมของเราโดยที่จะไม่ส่งผลกระทบต่อ ธรรมชาติและภาวะโลกร้อน จากแหล่งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดังที่ได้กล่าวข้างต้น พลังงานทดแทนนี้ จักจำแนกออกได้ในแต่และประเภทคือ Read more ›

Green Indoor Environment | คุณภาพของสภาวะแวดล้อมภายในอาคารบ้านเรือน

หนึ่งในการอยู่อย่างบ้านเมืองสีเขียวก็คือการรู้จักและดูแลสภาวะแวดล้อม ภายในอาคารบ้านเรือน ทั้งนี้เพราะอาคารและสิ่งก่อสร้างส่งผลต่อคุณภาพของ สภาวะแวดล้อมภายในอาคารที่เราใช้สอยและมีผลโดยตรงต่อสุขภาพของเรา มีการศึกษาและวิจัยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ได้มีการสรุปวิเคราะห์ว่า อากาศภายในอาคารและบ้านเรือนมีโอกาสที่มีความเป็นมลพิษมากกว่า อากาศภายนอก อีกทั้งเราผู้ใช้สอยโดยทั่วไปใช้เวลาอยู่ในอาคารมากถึง 90% เนื่องจากการใช้เวลาอย่างมากภายในอาคารนี้จึงมีส่วนสำคัญ ที่เราสามารถรับผลกระทบโดยตรงจากอากาศเป็นพิษภายที่อยู่ในอาคารโดยที่เราไม่รู้ตัว สิ่งที่เราควรจะรู้จักก็คือ ความส่องสว่างและการควบคุมความส่องสว่างภายในอาคาร ปริมาณการระบายอากาศภายในอาคาร สภาวะน่าสบาย ที่อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์มีความเหมาะสม การลดผลกระทบของมลภาวะจากความร้อนหรือมลพิษที่สามารถเข้าสู่อาคาร การลดผลกระทบของมลภาวะจากแก็ซพิษ สารเคมี สารทำความสะอาดที่มีอยู่ภายในบ้าน ประสิทธิภาพของการกรองอากาศ การเลือกใช้วัสดุภายในอาคารที่ไม่ก่อมลพิษหรือปลดปล่อยสารพิษ จากข้อมูลข้างต้นจะสังเกตได้ว่าสิ่งที่เราควรคำนึงอย่างมากก็คืออิทธิพลของคุณภาพของอากาศและการมีแสงสว่างที่เหมาะสม แต่พอเราพูดถึงสภาวะอากาศดู หมือนจะเป็นสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้ แตะต้องไม่ได้ แต่อันที่จริง เราสามารถป้องกันและเรียนรู้ในการควบคุมมลพิษได้อย่างดี และอย่างน้อยๆ เราควรจะสามารถป้องกันไม่ให้เข้ามาในส่วนที่เราพักอาศัย ส่วนใช้สอยต่างๆ หรือเข้ามาในที่ๆเราใช้เวลาส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน ซึ่งมลภาวะเหล่านี้นั้น สามารถมักจะมาได้ในรูปแบบต่างๆ เราต้องเริ่มต้นป้องกันตั่งแต่ การเลือกสถานที่ตั้ง การวางผังของอาคารบ้านเรือน การหันทิศทางไปในทางที่มีอากาศระบายที่ดี การเลือกใช้วัสดุก่อสร้าง Read more ›

Measuring Green Buildging | ระดับความเป็นสีเขียวของอาคารวัดกันได้อย่างไร

จากที่เราได้เรียนรู้ส่วนต่างๆของบ้านเพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถ บรรเทาความสงสัยสิ่งต่างๆภายใยบ้านไปได้บ้าง วันนี้เราจะมาทำความรู้จักเกี่ยวกับ เกณฑ์การวัดหรือการประเมิณความเป็นสีเขียว หรือที่นำไปสู่ความเป็นสีเขียว ของอาคารและบ้านเรือนของเรา ว่าทำได้อย่างไรบ้าง และมีบ้านเมืองไหน บ้างที่มีเกณฑ์ การวัดเหล่านี้บ้าง เพราะเป็นที่รู้กันดีอย่างกว้างขวาง ว่าการนำไปสู่ความเป็นบ้านเมืองสีเขียว มีกันให้เห็นกันทั่วๆไป แทบจะทั้งโลกเราในทุกวันนี้ มาตรฐานเพื่อเป็นการวัดระดับความเป็นสีเขียวนั้น เกิดขึ้นในต่างประเทศหลายๆทศวรรษก่อน เพราะความสงสัยและความกังวลใน ภาวะโลกร้อนและทรัพยากรธรรมชาติที่เริ่มสูญหายไป และมีผลต่อสภาพแวดล้อม ที่มีผลกับสิ่งมีชีวิตบนโลกมนุษย์นี้ (ที่ไม่ใช่เฉพาะมนุษย์เรา) อาจจะเรียกได้ว่าความกังวลเริ่มนั้น ส่งผลให้ชนชาวตะวันตกเริ่มเกิดความตื่นตัว และเริ่มสร้างกระแสให้เห็นถึงผลกระทบต่างๆ (โดยเฉพาะระบบปฏิวัติอุตสาหกรรม ที่ส่งผลกระทบต่สภาพแวดล้อมอย่างมาก) จึงเกิดองค์กรต่างๆมากมายที่ตั้งขึ้นเพื่อ ช่วยกันคิดถึงสาเหตุ และการแก้ไข (ที่คาดว่าน่าจะช่วยได้) หรือการให้รางวัลสนับสนุน ประมาณปีพุทธศักราช 2533 (คศ 1990) องค์กรในสหราชอาณาจักรอังกฤษ (BRE-Building Research Establishment) ได้สร้างมาตรฐานการวัดความยั่งยืนของอาคาร(หรือที่เรียกว่าการประเมิณอาคาร)  Read more ›

Rainwater Harvesting/Utilizing | การกักเก็บและการใช้น้ำฝน

น้ำฝน ถือว่าเป็นหนึ่งในทรัพยากรที่ได้มาจากธรรมชาติอย่างไม่ต้องเสียสตางค์ และก็เป็นที่รู้กันดีว่า ประเทศไทยเราตั้งอยู่ในเขตที่มีฝนตกชุกและมีฝนตกหนัก อยู่หลายๆเดือนในแต่ละปี สำหรับคนเมืองผู้คนจะเกิดอาการปะปน ที่ทั้งเป็นมิตร และไม่เป็นมิตรกับการตกของฝน บางครั้งก็เราจะรู้สึกชื่นชอบเพราะทำให้เกิด ความชุ่มชื่นในช่วงที่มีอากาศร้อนจัดติดกันนานๆ ส่วนบางครั้งก็อาจจะเกิด การเบื่อหน่ายเพราะการกักขัง เกิดน้ำท่วม รถติด หรือเหตุผลคนเมืองอื่นๆ  แต่ในทางกลับกันในพื้นที่ ที่มีความต้องการใช้น้ำฝนจากธรรมชาติอย่างมาก  ที่บ่อยครั้งกลับไม่มีฝนตกลงมาให้ได้ใช้่อย่างต้องการ การกักเก็บน้ำฝนเพื่อไว้ใช้ ไม่ใช่เป็นเรื่องที่น่าแปลกใหม่อะไรสำหรับคนไทยเรา เรารู้จักการกักเก็บไว้ในเพื่อไว้ใช้มาตั้งแต่อดีต ที่ผ่านหลังคามาสู่ทางรองน้ำ หรือรางน้ำมาสู่ ตุ่ม แทงค์น้ำ หรือไม่ว่าจะเป็นการกักเก็บในระบบที่ใหญ่ขึ้นไป การกักเก็บเพื่อใช้ในการชลประทาน การสร้างเขื่อน ฝาย อ่างเก็บน้ำ และแม้แต่การกักเก็บน้ำฝนในสระเก็บน้ำเพื่อการเกษตร ตามทฤษฏีใหม่ หรือการกักเก็บน้ำฝนไว้เพื่อประโยชน์อื่นๆ สำหรับในส่วนของบ้านพักอาศัย อาคารชุดพักอาศัย หรือ ตึกสูงต่างๆ การให้ความคำนึงเรื่องการเก็บน้ำฝนดูจะลดน้อยลงไป โดยเฉพาะในช่วงที่ผ่านมา  อาจจะจะเป็นเพราะว่าเราไม่รู้สึก Read more ›

Lighting System for Energy Sufficiency | ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ช่วยประหยัดพลังงาน 

การใช้พลังงานเพื่อผลิตระบบไฟฟ้าให้แสงสว่างเพื่อกิจกรรมการใช้งานต่างๆ และเพื่อความปลอดภัยในอาคารบ้านพักอาศัยเสมือนเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และนับเป็นแหล่งการใช้พลังงานที่ต้องสูญเสียเป็นอย่างมาก การที่บ้านพักอาศัยได้รับให้มีการออกแบบโดยให้ใช้แหล่งกิจกรรม ส่วนใช้สอยเพื่อภาระกิจต่างๆ (โดยเฉพาะสำหรับตอนกลางวัน) อยู่ติดกับหรืออยู่ ใกล้กับช่องแสงที่สามารถใช้แสงจากธรรมชาติผ่านมาให้รับใช้โดยตรง โดยไม่ต้องมีการเปิดไฟช่วย นับเป็นการวางแผนที่มีผลประโยชน์โดยตรง และเป็นมิตรต่อธรรมชาติ และเพื่อเป็นการให้เกิดประโยชน์ต่อการวางแผน ในการออกแบบนั้น การเลือกวางเฟอร์นิเจอร์ ก็ไม่ควรบดบังหรือกีดขวาง การใช้ประโยชน์ของแสงนั้นๆ แต่อย่างไรก็ตาม ดังที่กล่าวตอนต้นการใช้ระบบไฟฟ้าเพื่อแสงสว่างแม้จะเป็นสิ่ง ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เราสามารถลดภาระการใช้พลังงานเพื่อผลิตแสงสว่าง ได้หลายทาง จากการศึกษาวิจัยในคู่มือแบบประเมินอาคารประหยัดพลังงานและ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีคำแนะนำการเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างที่มี ประสิทธิภาพสูงสำหรับบ้านพักอาศัย และหนึ่งในตัวอย่างก็คือ   การแนะนำให้มีการใช้บัลลาสต์ประสิทธิภาพสูง (บัลลาสต์ประหยัดไฟ)  ที่มีค่าความสูญเสียกำลังไฟฟ้า ในบัลลาสต์ดังกล่าวไม่เกิน 6 วัตต์ สำหรับดวงโคมที่ใช้หลอดไฟฟ้า ฟลูออเรสเซนต์ทั้งหมด (เมื่อเปรียบเทียบกับบัลลาสต์ธรรมดา ที่กินไฟประมาณ 10-12 วัตต์) อีกทั้งบัลลาสต์ประหยัดไฟนี้นั้น Read more ›

Air Leaking | การป้องกันการรั่วซึมของอากาศ ตามแนวประตูและหน้าต่าง 

หนึ่งในปัญหาการของการสูญเสียพลังงาน โดยเฉพาะพลังงานกระแสไฟฟ้า ที่สูญปล่าว จากการนำไปผลิตในระบบปรับอากาศในอาคารสถานที่ ห้องต่างๆ ที่มีสาเหตุ ของการรั่วซึมและรั่วไหลของอากาศจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง ไม่ว่าการรั่วซึมนั้น จะมากหรือน้อย ก็คือการสูญเสีย นอกจากอากาศและพลังงานที่ผลิตผ่าน เครื่องปรับอากาศจะต้องสูญเสียออกไปแล้ว การใช้ไฟฟ้าที่เสียไป ก็คือคุณค่าเงินทองที่เสียไปโดยปล่าวประโยชน์เช่นกัน เราคงเคยจะได้ยินคนที่อยู่อาศัยภายในบ้านเดียวกับเรา ที่คอยเตือนหรือแม้แต่ตะโกนไล่หลังให้เราปิดประตูหน้าต่างให้แน่นหนา ในเวลาใช้เครื่องปรับอากาศ เพื่อให้การทำงานของเครื่องปรับอากาศมีประสิทธิภาพ และเกิดความเย็นภายในห้องเร็วขึ้น โดยไม่สูญเสียอากาศไหลออกไปสู่ภายนอก แต่อีกสาเหตุที่อากาศไหลรั่วซึมจากบริเวณหนึ่งไปสู่อีกบริเวณหนึ่ง ซึ่งเราสามารถตรวจสอบได้อย่างง่ายๆที่บริเวณประตูและหน้าต่าง โดยเฉพาะบริเวณ ที่กรอบบานและรอยต่อต่างๆ ถ้าผู้ออกแบบได้มีการออกแบบการใช้ประตูหน้าต่าง ที่มีวัสดุวงกบและบานกรอบที่มีรอยต่หน่าแน่นและมีรอยต่อไม่มาก จะทำให้อัตราการ เสี่ยงต่อการรั่วซึมมีต่ำ ซึ่งเป็นการลดการพาความร้อนและความชื้น จากบริเวณภายนอกเข้าสู่พื้นที่ปรับอากาศ และจะช่วยส่งผลในการลดภาระ การทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศลง ถ้าเราพบว่าในรอยต่อของบานกรอบประตูหรือหน้าต่าง สามารถปล่อยให้ อากาศรั่วซึมไหลออกมาได้ ควรจะได้รับการซ่อมแซมโดยเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการอุดรอยรั่วซึมตามรอยต่อรอยร้าวหรือราวแตกต่างๆ แต่ถ้าประตู และหน้าต่าง ที่มีอายุการใช้งานมานานอย่างมากอาจจะมีอาการชำรุดสึกหรอ Read more ›

Gifts | ให้การประหยัดพลังงาน เป็นของขวัญปีใหม่ 

วาระสิ้นสุดแห่งปีคืบคลานกระชั้นชิดใกล้เข้ามา ในทุกๆปีเรามักจะมีการแลกของขวัญ หรือการให้ของขวัญเป็นกิจกรรมแบ่งปันความสุขประจำปี และในปีนี้ถ้าการแลกหรือการให้ของขวัญที่เราให้ผู้รับได้เกิดประโยชน์สองต่อ ที่นอกเหนือไปจากสิ่งของที่ได้รับแล้วยังเกิดประโยชน์ในการประหยัดเงินในภาวะ เศรษฐกิจฝืดเคืองและการประหยัดพลังงานเป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม น่าจะเป็นความคิดที่ไม่เลวในการให้และการเริ่มต้นแห่งปีที่ดี กติกาการให้ในที่นี้ ผู้เขียนขอให้รวมไปถึงการให้ ที่เป็นการให้แก่ตัวเองด้วย แล้วทีนี้มีสิ่งของใดๆบ้าง ที่เราสามารถให้แล้วทำเกิดประโยชน์ต่อผู้รับถึงสองต่อ ลองเริ่มจากเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นอย่างแรก  สามารถเลือกให้สินค้าที่มีการรับรอง และมีการติดฉลากประหยัดพลังงาน กินไฟน้อย ประหยัดเงินแก่ผู้ใช้ อย่างเช่นการเลือกซื้อทีวีเครื่องใหม่ให้ลูกหลานเพื่อนฝูง ที่บ้านหรือการใช้ส่วนตัว ลองเลือกเฟ้นที่เป็น LCD (liquid crytal display) นอกเหนือไปจากคุณภาพภาพที่ดีแล้ว LCD ทีวีกินไฟน้อยกว่า Plasmaทีวีเต็มๆถึง 3 เท่า ถ้าการให้LCD ทีวีดูจะเกินงบประมาณ ลองแนวคิดต่อมา ในการเลือกให้เครื่องควบคุมการใช้ไฟฟ้าที่เรียกว่า electricity monitor หรือ electricity control ก็จะช่วยควบคุมพฤติกรรมการใช้ไฟของผู้ใช้ได้ดี Read more ›

Hardscape | พื้นดาดแข็งในเขตบริเวณบ้าน เป็นพื้นที่น้ำซึมผ่านได้

ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนชื้น มีฝนตกชุก มีน้ำไหลนองให้เห็นให้เดินย่ำ ทั้งอย่างตั้งใจหรือไม่ตั้งใจอยู่ทั่วไป ในแต่ละปีประเทศไทยของเรามีฝนตกเฉลี่ยอยู่ที่ ประมาณ 1400-2500 มิลลิเมตรต่อปี ในพื้นที่ที่เป็นธรรมชาตินั้น ปริมาณน้ำฝนกว่า 50% จะสามารถซึมผ่านลงสู่ชั้นใต้ดินได้ มีแค่เพียง 10% ที่กลายป็นน้ำไหลนอง  แต่ในทางกลับกันเมื่อพื้นที่ธรรมชาติถูกเปลี่ยนแปลงเป็นพื้นที่เมือง และเป็นพื้นดาดแข็ง (Hardscape) ดังตัวอย่างเช่น ถนน ลานจอดรถ ลานอเนกประสงค์ ทางเดิน คอร์ทกีฬา ฯลฯ ปริมาณน้ำที่เคยซึมผ่านลงดินเพื่อสะสมเป็นน้ำใต้ดินก็จะกลาย เป็นน้ำไหลนอง การที่มีปริมาณน้ำไหลนองสูง จะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำท่วมขัง และเกิดมลภาวะแก่แหล่งน้ำธรรมชาติ รวมทั้งเกิดตะกอนทับถมในแม่น้ำลำคลอง อันจะส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม และระบบนิเวศน์ ในการศึกษาของ Center for Watershed Protection ของสหรัฐอเมริกาพบว่า ถ้าหากมีการใช้วัสดุปูพื้นผิวที่น้ำซึมผ่านไม่ได้ Read more ›

Light Me Up | แสง แสงสว่างและการใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด

แสงสว่างเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินชีวิตที่แทบจะขาดไม่ได้ เราได้แสงสว่างที่มาจากธรรมชาติในวันหนึ่งๆถึงกว่าครึ่งวันและเป็นสิ่งที่มนุษย์เรา ได้มาฟรีๆโดยไม่เสียสตางค์ ฉะนั้นเราควรจะใช้ประโยชน์จากมันให้มากที่สุด และการที่นำแสงธรรมชาติมาช่วยอำนวยความสะดวกในการส่องสว่าง ในเวลากลางวันนั้นนับเป็นการประหยัดการใช้พลังงานไฟฟ้าทางตรง อย่างไม่ต้องคิดมาก แต่เนื่องจากเราไม่สามารถนำแสงจากธรรมชาติ มาใช้ได้ตลอดเวลาโดยเฉพาะในช่วงเวลาเช้ามืดหรือเวลากลางคืน เราจึงต้องพึ่งแสงสว่างเทียมจากหลอดไฟ การวางแผนการดำเนินชีวิตให้เข้ากับเวลา และความต้องการ การใช้แสงสว่างจึงนับเป็นส่วนสำคัญในการช่วยประหยัดพลังงาน เพราะการเผาผลาญพลังงานของทั้งในอาคารพักอาศัยหรืออาคารชุดคอนโดมิเนียม ก็คือการใช้พลังงานผลิตเพื่อมาใช้ในระบบไฟฟ้าแสงสว่างเพื่อการดำรงชีพนั่นเอง วิธีการประหยัดไฟและการใช้สว่างมีได้หลากหลายวิธี โดยเฉพาะตัวอย่างง่ายๆ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเช่น ตัวอย่างที่หนึ่ง การไม่เปิดไฟในบริเวณ ใกล้หน้าต่าง ในตอนกลางวัน หรือในบริเวณที่มีแสงสว่างส่องถึงและเพียงพอ ต่อการใช้งาน วิธีนี้ถือเป็นการให้แสงธรรมชาติทำงานด้วยตัวมันเองให้มากที่สุด ตัวอย่างที่สอง การปิดไฟทุกครั้งหลังจากการใช้งานหรือเมื่อออกจากห้อง หรือสถานที่ ที่ไม่จำเป็นต้องมีแสงสว่างคงค้างไว้และไม่มีการใช้งาน ตัวอย่างที่สาม แทนที่เราจะเปิดใช้ไฟให้สว่างไปทั่วทั้งบริเวณห้องเพื่อการทำงานบางอย่าง เราอาจจะเลี่ยงเปิดไฟส่องสว่างเฉพาะที่เท่าที่จำเป็นสำหรับการใช้งานจริงๆ อย่างเช่นการเปิดไฟที่หัวเตียงเพื่ออ่านหนังสือ แทนการเปิดไฟทั่วทั้งห้อง หรือการทำงานเฉพาะที่ ก็เปิดไฟเฉพาะที่เท่าที่จำเป็นเท่านั้น และตัวอย่างที่สี่ การทำความสะอาดหลอดไฟและดวงโคมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการเพิ่ม ประสิทธิภาพในการทำงานของหลอดไฟอย่างสูงสุด Read more ›

About Water Closet | การเลือกใช้ชนิดของอุปกรณ์ประหยัดน้ำ ภาคส้วม

เมื่อคราวที่แล้วเราเรียนรู้การเลือกใช้อุปกรณ์ประหยัดน้ำเกี่ยวกับ ก๊อกน้ำ และฝักบัวไปแล้ว แต่ก็ยังมีสุขภัณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องกับน้ำและชีวิตความเป็นอยู่ ประจำวันของพวกเราอีกที่เรียกว่า ส้วม ที่จะขออนุญาติกล่าวถึงในครั้งนี้ เพราะว่าเราก็สามารถเลือกใช้ส้วม ในแบบที่ช่วยประหยัดน้ำได้เช่นกัน อย่างที่เราทราบกันดีว่า ส้วม เป็นอีกสิ่งจำเป็นสำหรับเราทุกคนในชีวิต การใช้ส้วมก็เพื่อประโยชน์ในการแบ่งเบาภาระและการชำระล้างทำความสะอาด และโดยทั่วไปโถส้วมหรือโถสุขภัณฑ์ที่เราใช้นั้น จะต้องใช้น้ำประมาณ 13 ลิตร ต่อการชักโครก 1 ครั้งเพื่อรักษาความสะอาด แต่ในปัจจุบันมีการทดลอง และค้นพบว่าการทำความสะอาดนี้ โดยปรกติสามารถใช้น้ำเพียงแค่ 6 ลิตร ก็เพียงพอ ซึ่งจะเป็นการประหยัดการใช้น้ำไปกว่าครึ่ง และเป็นการลด การใช้น้ำประปา การประหยัดพลังงานไฟฟ้าที่รัฐใช้ในการสูบน้ำ รวมถึงลดค่าใช้จ่ายในการเก็บรวบรวมและบำบัดน้ำโสโครกอีกด้วย จากข้อมูลอ้างอิงโดยสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยพบว่า ทุกวันนี้คนในกรุงเทพมหานครเรา ใช้น้ำเฉลี่ยประมาณ 320-240 ลิตรต่อคนต่อวัน ถ้าการใช้โถส้วมนั้น ใช้น้ำ 13 ลิตรต่อการกดชักโครกหนึ่งครั้ง Read more ›

About Water Fittings | การเลือกใช้ชนิดของอุปกรณ์ประหยัดน้ำ ภาคแรก

น้ำ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเราทุกคนในชีวิตประจำวันไม่ว่าเราจะใช้เพื่อประโยชน์ ในการบริโภค หรือเพื่อประโยชน์ในการชำระล้างและทำความสะอาด แต่ทราบหรือไม่ว่า มีประชากรโลกถึง 1 ใน 5 ที่ไม่มีน้ำสะอาดสำหรับดื่มกิน และจำนวน 2 ใน 5 ไม่มีน้ำไว้ใช้เพื่อการสุขอนามัยและการใช้ทำความสะอาดต่างๆ น้ำนั้นไม่ว่าจะได้จากทั้งแหล่งธรรมชาติ สายธาร น้ำฝน หรือน้ำที่ผลิตจากหน่วยงาน ของรัฐเพื่อสาธารณะประโยชน์เช่นน้ำประปา และน้ำประปาที่ถูกผลิตออกมานี้ นับเป็นน้ำที่สะอาดมีคุณภาพและสามารถใช้เป็นน้ำดื่มได้ แต่นับครั้งที่ น้ำประปา มักจะถูกนำไปใช้อย่างไม่คุมค่ากับการผลิต และการได้มาอาจจะเป็นเพราะเรา ไม่คำนึงถึงคุณค่า ขั้นตอนการผลิตน้ำ ที่ต้องใช้พลังงานการไฟฟ้าสูบน้ำ และการลงทุนที่สูงเมื่อเทียบกับการที่รัฐเรียกเก็บจากเราที่ต่ำกว่าการลงทุน ดังนั้นการรู้จักใช้น้ำอย่างประหยัดและการเลือกใช้อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการใช้น้ำ ในชีวิตประจำวันให้เกิดประโยชน์สูงสุดจึงเป็นส่วนสำคัญในการประหยัด ทั้งงบประมาณของรัฐและการช่วยมีส่วนร่วม ในการรักษาสภาพแวดล้อม บ้านเมืองสีเขียวของเรา เพื่อเป็นการให้น้ำอย่างประหยัดและคุ้มค่า ที่นอกเหนือไปจากอุปนิสัยการใช้แล้ว การเลือกใช้ชนิดของอุปกรณ์ประหยัดน้ำนี้ ก็เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่ง ทางสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย Read more ›