zero energy approach | อาคารพลังงานเป็นศูนย์

เคยนึกดูมั้ยครับว่าชีวิตประจำวันของมนุษย์ในปัจจุบันนี้ ที่มีชีวิตทันสมัยอย่างมาก เป็นยุคที่ คุยมือถือไปขับรถไป (ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่สมควรกระทำอย่างยิ่ง)  หรือการมีที่ทางให้ผึ่งแอร์ในสถานที่ต่างๆ ตั้งแต่ห้องนอนไปถึงศูนย์การค้าเดินเล่น การที่มีน้ำอุ่นน้ำร้อนให้ใช้ มีคอมพิวเตอร์ไว้ใช้สื่อสารหรือใช้บันเทิง เทคโนโลยีทันสมัยใหม่เหล่านี้ ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นและปรนเปรอ พวกเรามากมาย จริงๆก็อาจจะช่วยทำให้เราขยันน้อยลงนั่นเอง โดยอ้างว่ามันเป็นคุณภาพชีวิตที่ดี อันนี้ก็ต้องรองชั่งน้ำหนักดูกันเองนะครับ

เพราะสิ่งเหล่านี้เอง ทำให้เราถูกแวดล้อมด้วยความอำนวยสะดวกจากเทคโนโลยี ซึ่งมันล้วนแต่ต้องการพลังงานในการผลักดันให้เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การใช้พลังงานไฟฟ้า พลังงานความร้อน หรือพลังงานอื่นๆ แล้วจะให้เราจะละเลิกไม่ใช้พลังงานหรือสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้ได้อย่างไร ถึงแม้ว่าเรามีหนทาง ในการเอาพลังงานฟรีๆ จากธรรมชาติมาใช้หมุนเวียน ในบทความก่อนๆ แต่เราจะทำอย่างให้พลังงานที่ว่าเป็นศูนย์ (Zero Energy) มันมีวิธีครับ ด้วยหลักคณิตศาสตร์ง่ายๆ

 

1)  พลังงานที่ต้องใช้ – พลังงานที่(ไม่)ต้่องใช้ = 0

หลักการทำให้พลังงานเป็นศูนย์อย่างแรกก็คืออย่าไปใช้มัน ซึ่งในความเป็นจริง แทบจะเป็นไปไม่ได้ (แต่ใช้ให้ถูกวิธีและน้อยลงๆได้)

2)  พลังงานที่ต้องใช้ – พลังงานที่ผลิตเอง = 0

สังเกตเห็นมั้ยครับว่าหลักการที่สองนี้ ดูจะเข้าที่เข้าทางกว่า โดยเฉพาะสำหรับมีชีวิตที่ยังต้องอยู่อาศัยของพวกเรา เราก็ผลิตเอาเองเสีย

แต่ก่อนที่จะเข้าไปถึงขั้นตอนการผลิตพลังงานและการใช้ไฟฟ้านั้น การเริ่มต้นรู้จักว่าเราสูญเสียพลังงานไปเพราะอะไรบ้าง อาคารบ้านเรือน ได้รับการวางให้หันถูกทิศถูกทางหรือไม่ มีชายคายื่นกันแสงกันฝนรึปล่าว มีการใช้วัสดุควบคุมและป้องกันการรั่วซึมของอากาศ ภายนอกภายในอย่างไร การระบายอากาศภายในอาคารและความส่องสว่างดีมั้ย เพราะในที่สุด เราก็ต้องการภาวะสบายให้เกิดขึ้นบ้านภายในบ้านของเรา และขั้นแรกนี้ก็คือ การพึ่งธรรมชาติก่อน มันเป็นหลักการออกแบบ ทางสถาปัตยกรรมที่อยู่ในแนว “Passive” เป็นการออกแบบขั้นต้นๆ เพื่อให้อาคารบ้านเรือนใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Energy Efficient) และจะถูกต้องกับลักษณะภูมิอากาศภายในสภาพแวดล้อมนั้นๆ แล้วที่นี้สิ่งที่ยังต้อง การพลังงาน เราจะหามาทดแทนได้อย่างไร ซึ่งก็ได้จากแสงอาทิตย์ การใช้ solar panel หรือจากการเก็บกักน้ำจากฝนเอาไว้ใช้ (ที่ตกลงมาไม่หมดไม่สิ้นทุกวันนี้)

แล้วถ้าผู้อ่านจะถามว่า สถาปนิกหรือนักออกแบบทุกวันนี้เค้าไม่ต้องคำนึงหรือศึกษา เรื่องพวกนี้แล้วหรืออย่างไร ตอบได้ว่า ต้องครับ มีการศึกษาเป็นวิชาบังคับ และโดยสามัญสำนึกที่ดี ต้องคำนึงในเวลาออกแบบตลอดครับ แต่จะมากน้อยไม่เท่ากัน ขึ่นอยู่กับความเข้าใจ การนำไปประยุกต์ใช้และความเก่งฉกาจของแต่ละท่าน และที่สำคัญคือความเข้าใจว่าสิ่งที่ตัวสถาปนิกออกแบบมันส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมอย่างไร ที่แต่ละท่านมีความรู้ไม่เท่ากัน สุดท้ายการแก้ปัญหาอย่างง่ายก็คือ การใช้เทคโนโลยีช่วย ตัวอย่างเช่นการติดแอร์ การติดเครื่องระบายอากาศ กลิ่นอับในห้องน้ำ การส่องสว่างโดยติตั้งไฟประดิษฐ์ในบริเวณที่มืด ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ก็สามารถทำให้เกิดภาวะน่าอยู่น่าสบายได้เช่นกัน และกลายเป็นสูตรที่สาม

3) พลังงานที่ต้องใช้ – พลังงานที่ผู้อื่นผลิต = 0 (คือสูญเสียสตางค์ด้วย)

ตามหลักนี้เจ้าของอาคารบ้านเรือนจะต้องจ่ายค่าไฟเอง ที่เป็นการจ่ายในระยะยาว ถือเป็นการเปลืองพลังงาน ไม่เหมาะกับความเป็นอยู่ในภาวะโลกร้อน ไม่เป็นมิตร

ดังนั้นขอฝากผู้อ่านผู้ใช้อาคาร ลองสอบถามสถาปนิกนักออกแบบดูนะครับ ว่ามีเค้ามีวิธีอื่นที่ใช้พลังงานให้น้อยลง(อีก)ได้มั้ย ทำได้(อีก)อย่างไร ให้เค้าคิด(อีก)เยอะๆ และช่วยเค้าคิดด้วยว่าเราจะสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อะไรได้บ้าง เพราะนั่นคือหน้าที่หลักของสถาปนิกนักออกแบบครับ ที่ต้องออกแบบ ให้ตอบสนองต่อผู้อยู่อาศัยและต้องเป็นมิตรต่อสภาพบ้านเมืองและสิ่งแวดล้อม (แต่ถ้าสถาปนิกเค้าทำได้ ก็ควรตอบแทนสินน้ำใจด้วยค่าแรงที่งดงามนะครับ เพราะถือว่าเค้าช่วยท่านประหยัดสตางค์ด้านอื่น)

รูปภาพ : บ้านเรือนทันสมัย (ภาพจากhttp://jetsongreen.typepad.com)

รูปภาพ : ของดี บ้านไทย เราเรียนรู้และเอาประโยชน์อะไรมาใช้ได้บ้าง

 

Comments are closed.