Categories

Archive

Visuospatial Thinking Skills (aka Spatial Abilities) คืออะไร

Visuospatial Thinking Skills (aka Spatial Abilities) คืออะไร สั้นๆคือ ทักษะทางด้านมิติสัมพันธ์ เป็นทักษะที่มาอย่างหลากหลายรูปแบบ จากการมอง การแยกแยะ การรับรู้ มีหลายมิติ (จะมาอธิบายในรายละเอียดต่อๆไป) และเป็นทักษะที่ทางวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับ S.T.E.A.M. (Science, Technology, Engineering, Art, Mathematics) จำเป็นต้องมี ต่อให้อยากเป็นแพทย์ เป็นวิศวกรสถาปนิก นักศิลปะ หรืออื่นๆ ที่แม้จะเก่งเลข เก่งวิทยศาสตร์ แต่มีความจำกัดในทักษะทางด้านมิติสัมพันธ์นี้ ก็อาจจะเหนื่อยหรือไปได้ไม่ถึงใจนะครับ แต่มีข่าวดีครับ ทักษะเหล่านี้ฝึกฝนกันได้ (malleable) แต่ต้องรู้จักฝึกฝนอย่างถูกต้องนะครับ มันมีวิธี หรือจริงๆ ถ้าจะถึก แถๆๆๆฝึกๆๆไปก็ได้เหมือนกัน (เจอคำว่า Read more ›

Perception & Action to Our Brain : สมองมนุษย์ ในเรื่องของการรับรู้

“New research suggests that some parts of the brain perceive a scene and its mirror image as one and the same, meaning those regions are involved in scene categorization rather than navigation.” [excerpt] บทความของ MIT เกี่ยวกับสมองที่มีผลกับมนุษย์เราในเรื่องของการรับรู้ Object หรือ Space เป็นการใข้กระบวนการทางความคิด (information Read more ›

Human Machine Interface & Data Manipulation : แตะได้รู้สึกได้อีกแบบหนึ่ง ด้วยการเคลื่อนไหว

In this talk, John Underkoffler demos g-speak, the real-life version  computer interface where it is how tomorrow’s computers will be controlled. It has been 20-25 years of research with the hope that it will come to everyone computer soon. It’s all Read more ›

Thailand Green Building Measure | ระดับความเป็นสีเขียวของอาคารภาคสอง ที่วัดกันในประเทศไทย

หลังจากที่ได้รู้จักกับการประเมินและการวัดความเป็นสีเขียวของอาคาร ในต่างประเทศไปกันแล้วเมื่อครั้งก่อน วันนี้เราจะมาทำความรู้จักเกี่ยวกับ เกณฑ์การวัดหรือการประเมินความเป็นสีเขียวของอาคารแบบไทยๆ ของเรากันบ้าง มีการกล่าวว่าการเลือกใช้การแบบการประเมิณที่ดี ควรจะเป็นการใช้ที่ เป็นของในส่วนท้องที่นั้นๆ ถึงจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด โดยเฉพาะเกณฑ์ที่พัฒนาตามหลักการ ของพื้นที่ภูมิอากาศท้องถิ่นนั้นๆ เพราะอาคารและบ้านเรือนของเรา นี้อยู่ในภูมิภาคร้อนชื้น การจะไปเอาแบบประเมิณการวัดของประเทศหนาวมาใช้ โดยตรง ก็คงจะไม่ถูกต้องหรือได้รับความเที่ยงตรงนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แบบการประเมินที่ไม่ได้รับการปรับปรุงให้เหมาะสมกับท้องที่ของประเทศไทยเสียก่อน (เปรียบเสมือนกับการเอาคนต่างชาติมาวัดมาตรฐานความอร่อยของอาหารไทย) แต่เนื่องจากมาตรฐานเพื่อเป็นการวัดระดับความเป็นสีเขียวทีีมีนั้น ได้เกิดขึ้นและพัฒนามาในต่างประเทศก่อน โดยประเทศไทยเรา ในการเริ่มต้นก็ได้นำเอามาปรับปรุง และโดยมีหน่วยงานของภาครัฐ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงานในขั้นต้น ได้มอบหมายให้คณะผู้วิจัยจากคณะสถาปึตกรรมศาสตร์และสถาบันวิจัยพลังงานต่างๆ โดยศึกษาและวิจัยจากระบบที่คล้ายๆกันกับระบบของ LEED – Leadership in Enery and Environmental Design ของสหรัฐอเมริกาโดย USGBC (US Read more ›

Painting Tread | Trend ของสีทาบ้านหรืออาคาร ที่สกัดจากธรรมชาติ

การทาสีบ้านดูเหมือนจะไม่ใช่สิ่งที่เรานิยมทำกันบ่อยๆนักใจประเทศเราเมื่อเทียบกับชาติอื่นๆ และบ่อยครั้งที่เราจะเห็นอาคารบ้านเรือนของเรา ที่ถูกปล่อยให้สีจืดจางมีคราบของความเก่าแก่และแลดูสกปรก ไม่เหมาะกับวิสัยทัศน์ต่อบ้านเมือง นับเป็นมลภาวะอย่างหนึ่ง แต่สิ่งที่น่าสนใจนอกไปจากการทาสีทำให้สภาพแวดล้อมดูสดใสและ ไม่หม่นหมองนั้น การทาสีในปัจจุบันเราควรเลือกสีที่ไม่เป็นพิษเป็นภัย ต่อธรรมชาติหรือเลือกสีที่มีค่าLOW-VOCต่ำ (volatile organic compounds – ปริมาณสารประกอบอินทรีย์ที่ระเหยได้) และเป็นสีที่ไม่เป็นมลพิษต่ออากาศภายในบ้าน (หรือนอกบ้าน) ตัวอย่างที่จะยกมาในครั้งนี้เป็นtrendของสีที่เป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อม ตัวอย่างแรก Natural paintsเป็นสีที่ไม่ได้เกิดจากการสังเคราะห์ (สีสังเคราะห์) เป็นสีที่เกิดจากพรรณไม้ ตระกูลมะนาวส้ม หรือมะกรูด ผนวกกับส่วนผสมนองพืชพรรณอื่นๆ โปรตีนจากนมหรือดินเหนียว ชึ่งนับเป็นสารธรรมชาติที่ปราศจากการใช้สารกันบูดหรือวัตถุกันเสียต่างๆเจือปน ตัวอย่างถัดไป Milk paints สีน้ำนม หรือสีที่ไม่มีกลิ่นอย่างแท้ สกัดจากน้ำนมโปรตีน (protien casein) และสารจากมะนาว ที่ไม่มีตัวทำละลาย สารกันบูด วัตถุมีพิษสารจำกัดแมลงต่างๆ แต่บางทีอาจจะพบสารสังเคราะห์จำพวก Read more ›

10 Things About Air Condition | บัญญัติ 10 ประการเรื่องเครื่องปรับอากาศ

หน้าหนาวปีนี้หนาวกันไปได้กี่วันแล้วครับ โดยเฉพาะท่านผู้อ่านที่อยู่ในเมืองหลวง และเขตข้างเคียง แต่ผมได้ยินเสียงบ่นๆว่าเป็นหน้าหนาวที่ร้อนอีกแล้ว ถึงขนาดมีเพื่อนบางท่านตื่นมาตอนเช้า ต้องมาลุ้นให้มีอากาศเย็นๆ แต่จำต้องผิดหวังไป เพราะเป็นหน้าหนาวที่พวกเรายังต้องเปิดแอร์กันต่อไป (สำหรับท่านที่มีเครื่องปรับอากาศใช้นะครับ) ซึ่งมันก็ไม่ใช่สิ่งที่ผิดเสียทีเดียว แต่ต้องรู้จักรู้จักใช้มห้ถูกต้อวงเพื่อไม่เป็นการเปลืองพลังงานไฟฟ้าไปปล่าวๆ มีข้อบัญญัติอย่างไม่เป็นทางการ 10 ประการนี้ ที่จะขอแนะนำไว้เพื่อเราจะได้ รู้จักการใช้เคริ่องปรับอากาศได้อย่างถูกต้องและไม่เป็นการกินพลังงานที่สิ้นเปลือง โดยมีการสรุปไว้ดังต่อไปนี้ 1) ก่อนอื่นเลยลดการใช้ลงจากเดิมที่เคยใช้กันอยู่ จะถือเป็นการลดพลังงานไฟฟ้า 2) การเลือกใช้ขนาดที่เหมาะสมกับพื้นที่่ๆจะใช้ การเลือกมียี่ห้อเป็นที่รู้จัก ผ่านการรับรองการใช้พลังงานเบอร์ 5  3) ในการปรับปรุงและเตรียมตัวอาคารบ้านเรือนก่อนจะติดตั้งระบบปรับอากาศ การติดตั้วงฉนวนเหนือเพดานหรือหลังคาเพื่อลดการสงผานรังสีความร้อน การอุดรูรั่งต่างๆเพื่อไม่ให้อากาศภายนอกซึมเข้าสุู่อาคารบ้านเรือน 4) รู้และเข้าใจวิธิการติดตั้ง ตำแหน่งที่ตั้งของตัวเครื่องปรับอากาศ การติดตั้งเครื่องปรับอากาศที่ผิดที่ผิดวิธีจะเป็นการทำให้เกิดการสิ่นเปลืองพลังงาน 5) ไม่มีสิ่งของกีดขวางทางลมเข้าออกของแฟนคอยล์ยูนิต 6) ควรเปิดไฟ และเครื่องใช้ไฟฟ้าเท่าที่จะเป็นเท่านั้น 7) สถานที่จริงที่วางคอนเดนซิ่งยูนิิต Read more ›

3 Ways the Brain Creates Meaning by Tom Wujec : นักออกแบบก็มีสมองเช่นกัน

http://www.ted.com/talks/tom_wujec_on_3_ways_the_brain_creates_meaning.html   วีดีโอ 6:29 นาที ของคุณ Tom Wujec จาก AutoDesk มาเล่าให้ฟังเกี่ยวกับสามส่วนของมันสมองของมนุษย์ ที่ช่วยให้เราเข้าใจความหมายของ คำ ภาพ ความรู้สึก และการเชื่อมต่อเข้ากันและกันได้อย่างมีความหมาย โดยแต่ละส่วนทำหน้าที่ดังนี้: 1) making ideas clear by visualizing 2) making them interactive และ 3) making them persistent

zero energy approach | อาคารพลังงานเป็นศูนย์

เคยนึกดูมั้ยครับว่าชีวิตประจำวันของมนุษย์ในปัจจุบันนี้ ที่มีชีวิตทันสมัยอย่างมาก เป็นยุคที่ คุยมือถือไปขับรถไป (ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่สมควรกระทำอย่างยิ่ง)  หรือการมีที่ทางให้ผึ่งแอร์ในสถานที่ต่างๆ ตั้งแต่ห้องนอนไปถึงศูนย์การค้าเดินเล่น การที่มีน้ำอุ่นน้ำร้อนให้ใช้ มีคอมพิวเตอร์ไว้ใช้สื่อสารหรือใช้บันเทิง เทคโนโลยีทันสมัยใหม่เหล่านี้ ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นและปรนเปรอ พวกเรามากมาย จริงๆก็อาจจะช่วยทำให้เราขยันน้อยลงนั่นเอง โดยอ้างว่ามันเป็นคุณภาพชีวิตที่ดี อันนี้ก็ต้องรองชั่งน้ำหนักดูกันเองนะครับ เพราะสิ่งเหล่านี้เอง ทำให้เราถูกแวดล้อมด้วยความอำนวยสะดวกจากเทคโนโลยี ซึ่งมันล้วนแต่ต้องการพลังงานในการผลักดันให้เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การใช้พลังงานไฟฟ้า พลังงานความร้อน หรือพลังงานอื่นๆ แล้วจะให้เราจะละเลิกไม่ใช้พลังงานหรือสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้ได้อย่างไร ถึงแม้ว่าเรามีหนทาง ในการเอาพลังงานฟรีๆ จากธรรมชาติมาใช้หมุนเวียน ในบทความก่อนๆ แต่เราจะทำอย่างให้พลังงานที่ว่าเป็นศูนย์ (Zero Energy) มันมีวิธีครับ ด้วยหลักคณิตศาสตร์ง่ายๆ   1)  พลังงานที่ต้องใช้ – พลังงานที่(ไม่)ต้่องใช้ = 0 หลักการทำให้พลังงานเป็นศูนย์อย่างแรกก็คืออย่าไปใช้มัน Read more ›

Renewal Energy (Last) | พลังงานหมุนเวียน ภาคสุดท้าย

วันนี้เราจะมาดูพลังงานหมุนเวียนที่เหลือ คือพลังงานจากชีวมวล พลังงานจากน้ำ และพลังงานจากขยะและของเสียต่างๆ พลังงานจากชีวมวล พลังงานชีวมวลถือเป็นสารอินทรีย์ที่ได้มาจากพลังงานธรรมชาติหมุนเวียน และถือเป็นแหล่งเก็บกักพลังงานที่ดีแหล่งหนึ่งที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต ปรกติแล้ว เป็นสารอินทรีย์ที่ได้มาจากเศษหลงเหลือทางการเกษตร ไม่ว่าจะจากสวนนาไร่ หรืแเศษไม้ที่ล่วงหล่นในป่า เช่นชานอ้อย เศษไม้ แกลบ กากมันสำปะหลัง ซังข้าวโพด การปาล์ม กากมะพร้าวและกะลา เป็นต้น   พลังงานชีวมวลถูกนำมาพัฒนาขึ้นมาเพื่ิอการผลิตพลังงานไฟฟ้าหรือการใช้ทำความร้อน นอกไปจากแหล่งที่ได้มาจากเศษต้นไม้ในป่าจากต้นไม้ที่ตายแล้วโดยสารชีวมวลยังรวมไปถึงที่ได้มาจากสารอินทรีย์ที่มาสัตว์อีกด้วย และโดยรวมแล้วสารชีวมวลทั้งหลาย จะต้องสามารถสลายไปกับธรรมชาติได้ และจะต้องไม่รวมไปถึงสารจากธรรมชาติ ที่ผลิตจากถ่านหินหรือการขุดเจาะน้ำมัน เผาผลาญต่างๆ พลังงานจากน้ำ นำ้เป็นสิ่งที่คนไทยรู้จักกันดี และเป็นหนึ่งในรากเหง้าของการพัฒนาอารยะธรรมของ สยามประเทศไทยเรา อีกทั้งน้ำเป็นสิ่งที่ปรกคลุมพื้นผิวโลกเรามากถึง 70% นอกไปจากการน้ำมาใช้ในการดำรงชีวิต เพื่อปากท้องการเกษตรการชลประทานแล้ว น้ำยังสามารถถูกดัดแปลงมาผลิตเป็นผลังงานไฟฟ้า ดังตัวอย่างของเขื่อน (Hydroelectric Energy) หรือการใช้กังหันน้ำ Read more ›

Renewal Energy 2 | ทำความรู้จักกับพลังงานทดแทน พลังงานหมุนเวียน 2

เมื่อครั้งที่แล้วเราได้เรียนรู้ถึงพลังงานหมุนเวียนที่ได้จากแสงอาทิตย์และการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้แล้ว สำหรับวันนี้เรามาทำความรู้จักกับพลังงานที่ได้จากลม และพลังงานจากใต้พื้นดินผืนแผ่นพสุธาของเราสักนิดดีกว่าครับ พลังงานจากลม พลังงานลมเป็นพลังงานธรรมชาติที่เกิดจากสภาพความแตกต่างของอากาศหรืออุณหภูมิ ระหว่าง 2 ที่ และถือว่าเป็นพลังงานที่มีความสะอาดบริสุทธิ์และสามารถนำมาใช้ได้ อย่างไม่มีวันหมดสิ้น พลังงานที่ได้มาจากลมนี้นั้นได้รับความสนใจและถูกนำมาพัฒนา ให้เกิดประโยชน์อย่างแพร่หลายเช่นในการใช้กังหันลมโดยกังหันลมนี้นั้นเป็นเครื่องมือ อุปกรณ์ที่สามารถเปลี่ยนแปลงพลังงานลมให้สามารถมาเป็นประโยชน์ได้หลากหลาย อย่างเช่นที่เราเห็นกันอยู่ทั่วๆไปในการใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าหรือใช้ในการขับสูบน้ำ โดยในหลักทางวิทยาศาสตร์นั้น พลังงานลมเกิดจากพลังงานดวงอาทิตย์ตกกระทบ สู่พื้นผิวของโลกทำให้เกิดอากาศร้อนและลอยตัวสูงขึ้น อากาศจากบริเวณอื่น ที่มีความเย็นและความหนาแน่นมากกว่า จึงเข้ามาแทนที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว ของอากาศเหล่านี้และเป็นต้นกำเนิดของลม ซึ่งมีอิทธิพลต่อสภาพภูมิอากาศ ในหลายแห่งภายในประเทศไทยเราอยา่งมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางแนวฝั่งทะเล อันดามันและอ่าวไทย ที่มีพลังงานลมที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบ ของพลังงานเครื่องกล เช่นการใช้เป็นกังหันสูบน้ำเพื่อผลิตไฟไฟ้า โดยปรกติทั่วไปนั้นศักยภาพของพลังงานลมจะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ จะต้องมีกำลังและความเร็วอยู่ที่ 3 ถึง 5 เมตรต่อวินาที และมีความเข้มของพลังงานลมที่ได้มีการประเมินไว้อยู่ที่ 3-5 เมตรต่อวินาที และความเข้มค้นของพลังงานลมที่ประเมินไว้อยู่ระหว่าง 20-50 วัตต์ต่อตารางเมตร Read more ›

Renewal Energy | ทำความรู้จักกับพลังงานทดแทน พลังงานหมุนเวียน 

บทความเมื่อคราวที่แล้วได้มีการกล่าวอ้างถึงพลังงานทดแทนที่เรียกว่า “Renewable Energy” บางท่านอาจสงสัยว่ามันคืออะไรและต่างไปจากพลังงาน ที่เราๆเคยรู้จักอย่างไร เพราะโดยทั่วไปเราจะรู้จักพลังงานที่ผลิตมาจาก น้ำมันเชื้อเพลิงหรือถ่านหิน ซึ่งถือได้ว่าอาจเรียกว่าเป็นพลังงานสิ้นเปลือง ที่มีวันสูญเสียหมดไปได้ ในขณะที่พลังงานทดแทนและพลังงานหมึนเวียนที่เกริ่นมานั้น เป็นพลังงานสามารถผลิตได้จากแหล่งที่มีอยู่ทั่วไปตามธรรมชาติหรือสามารถกลับคืน ไปสู่ธรรมชาติได้ และที่สำคัญการกลับมาหมุนเวียนสามารถทำได้อย่างไม่มีวันหมดสิ้น แหล่งที่มาของพลังงานทดแทนนี้ได้แก่ แสงอาทิตย์ ลม พื้นดิน น้ำ พืช หรือแม้แต่ขยะของเสียจากอาคารบ้านเรือน ทำไมการรู้จักพลังงานทดแทนนั้นเป็นสิ่งสำคัญ? เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่า พลังงานในทุกวันนี้เป็นปัญหาใหญ่ของโลกและส่งผลโดยตรงกับพวกเรามากขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าพฤติกรรมของการเป็นอยู่ของพวกเราทีมีการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลืองที่ยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ในเร็ววันนี้ (เป็นสิ่งที่ต้องร่วมมือกันแก้ไข ให้ได้อย่างรวดเร็ว) ดังนั้นหน่วยงานทั้งภาครัฐ วิสาหกิจ เอกชน และนักวิชาการ ทั้งในประเทศเราและทั่วโลก ต่างก็ได้มีการศึกษาวิจัย ทดลอง และสำรวจ อย่างหนักเพื่อการนำเทคโนโลยที่สามารถผลิตมาใช้เป็นพลังงานทดแทน ที่จะนำมาตอบสนองความต้องการและกิจกรรมของเราโดยที่จะไม่ส่งผลกระทบต่อ ธรรมชาติและภาวะโลกร้อน จากแหล่งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดังที่ได้กล่าวข้างต้น พลังงานทดแทนนี้ จักจำแนกออกได้ในแต่และประเภทคือ Read more ›

Green Life Cycle, Cost & Our Responsibility | วงจรชีวิตอย่างสีเขียว การลงทุนและความรับผิดชอบ

เมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้สอนหนังสือนักศึกษาสถาปัตยกรรม ปริญญาโทของมหาวิทยาลัย แห่งหนึ่งเกี่ยวกับนวตกรรมเทคโนโลยี เพื่อบ้านเมืองสีเขียว โดยยกตัวอย่างของแนวทางการประเมิน ความเป็นสีเขียวของอาคาร และเน้นว่าให้มองโดยองค์รวม โดยไม่จำเพาะ เจาะจงเทคโนโลยีอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น และให้กลับไปคิดต่อว่า เรายังสามารถคิดค้นด้วยความคิดสร้างสรรค์อื่นๆ อีกมากมาย และเรามีพลังงานที่ได้ฟรีๆจากธรรมชาติ ที่สามารถหมุนเวียนมาให้ใช้ ได้อยู่เรื่อยๆ (Renewable Energy) ในตอนท้ายของการชั้นเรียน มีคำถามที่น่าสนใจมาจากนักศึกษา ที่น่าจะนำมาเล่าสู่กันฟัง ณ ที่นี้ คำถามแรกที่ว่า การลงทุน หรือต้นทุน ในการก่อสร้่าง (หรือดัดแปลง) สิ่งก่อสร้าง ให้มีความเป็นมิตร ต่อสภาพแวดล้อมนั้นจะเป็นการลงทุนที่สูงเกินกว่าการก่อสร้างอาคาร โดยปรกติที่เราๆทำกันอยู่ทุกวันนี้หรือไม่ แล้วถ้ามีมูลค่าสูงกว่าเราจะทราบ ได้อย่างไรว่าคุ้มค่ากับการลงทุน ส่วนคำถามถัดมามีความน่าสนใจไม่แพ้กัน นักศึกษาถามขึ้นว่า ที่มีคนบอกว่าปัญหาสภาพแวดล้อมนี้มันแก้ไม่ได้แล้ว ต่อให้สร้างหรือช่วยอย่างไรก็คงไม่มีผลแล้ว ที่ว่านั้นเป็นจริงหรือไม่แล้ว เราควรจะให้คำปรึกษาแก่เจ้าของโครงการอย่างไร ในคำถามแรกนั้นโดยทั่วไปเราจะรู้สึกว่าของที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมัก Read more ›

Green Indoor Environment | คุณภาพของสภาวะแวดล้อมภายในอาคารบ้านเรือน

หนึ่งในการอยู่อย่างบ้านเมืองสีเขียวก็คือการรู้จักและดูแลสภาวะแวดล้อม ภายในอาคารบ้านเรือน ทั้งนี้เพราะอาคารและสิ่งก่อสร้างส่งผลต่อคุณภาพของ สภาวะแวดล้อมภายในอาคารที่เราใช้สอยและมีผลโดยตรงต่อสุขภาพของเรา มีการศึกษาและวิจัยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ได้มีการสรุปวิเคราะห์ว่า อากาศภายในอาคารและบ้านเรือนมีโอกาสที่มีความเป็นมลพิษมากกว่า อากาศภายนอก อีกทั้งเราผู้ใช้สอยโดยทั่วไปใช้เวลาอยู่ในอาคารมากถึง 90% เนื่องจากการใช้เวลาอย่างมากภายในอาคารนี้จึงมีส่วนสำคัญ ที่เราสามารถรับผลกระทบโดยตรงจากอากาศเป็นพิษภายที่อยู่ในอาคารโดยที่เราไม่รู้ตัว สิ่งที่เราควรจะรู้จักก็คือ ความส่องสว่างและการควบคุมความส่องสว่างภายในอาคาร ปริมาณการระบายอากาศภายในอาคาร สภาวะน่าสบาย ที่อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์มีความเหมาะสม การลดผลกระทบของมลภาวะจากความร้อนหรือมลพิษที่สามารถเข้าสู่อาคาร การลดผลกระทบของมลภาวะจากแก็ซพิษ สารเคมี สารทำความสะอาดที่มีอยู่ภายในบ้าน ประสิทธิภาพของการกรองอากาศ การเลือกใช้วัสดุภายในอาคารที่ไม่ก่อมลพิษหรือปลดปล่อยสารพิษ จากข้อมูลข้างต้นจะสังเกตได้ว่าสิ่งที่เราควรคำนึงอย่างมากก็คืออิทธิพลของคุณภาพของอากาศและการมีแสงสว่างที่เหมาะสม แต่พอเราพูดถึงสภาวะอากาศดู หมือนจะเป็นสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้ แตะต้องไม่ได้ แต่อันที่จริง เราสามารถป้องกันและเรียนรู้ในการควบคุมมลพิษได้อย่างดี และอย่างน้อยๆ เราควรจะสามารถป้องกันไม่ให้เข้ามาในส่วนที่เราพักอาศัย ส่วนใช้สอยต่างๆ หรือเข้ามาในที่ๆเราใช้เวลาส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน ซึ่งมลภาวะเหล่านี้นั้น สามารถมักจะมาได้ในรูปแบบต่างๆ เราต้องเริ่มต้นป้องกันตั่งแต่ การเลือกสถานที่ตั้ง การวางผังของอาคารบ้านเรือน การหันทิศทางไปในทางที่มีอากาศระบายที่ดี การเลือกใช้วัสดุก่อสร้าง Read more ›