Artificial Intelligence: Design (& Research) | ความฉลาดจอมปลอมจะเปลี่ยนโลก

Artificial Intelligence หรือ AI เข้ามาช่วยเปลี่ยนโลกและ Disrupt พฤติกรรมมนุษย์มากขึ้นทุกวัน สถาบันวิเคราะห์ทางธุรกิจ McKinsey Global Institute รายงานว่าเมื่อปี 2016 ที่ผ่านมา มีการลงทุนเทคโนโลยี AI ถึง $30-$46 Billion (ดอลล่าร์)ทั่วโลก โดย 90% ของเงินนี้เจาะจงไปที่งานวิจัยพัฒนาและการออกแบบ (R&D)

แนวความคิดสั้นๆของ AI คือการประมวลผลจากการตั้งค่าสมการ Algorithm ให้คอมพิวเตอร์เรียนรู้เลียนแบบและประเมินผลลัพท์ที่ซับซ้อนหลากหลายออกมา กระบวนการคล้ายๆ Neural Networks ที่ประติดประต่อในสมองมนุษย์ ผลการประเมินของ AI (หรือบางทีเรียกว่า Deep Mind) สามารถส่งผลลัพท์ได้ตรงกับเป้าหมายทางธุรกิจ ที่ต่างไปจากการคาดคะเน Intuition ของมนุษย์เราที่อาจจะผิดพลาดได้ และ AI ยังประมวลข้อมูลจากพฤติกรรมเราและสรุปสิ่งที่ดีที่สุดให้

เทคโนโลยีใน AI มีหมวดหมู่แยกย่อยหลักๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบคือ

1) Automation ในงานหุ่นยนต์ (Robotics) งานยานพาหนะ (Driverless Automobile)

2) Virtual Agents งานผู้ช่วยส่วนตัวอย่าง Siri, Echo Home Assistant

3) Computer Vision และ Pattern Recognition งานประมวนผลจากการมอง จากภาพ

4) Language งานภาษา เข้าใจในการแปล ความหมาย หรือการเป็นล่าม

5) Machine Learning เช่นงานประเมินผลทางการแพทย์ การคาดคะเนแนะนำสินค้าให้ผู้บริโภค

การออกแบบในแต่และหมวดหมู่นั้น ต้องเน้นให้ผู้ใช้ได้ประสบการณ์ใหม่ๆที่ดีต่อผลิตภัณฑ์ เช่นการออกแบบการขับรถ จะทำอย่างไรที่ไม่ขับเองแต่รู้สึกปลอดภัย การพูดคุยกับ Virtual Agents หุ่นยนต์ ต้องให้เป็นกันเองเข้าถึงความรู้สึกขณะนั้น การออกแบบที่ต้องใช้โสตสัมผัสหลายๆด้าน อย่างการใช้ภาษากาย (Body Motion) ภาษามือ เสียง สีหน้าและอารมณ์ รวมไปถึงการออกแบบด้วยข้อมูลที่ผลิตมารวดเร็วอย่างมากมายจาก User Feedback และรูปแบบพฤติกรรม (Behavior Analytics)

 

นอกไปจากธุรกิจที่เรารู้จักอย่างเช่น รถที่ไม่ต้องพึ่งคนขับ ผู้ช่วยส่วนตัว หรือ Netflix แนะนำหนังแล้ว ยังมี Startups และบริษัทยักษ์ใหญ่อื่นๆ ที่นำ AI มาช่วยออกแบบ ดังตัวอย่างคร่าวๆคือ

Construction Industry ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ หรือ Coworking Spaces อย่างที่ WeWork ใช้ในการเก็บและประมวลข้อมูลเพื่อการวางแผนการก่อสร้าง  จากการใช้สอยและ Feedback ของสมาชิก การเลือกสถานที่ตั้ง การคาดการณ์โลเคชั่นที่จะยอดฮิตในอนาคตได้

Entertainment ตัวอย่างในดนตรี Amper Music แนะนำการแต่งเพลง การผลิตเสียงดนตรีเพื่อประกอบงานโฆษณา ใช้ในเกมส์ และธุรกิจอื่นๆ ที่ได้อรรถรสเสียงไม่ซ้ำใคร โดยป้อนข้อมูลความชอบและงานที่คาดหวัง แล้วก็ผลิตเสียงดนตรีออกมาให้

Games ใช้ Machine Learning ช่วยออกแบบ พฤติกรรมการเดินเหินของตัวละคร และใช้ Pattern Recognition ช่วยหารออกแบบผลิตสภาพแวดล้อม นักออกแบบ Animator Artists มีหน้าที่ควบคุมประคับประคองผลจาก AI และไม่ต้องผลิตด้วยตัวเองเฟรมต่อเฟรม

Retail Services การใช้ข้อมูลประเมินจากพฤติกรรม แนะนำสินค้าหรือคาดเทรนให้ ที่ทาง Amazon ได้ทดลองออกแบบประสบการณ์ช้อบปิ้ง ที่ผู้บริโภคเดินเข้าไปในร้าน หยิบสินค้าแล้วก็กลับบ้านเลย โดยค่าใช้จ่ายจะถูกประมวนจาก Computer Vision และ Behavior Pattern

EdTech ก็ใช้ AI ช่วย Personalized Learning มีออกแบบการเรียนผ่าน Virtual Tutors และการช่วยผู้สอนในการประยุกต์บทเรียนและวางแผนบทเรียน

Healthcare มี AI ช่วยการเก็บและมวลข้อมูลมหาศาลในวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ จากทั้งคนไข้ แพทย์และผู้เกี่ยวข้อง วินิจฉัยโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ วิเคราะห์อาการ แนะนำการบำบัดรักษาและการป้องกัน การออกแบบการใช้เครื่องมือและเก็บข้อมูลก็ต้องเปลี่ยนไปให้สมกับกิจวัตรประจำวัน

ตัวอย่างข้างต้นทำเห็นได้ว่าบทบาทของนักออกแบบเปลี่ยนไป ต้องรับมือกับกระบวนการใหม่ๆ การใช้สอยใหม่ๆ ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ เพราะได้ข้อมูลที่มีการประมวลผลเพื่อหารออกแบบมีมากและเร็ว เดิมทีนักออกแบบเป็นผู้ผลิตหรือสร้างผลงานเอง จะต้องเริ่มขยับขยายเป็นผู้ควบคุมประคับประครองผลลัพท์จาก AI แทน เปรียบเสมือนกับการเป็น Conductor หรือเป็น Curator ใน Art Gallery ที่ต้องพิถีพิถันในรายละเอียดของเรื่องราวที่จะนำเสนอ และสร้างประสบการณ์ให้ผู้เข้าชมได้รับให้เหมาะกับยุต การเรียนรู้และการจากการป่วนของ Artificial Intelligence นับเป็นสิ่งที่ท้าทายน่าสนใจในการออกแบบมากที่จะคุกคามขึ้นทุกวันนี้

………

อ่านเพิ่มเติมได้นะครับจาก

1.Artificial Intelligence The Next Digital Frontier? โดย McKinsey Global Institute

2.Machine Learning for Designers โดย Patrick Hebron

 

image credit: science magazine

Comments are closed.