Renewal Energy (Last) | พลังงานหมุนเวียน ภาคสุดท้าย

วันนี้เราจะมาดูพลังงานหมุนเวียนที่เหลือ คือพลังงานจากชีวมวล พลังงานจากน้ำ และพลังงานจากขยะและของเสียต่างๆ

พลังงานจากชีวมวล

พลังงานชีวมวลถือเป็นสารอินทรีย์ที่ได้มาจากพลังงานธรรมชาติหมุนเวียน และถือเป็นแหล่งเก็บกักพลังงานที่ดีแหล่งหนึ่งที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต ปรกติแล้ว เป็นสารอินทรีย์ที่ได้มาจากเศษหลงเหลือทางการเกษตร ไม่ว่าจะจากสวนนาไร่ หรืแเศษไม้ที่ล่วงหล่นในป่า เช่นชานอ้อย เศษไม้ แกลบ กากมันสำปะหลัง ซังข้าวโพด การปาล์ม กากมะพร้าวและกะลา เป็นต้น

 

พลังงานชีวมวลถูกนำมาพัฒนาขึ้นมาเพื่ิอการผลิตพลังงานไฟฟ้าหรือการใช้ทำความร้อน นอกไปจากแหล่งที่ได้มาจากเศษต้นไม้ในป่าจากต้นไม้ที่ตายแล้วโดยสารชีวมวลยังรวมไปถึงที่ได้มาจากสารอินทรีย์ที่มาสัตว์อีกด้วย และโดยรวมแล้วสารชีวมวลทั้งหลาย จะต้องสามารถสลายไปกับธรรมชาติได้ และจะต้องไม่รวมไปถึงสารจากธรรมชาติ ที่ผลิตจากถ่านหินหรือการขุดเจาะน้ำมัน เผาผลาญต่างๆ

พลังงานจากน้ำ

นำ้เป็นสิ่งที่คนไทยรู้จักกันดี และเป็นหนึ่งในรากเหง้าของการพัฒนาอารยะธรรมของ สยามประเทศไทยเรา อีกทั้งน้ำเป็นสิ่งที่ปรกคลุมพื้นผิวโลกเรามากถึง 70% นอกไปจากการน้ำมาใช้ในการดำรงชีวิต เพื่อปากท้องการเกษตรการชลประทานแล้ว น้ำยังสามารถถูกดัดแปลงมาผลิตเป็นผลังงานไฟฟ้า

ดังตัวอย่างของเขื่อน (Hydroelectric Energy) หรือการใช้กังหันน้ำ (Waterwheel) ที่เราเห็นกันโดยทั่วไป หรือ กังหันที่ใช้ดักน้ำและคลื่นในทะเล (Tidal Energy ) นอกไปจากนั้นยังมีพลังงานจากน้ำที่ได้มาจาก คลื่นในท้องทะเลอีกด้วย (Wave Power) โดยใช้การเคลื่อนตัวของคลื่น เป็นแหล่งผลิตพลังงานผ่านท่อที่ถูกผลิต ให้รับพลังงานที่ลอยอยู่กลางทะเล หรือที่ๆมีการเคลื่อนตัวของน้ำสูง

พลังงานจากขยะและของเสียต่างๆ

จะมีใครรู้บ้างว่าของเสียที่ออกไปจากบ้านเรือนของเรา สามารถนำเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์เช่นผลิตเป็นพลังงานได้เช่นกัน โดยเฉพาะขยะที่นำไปถมเป็นที่ และกระบวนที่เปลี่ยนมาเป็นการผลิตก๊าซ ก็ไม่ได้ยุ่งยากนัก แต่การผลิตด้วยการเผานั้นไม่ใช่สิ่งที่เป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อม ของเราเพราะยังมีส่วนการปลดปล่อยคาร์บอนไดอ็อกไซด์อย่างมากเข้าสู่ระบบ บรรยากาศ การผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะด้วยวิธีหมักโดยทั่วๆไปจะมีสามขึ้นตอน คือการย่อยสลายอินทรีย์สาร โดยที่มาจากพืชหรือสัตว์ การะบวนการนี้เรียกว่า Hydrolysis ประกอบไปด้วย โปรตีน คาร์โบไฮเดรต  ไขมัน จะถูกส่งย่อยไปเป็นโมเลกุลที่เล็กลงอย่างกลูโคส กรดอะมิโน และกรดไขมัน ส่วนขั้นที่สอง การทำให้เกิดกรด โดยการหมักสารจากขั้นตอนแรก หรือที่เรียกว่า Acidification และจะเปลี่ยนไปเป็นกรดน้ำส้ม ไฮโดรเจน คาร์บอนไดออกไซดฺ และแอลกอฮอล์ โดยจะถูกปรับเปลี่ยนอีกทีให้เป็นก๊าซ มีเทน (Methanization) และถูกเก็บกักใส่ถังไว้ ก่อนที่จะมีการสูบออกไปใช้งาน

ทีนี่พอเรารู้ว่ามีพลังงานหมุนเวียนใดบ้าง ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันเรา และช่วยแบ่งเบาภาระต่อการเผาผลาญพลังงานที่สูญเสียได้อย่างมาก นับเป็นสิ่งที่ดีต่อสภาพแดล้อมของเรา หรือท้ายสุดและอย่างน้อยเราก็มีอีกเหตุผลง่ายๆ ที่ทำไมเราต้อง แยกขยะเปียกออกจากขยะแห้งออกจากกันให้ได้ ก็เพื่อการนำไปใช้

Comments are closed.