Measuring Green Buildging | ระดับความเป็นสีเขียวของอาคารวัดกันได้อย่างไร
จากที่เราได้เรียนรู้ส่วนต่างๆของบ้านเพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถ บรรเทาความสงสัยสิ่งต่างๆภายใยบ้านไปได้บ้าง วันนี้เราจะมาทำความรู้จักเกี่ยวกับ เกณฑ์การวัดหรือการประเมิณความเป็นสีเขียว หรือที่นำไปสู่ความเป็นสีเขียว ของอาคารและบ้านเรือนของเรา ว่าทำได้อย่างไรบ้าง และมีบ้านเมืองไหน บ้างที่มีเกณฑ์ การวัดเหล่านี้บ้าง เพราะเป็นที่รู้กันดีอย่างกว้างขวาง ว่าการนำไปสู่ความเป็นบ้านเมืองสีเขียว มีกันให้เห็นกันทั่วๆไป แทบจะทั้งโลกเราในทุกวันนี้
มาตรฐานเพื่อเป็นการวัดระดับความเป็นสีเขียวนั้น เกิดขึ้นในต่างประเทศหลายๆทศวรรษก่อน เพราะความสงสัยและความกังวลใน ภาวะโลกร้อนและทรัพยากรธรรมชาติที่เริ่มสูญหายไป และมีผลต่อสภาพแวดล้อม ที่มีผลกับสิ่งมีชีวิตบนโลกมนุษย์นี้ (ที่ไม่ใช่เฉพาะมนุษย์เรา) อาจจะเรียกได้ว่าความกังวลเริ่มนั้น ส่งผลให้ชนชาวตะวันตกเริ่มเกิดความตื่นตัว และเริ่มสร้างกระแสให้เห็นถึงผลกระทบต่างๆ (โดยเฉพาะระบบปฏิวัติอุตสาหกรรม ที่ส่งผลกระทบต่สภาพแวดล้อมอย่างมาก) จึงเกิดองค์กรต่างๆมากมายที่ตั้งขึ้นเพื่อ ช่วยกันคิดถึงสาเหตุ และการแก้ไข (ที่คาดว่าน่าจะช่วยได้) หรือการให้รางวัลสนับสนุน
ประมาณปีพุทธศักราช 2533 (คศ 1990) องค์กรในสหราชอาณาจักรอังกฤษ (BRE-Building Research Establishment) ได้สร้างมาตรฐานการวัดความยั่งยืนของอาคาร(หรือที่เรียกว่าการประเมิณอาคาร) ที่เรียกว่า BREEAM (BRE’s Environmental Assessment Method) โดยแบ่งความเข้มข้มของสีเขียวหรือความเป็นมิตร ต่อสภาพแวดล้อมเป็นระดับต่างๆ คือ ผ่าน Pass, ดี Good, ดีมาก Very Good และยอดเยี่ยม Excellent และแบ่งไปตามประเภทของอาคาร
ส่วนในสหรัฐอเมริกานำโดย USGBC (US Green Building Council) ได้ก่อตั้งเกณฑ์การวัดความเป็นอาคารสีเขียวเช่นกัน ในราวปี 2537 (คศ 1994) ที่เรียกว่า LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) โดยอาคารที่ได้รับการยกย่องประกอบไปด้วยระดับต่างๆเริ่มจาก การขึ้นทะเบียน Certified, เหรียญเงิน Silver, เหรียญทอง Gold และ ขั้นทองคำขาว Platinum แบ่งไปตามประเภทของอาคารและสภาวะของอาคารเช่นกัน
ส่วนในประเทศออสเตรเลีย ก็ได้มีการสร้างการวัดความเป็นสีเขียวของอาคาร และการให้รางวัลโดยการนำของ สภาอาคารสีเขียว GBCA – Green Building Council of Australia ได้ผลิตการประเมิณอาคารขึ้นมาในราวปี พ.ศ. 2545 (คศ 2002) ที่เรียกว่า Green Star เพื่อช่วยเป็นเกณฑืการวัด ความเป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อมของสิ่งก่อสร้าง ส่วนในแถบเอเชียของเรา การพัฒนาการประเมิณก็มีเช่นกัน เช่นในญี่ปุ่นที่เรียกว่า CASBEE – Comprehensive Assessment System for Built Environment Efficiency โดยมีเป้าหมายไม่แตกต่างไปจากระบบของอังกฤษหรือสหรัฐอเมริกา ที่มุ่งหวังและกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัว ในการออกแบบและก่อสร้างอาคาร ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ส่วนที่ใกล้บ้านเราเข้ามาก็มีที่ประเทศสิงคโปร์ BCS หรือ Building and Constuction Authority ได้ออกแบบการประเมิณอาคารขึ้นมาในราวปี พ.ศ. 2548 (คศ 2005) ที่เรียกว่า Green Mark
และยังมีอีกหลายๆประเทศและอีกหลายๆภูมิภาคที่ได้มีการผลิตมาตรฐานเหล่านี้ขึ้นเช่นกันที่เหมาะสมแต่พื้นถิ่นนั้นๆ รวมทั้งประเทศไทยของเราเอง (ซึ่งจะกล่าวในครั้งต่อไป) และในแต่ละเกณฑ์เหล่านี้ีกมี็จุดร่วมเดียวกัน คือต้องการให้เกิดการตื่นตัวและสร้างสิ่งก่อสร้างที่เราใช้สอยรวมไปถึงกระตุ้น พฤติกรรมในการใช้สอยให้เหมาะสมกว่าที่เกิดขึ้นมาในอดีต ที่เป็นส่วนหนึ่ง ในการสร้างปัญหาโลกร้อนที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน รวมไปถึงการให้ความสนับสนุน ในการเลือกใช้หรือปรับปรุงอาคารเหล่านี้ ให้ได้มาตรฐานใหม่ อีกทั้งเป็นผลพลอยได้ในระบบตลาดการขาย การประกาศว่าเป็นอาคารสีเขียว เป็นอาคารเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ทั้งจริงหรือปลอม)
ส่วนหน้าที่พลเมืองอย่างเราๆก็ต้องดูกันว่า อาคารนั้นอาคารนี้ ได้มาตรฐานเขียวอย่างไร หรือใช่ว่าเอาแต่โฆษณาให้เราหลงเชื่อ